โดย: Trevor Gibson


This article is from ECHO Asia Note # 33.

โดย เทรเวอร์ กิ๊บสัน (Trevor Gibson) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ประวัติผู้เขียน: คุณเทรเวอร์ กิ๊บสัน เป็นที่ปรึกษาด้านการเกษตร กึ่งเกษียณอายุ ปัจจุบันท่านอาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ท่านเริ่มงานด้านที่ปรึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ในปี คศ. 1972 และตั้งแต่นั้นท่านได้ทางานในประเทศแถบอาเซียนหลายประเทศ แรกเริ่มท่านมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการวิจัยอาหารสัตว์ แต่ต่อมาได้ขยายงานด้านการเป็นที่ปรึกษาไปเป็นการเลี้ยงปศุสัตว์และการเพาะปลูกสาหรับเกษตรกรรายย่อย 

ผมได้อ่านข้อกังวลของคุณเดวิด ไพรซ์ (David Price) เกี่ยวกับการส่งเสริมพืชเลี้ยงสัตว์ที่เป็นพืชรุกรานในบทความเอคโค เอเชีย ฉบับที่ 25 และใคร่ขอแสดงความคิดเห็นจากข้อสังเกตและประสบการณ์ของผม

ข้อคิดเห็นของผมมีพื้นฐานตามหลักการต่อไปนี้:

  1. การช่วยเกษตรกรที่ยากจนเท่าที่จะมีทางทาได้เป็นสิ่งที่ควรทาตามหลักศีลธรรม
  2. เป้าหมายสาคัญที่สุดในกิจกรรมที่มนุษย์ทาคือการพัฒนาให้สภาวะของมนุษย์อยู่ในสภาวะที่ดีขึ้น ดังนั้น การรักษาสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติจึงอาจไม่ใช่เป้าหมายที่สาคัญที่สุดของกิจกรรมการพัฒนาต่างๆ

ตลอดเวลาที่ผ่านมา ผมได้ส่งเสริมการใช้และการแพร่ขยายพันธุ์พืชทุกชนิดที่คุณเดวิดกล่าวถึงให้กับเกษตรกรรายย่อยหลายราย และในบางรายได้ทามาแล้วถึง 45 ปี ผมจึงขอพูดถึงข้อกังวลที่คุณเดวิดมีเกี่ยวกับพันธุ์พืชแต่ละชนิดในบทความ เอคโค เอเชีย ฉบับที่ 25 ปัจจุบัยผมอาศัยอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ดังนั้นผมจึงขอใช้ตัวอย่างจากพื้นที่นี้ แต่ข้อคิดเห็นต่างๆน่าจะใช้ได้กับทุกพื้นที่ที่เป็นภูมิอากาศร้อนชื้นและกึ่งร้อนชื้น

หญ้ากินนี (Panicum maximum)

หญ้ากินนี ถือเป็นพันธุ์พืชที่รุกรานจริงๆ เราพบหญ้านี้เติบโตอยู่ทั่วไปในพื้นที่เขตร้อนและชื้น แต่ขณะเดียวกันหญ้านี้มีประโยชน์อย่างมากต่อสัตว์เคี้ยวเอื้องของเกษตรกรรายย่อย เพราะง่ายต่อการปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิตที่เป็นพืชอาหารสัตว์คุณภาพดี ซึ่งในบางราย เกษตรกรไม่จาเป็นต้องดูแลใส่ใจมากนัก หญ้ากินนี โดยเฉพาะพันธุ์ขนาดใหญ่ เติบโตข้างทางและพื้นที่รกร้างทางภาคเหนือของประเทศไทย ภาพที่พบเห็นอยู่เสมอคือชาวบ้านฐานะยากจนสามารถตัดหญ้าอาหารสัตว์คุณภาพดีที่ไม่ต้องซื้อหานี้ ใส่รถพ่วงกลับไปบ้านเพื่อเอาไปเป็นอาหารสัตว์ ในความเห็นของผมแล้ว ผมคิดว่าไม่ถูกต้องที่จะไปปิดกั้นโอกาสนี้กับเกษตรกรที่ยากจน ไม่เป็นที่น่าสังสัยเลยว่าหญ้ากินนีได้มาแทนที่หญ้าพันธุ์พื้นเมือง แต่ผมไม่เห็นว่าสิ่งนี้จะเป็นอันตรายต่อเกษตรกรที่ยากจน พืชที่หายไปเป็นพืชเลี้ยงสัตว์คุณภาพต่ากว่าและเกษตรกรคงต้องลาบากต่อไปหากต้องพึ่งพาเพียงหญ้าในท้องถิ่นที่มีอยู่เท่านั้น

ที่เป็นเช่นนี้เพราะหญ้ากินนีเติบโตได้ดีกว่าหญ้าพันธุ์พื้นเมือง และอาจมีส่วนทาให้เกิดไฟป่าที่รุนแรงได้ แต่หญ้ากินนีดูเหมือนไม่ได้เป็นอุปสรรคในการฟื้นฟูป่าใหม่ในภาคเหนือหลังจากมีการนามาตราการห้ามเผาป่ามาใช้ในระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา หญ้ากินนีก็เหมือนกับพืชชนิดอื่นคือถ้าเติบโตขึ้นในพื้นที่ที่ไม่มีใครต้องการก็จะกลายเป็นวัชพืชไป แต่ผมยังไม่เคยเห็นตัวอย่างของที่ใดที่หญ้ากินนีเป็นอุปสรรคสาคัญต่อการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร ไม่ว่าอย่างไร หญ้ากินนีเป็นหญ้าที่เติบโตและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพยายามหยุดการแพร่พันธุ์ หากเกษตรกรต้องการปลูกหญ้ากินนีเพื่อเลี้ยงสัตว์ ในความคิดของผมแล้ว ควรมีการส่งเสริมให้เกษตรกรทาได้

ทางภาคเหนือ เกษตกรยากจนสามารถทาเงินจากการปลูกหญ้ากินนีที่ใส่ปุ๋ยอย่างดีในพื้นที่ราบลุ่ม โดยสามารถขายเพื่อนาไปเลี้ยงสัตว์ทั้งในเชิงการค้าและไม่ใช่เชิงการค้า หญ้ากินนีได้รับการส่งเสริมการปลูกและมีเติบโตอยู่ทั่วประเทศไทยเพื่อประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์ (พันธุ์ที่นิยมปลูกเพื่อการค้าในประเทศไทยมีชื่อว่าหญ้ากินนีสีม่วง)ซึ่งขณะนี้ได้ถูกทดแทนด้วยพันธุ์พืชอื่นที่มีคุณสมบัติในการเป็นอาหารสัตว์ที่ดีกว่า (เช่น โตเร็วกว่า มีคุณภาพดีกว่า, ฯลฯ)

หญ้าพันธุ์ผสมบราเคียร่า (Brachiaria species hybrids)

คุณเดวิดได้กล่าวว่า หญ้าพันธุ์ผสมบราเคียร่า ชื่อว่า “มูลาโต 2” (Mulato II) และ “เคย์แมน” (Cayman) มีความใกล้เคียงกับหญ้ากินนี แต่สาหรับผมไม่คิดเช่นนั้น เพราะที่เห็นคือหญ้าทั้งสองมีความแตกต่างกันมากทั้งด้านลักษณะและการปรับตัว หญ้ากินนีมีกิ่งที่สามารถแตกเมล็ดออกได้มากกว่าหญ้าบราเคียร่า และเมล็ดก็มีความแตกต่างกันทั้งด้านรูปร่างและขนาด (ภาพที่ 1)

AN33 Gibson Fig1A

ภาพที่ 1: A) หญ้าบราเคียร่า (Brachiaria brizantha) (หนึ่งในสายพันธุ์ต้นกาเนิดของพันธุ์ผสม “เคย์แมน” และ “มูลาโต 2”) แสดงให้เห็นช่อดอกที่สั้นกว่า แต่ละช่อมีกลุ่มดอกน้อยกว่า กลุ่มดอกมีขนาดสั้นกว่า และเมล็ดมีขนาดใหญ่และอ้วนกว่า

“หญ้ามูลาโต 2” เป็นหญ้าที่สัตว์ชอบกินมากและมีคุณภาพทางโภชนาสูง และจากประสบการณ์ที่ผ่านมา ผมยังไม่เคยเห็นหญ้านี้แพร่พันธุ์และรุกรานในพื้นที่ใด ส่วนหญ้าเคย์แมนเป็นหญ้าที่รู้กันดีว่าไม่ค่อยมีเมล็ด ผมจึงสงสัยว่าหญ้าทั้งสองชนิดนี้ไม่น่าจะกลายเป็นพืชรุกรานได้ และถึงแม้เป็นพืชรุกรานจริง ผมไม่คิดว่าจะสร้างปัญหาที่ร้ายแรงใดๆ เพราะหญ้าทั้งสองชนิดเป็นอาหารสัตว์ที่ดีและสัตว์ชอบกินอยู่แล้ว

หญ้าบราเคียร่าพันธุ์อื่นที่รุกรานพื้นที่บางส่วนทางภาคเหนือ หนึ่งในนั้นอาจเป็นหญ้าซิกแนล (B. brizantha หรือ B. decumbens) ที่พบตามข้างทางในบางช่วงของพื้นที่ดอยอินทนนท์ หญ้ารูซี่ (B. ruziziensis พบว่ามีการเพาะขยายพันธุ์อย่างกว้างขวางในประเทศไทยและได้รุกรานพื้นที่บางส่วนทางภาคเหนือ แต่ผมไม่คิดว่าเป็นปัญหาสาหรับเกษตรกรที่ทาการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร หญ้าบราเคียร่า (มีหลากหลายชนิด) เป็นหญ้าอาหารสัตว์สายพันธุ์ที่ให้ผลดีในพื้นที่และสภาพแวดล้อมที่หญ้านี้ปรับตัวได้ และหญ้ารูซี่ก็เป็นหญ้าที่ถูกใช้เป็นประโยชน์อย่างมากสาหรับสัตว์เลี้ยงและเกษตรกรรายย่อยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมปศุสัตว์ของไทยได้สนับสนุนการเพาะปลูกหญ้ารูซี่มาหลายปีแล้วและเกษตรกรยากจนหลายรายสามารถทาเงินได้จากการขายเมล็ดพันธุ์หญ้านี้ นอกจากนี้หญ้ารูซี่ยังสามารถนาไปขยายพันธุ์ให้กับเกษตรกรในลาว มาเลเซีย และที่อื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผมจึงขอแนะนาและสนับสนุนให้มีการแพร่ขยายหญ้าบราเคียร่าเพื่อการใช้เป็นอาหารสัตว์สาหรับปศุสัตว์ในเกษตรกรรายย่อยที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

AN33 Gibson Fig1B

ภาพที่ 1:  B) หญ้ากินนี (Panicum maximum)

หญ้าสายพันธุ์พาสพาลัม, อะตราตัม (Paspalum atratum)

หญ้าสายพันธุ์อะตราตัม (P. atratum) และพาสพาลัม (P. plicatulum) มีลักษณะทางการพืชศาสตร์ (agronomy)ที่แตกต่างกันมาก และมักจะได้รับการแยกแยะอย่างชัดเจนโดยนักพืชศาสตร์อาหารสัตว์ ที่เชี่ยวชาญด้านอาหารสัตว์ มีการนาเมล็ดพันธุ์หญ้าพาสพาลัม (P. plicatulum) ไปปลูกในหลายพื้นที่ทาง
ภาคเหนือให้เป็นอาหารสัตว์สาหรับตัดไปเลี้ยงสัตว์ แต่คุณภาพของหญ้านี้ด้อยไปอย่างรวดเร็วและถูกแทนที่ด้วยหญ้าอาหารสัตว์ชนิดอื่นที่คุณภาพดีกว่า หญ้าพาสพาลัมเติบโตได้ดีในดินที่อุดมสมบูรณ์ทางตอนเหนือของลาว แต่ตามที่ผมรู้มาไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาในการเพาะปลูกพืชในพื้นที่แต่อย่างใด หนึ่งในสายพันธุ์นี้ที่คุณเดวิดบอกไว้คือ หญ้าแฝก (Chrysopogon zizanioides) ซึ่งถือว่าเป็นสายพันธุ์พืชอาหารสัตว์ที่คุณภาพต่ามาก และย่อยยากแม้ในสภาพที่เป็นต้นอ่อน เมื่อเปรียบเทียบกับหญ้าพาสพาลัม สัตว์ไม่ชอบกินหญ้าแฝกนี้แม้ว่าจะอยู่ในระยะต้นอ่อน แต่สัตว์จะชอบกินใบอ่อนของหญ้าพาสพาลัม หญ้าแฝกถือว่าเทียบไม่ได้เลยกับหญ้าพาสพาลัม และไม่มีใครอยากจะปลูกหญ้าแฝกไว้เพื่อเป็นอาหารสัตว์ 

หญ้าเนเปียร์ (Pennisetum purpureum

จากการสังเกตการณ์ของผม หญ้าที่เป็นพืชรุกรานในระดับปานกลางคือหญ้าเนเปียร์นี้พบได้ในพื้นที่เฉพาะ ที่มีสภาพไม่เหมือนที่อื่นในประเทศไทย แต่ผมก็ไม่เห็นว่าหญ้านี้จะก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงในการรุกรานพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกร หญ้าในสายพันธุ์เนเปียร์นี้เป็นปัจจัยหลักที่จาเป็นสาหรับเกษตรกรรายย่อยและการทาวัวเนื้อในประเทศไทย รวมถึงการเลี้ยงสัตว์โดยทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และส่วนอื่นๆในโลกที่เป็นเขตร้อน ในทัศนะของผม ผมคิดว่าไม่ควรมีการห้ามไม่ให้เกษตรกรที่ยากจนปลูกหญ้าเนเปียร์

นักพืชศาสตร์อาหารสัตว์หลายคนแนะนาว่าควรปลูกอาหารสัตว์ที่มีคุณภาพดีกว่าหญ้าเนเปียร์ แต่สายพันธุ์ที่ควรนามาปลูกทดแทนก็เป็นสายพันธุ์ที่คุณเดวิดเขียนไว้ว่าเป็นพันธุ์รุกราน ปัจจุบันมีการส่งเสริมการปลูกหญ้าเนเปียร์พันธุ์ปากช่อง ซึ่งเป็นพันธุ์ผสมและเท่าที่ผมรู้ไม่ใช่เป็นพันธุ์รุกราน เมื่อเปรียบเทียบหญ้าเนเปียร์สายพันธุ์เดิมแล้ว สายพันธุ์ใหม่นี้มีให้ผลผลิตวัตถุแห้งดีกว่าแต่มีคุณภาพทางโภชนาการน้อยกว่า ผมจึงไม่แนะนาการปลูกพันธุ์ปากช่องด้วยเหตุผลเพียงเพราะว่าเป็นพันธุ์ที่ไม่รุกราน ผมสนับสนุนพืชอาหารสัตว์ที่มีประโยชน์กับเกษตรกรรายย่อยมากกว่า โดยจะต้องคานึงถึงบริบทด้านวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมของเกษตรกร

ถั่วสไตโล (Stylosanthes guianensis

ผมยังไม่เคยเห็นถั่วสไตโลกลายเป็นพืชรุกรานที่ไหน ตรงกันข้ามคือมีเสียงบ่นว่าถั่วสไตโลไม่ค่อยทน และนักพืชศาสตร์ด้านอาหารสัตว์อยากจะได้สายพันธุ์ที่ทนกว่านี้ ถั่วฮามาต้า (S. hamate) ถูกนาไปแพร่พันธุ์ทั่วไปในเมืองไทย โดยเฉพาะจากเฮลิคอปเตอร์ เป็นถั่วที่ทนต่อสภาพแวดล้อมและมักจะพบขึ้นอยู่ตามข้างทางในภาคเหนือ เนื่องจากเป็นที่ที่มีอากาศที่น่าจะเหมาะสม ในสภาพเช่นนี้ ผมคิดว่าน่าจะเรียกว่าเป็นพืชที่ทนมากกว่าเป็นพืชที่รุกราน อย่างไรก็ตามถั่วนี้ไม่เป็นที่ชื่นชอบของเกษตรกรมากนักเพราะให้ผลผลิตน้อยกว่าพืชอาหารสัตว์พวกหญ้าและเป็นอาหารสัตว์ที่ไม่ค่อยมีคุณภาพ คุณเดวิดกล่าวไว้ในบทความว่าถั่วสไตโลทาให้ดินเพิ่มค่าความเป็นกรดและเพิ่มการกัดเซาะของดิน ผมได้ทาการทดสอบค่า pH ของดินในภาคเหนือที่ใช้ปลูกพืชอาหารสัตว์ตระกูลถั่ว และไม่พบว่าพืชตระกูลถั่วชนิดใด รวมทั้งถั่วมาฮาต้าทาให้ดินเพิ่มความเป็นกรด และไม่พบว่าถั่วสไตโลทาให้เกิดการกัดเซาะของดินเพิ่มขึ้น

ถั่วลิสง หรือถั่วปินโต (Arachis pintoi)

คุณเดวิดชอบถั่วสายพันธุ์นี้เพราะเป็นพืชไม่รุกราน แต่น่าเสียดายที่เกษตรกรรายย่อยดูจะไม่ค่อยนาถั่วนี้ไปปลูกเพื่อเป็นอาหารสัตว์มากนัก แต่ถั่วนี้มีการส่งเสริมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และผมไม่แน่ใจว่าเกษตรกรจะนาไปใช้เป็นอาหารสัตว์หรือไม่ อย่างไรก็ตามถั่วนี้มีการปลูกเพื่อเป็นพืชคลุมดินแบบถาวรและเป็นการปลูกเพื่อเป็นพืชประดับ

กระถิน (Leucaena leucocephala) 

กระถินเป็นพืชรุกราน, ทนต่อสภาพแวดล้อมทุกอย่าง, มีคุณภาพสูง และเป็นพืชตระกูลถั่วที่นาไปใช้เป็นพืชอาหารสัตว์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระถินขึ้นได้เองในพื้นที่ลุ่มทางภาคเหนือและในดินที่ไม่เป็นกรดเกินไป (กระถินไม่ชอบดินที่มีค่า pH น้อยกว่า 5.5) กระถินเป็นพืชที่ถูกมองข้ามความสาคัญไปอย่างมากเพราะคนคิดว่าจะเป็นพิษเมื่อนาไปให้สัตว์กิน แต่เมื่อมีการฝึกให้สัตว์ค่อยๆกินในปริมาณน้อยๆก่อน สัตว์ที่เลี้ยงจะเติบโตอย่างดี จริงๆแล้ว กระถินคือพืชอาหารสัตว์ตระกูลถั่วที่ดีที่สุดสาหรับวัว และควาย วัวและควายตัวหนึ่งจะมีน้าหนักเพิ่มขึ้นวันละมากกว่า 1 กิโลกรัมเมื่อกินแต่กระถินอย่างเดียว

คากล่าวที่ว่ากระถินเป็นพืชที่ปล่อยสารพิษ (Allelopathic) และขัดขวางการเติบโตและพัฒนาการของพืชข้างเคียง ยังขัดแย้งกันกับหลักการของเทคโนโลยีการปลูกพืชบนที่ลาดชัน (SALT หรือ Sloping Agriculture Land Technology) และจากประสบการณ์การปลูกกระถิน คือกิ่งตัดของกระถินถูกนาไปใช้เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ไม่ใช่เพื่อจากัดการเติบโตของพืช ดังนั้นกระถินจึงไม่น่าจะเป็นปัจจัยที่ลดพื้นที่การเพาะปลูกให้น้อยลง แต่ตรงกันข้ามคือ มีการส่งเสริมการปลูกกระถินให้เป็นพืชที่ช่วยปรับปรุงดินในพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกแบบย้ายพื้นที่ไปเรื่อยๆ ดังนั้น ผมจึงขอสนับสนุนเป็นอย่างยิ่งว่าควรมีการส่งเสริมการเปลูกกระถินไว้เพื่อเลี้ยงสัตว์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แคฝรั่ง (Gliricidia sepium)

ผมยังไม่เคยเห็นการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของแคฝรั่ง แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าสภาพแวดล้อมนั้นเหมาะสาหรับการปลูกกระถิน ผมแนะนาให้ปลูกกระถินมากกว่าการปลูกแคฝรั่งเพราะกระถินเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ที่มีคุณภาพดีกว่า

สรุป

คุณเดวิดได้แบ่งปันข้อกังวลเกี่ยวกับพืชรุกรานในบทความเอคโค เอเชีย ฉบับที่ 25 ด้วยการกล่าวว่าในหลายๆสถานการณ์ ประโยชน์จากพืชเลี้ยงสัตว์ที่อาจกลายเป็นพืชรุกรานมีมากกว่าผลเสีย ผมเห็นด้วยกับคากล่าวนี้จากตัวอย่างพืชทั้งหมดที่คุณเดวิดยกมา พืชสายพันธุ์ที่กล่าวมาในบทความนี้ผ่านการทดลองและทดสอบมาอย่างดีจากหลายพื้นที่ในโลกรวมถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย เราจึงไม่จาเป็นต้องทดสอบพืชเหล่านี้อีก จากประสบการณ์หลายปีที่ผ่านมา เราทราบแล้วว่าพืชเหล่านี้มีคุณสมบัติอะไรบ้าง ทั้งด้านบวกและด้านลบ

ผมได้ทาการสังเกตมาเป็นเวลานานเกี่ยวกับประโยชน์ของพืชเลี้ยงสัตว์ชนิดใหม่ที่แนะนาเข้ามา (ใช้เป็นอาหารสัตว์) โดยเปรียบเทียบกับพืชเลี้ยงสัตว์ที่มีอยู่ในท้องถิ่น เมื่อเปรียบเทียบกับพืชเลี้ยงสัตว์แบบใหม่ที่ดีที่สุดแล้ว ผมพบว่าพืชเลี้ยงสัตว์ในท้องถิ่นมักจะมีการเติบโตที่ด้อยกว่า (ให้ผลผลิตวัตถุแห้งน้อยกว่าต่อปีและต่อฤดู) และ/หรือมีคุณภาพต่ากว่า (ย่อยได้ยากกว่าซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับเซลเนื้อเยื่อที่มีเพิ่มขึ้น การออกดอกก่อนเวลา และการเติบโตใหม่อีกครั้งในช่วงปลายฤดู)

พืชเลี้ยงสัตว์ที่แนะนาเข้ามาใหม่ในพื้นที่ได้ผ่านการคัดเลือกมาแล้ว และบางครั้งมีการผสมสายพันธุ์ จากพืชจานวนหมื่นๆต้นเพื่อหาสายพันธุ์ที่ดีกว่าพันธุ์ในท้องถิ่น ในความเห็นของผม จึงเหมือนเป็นการเสียทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจากัดในการไปหาสายพันธุ์ท้องถิ่นที่ดีกว่าสายพันธุ์ที่มีการแนะนามาอย่างถูกทางแล้ว การใช้ข้อมูลและประสบการณ์ที่มีอยู่ตอนนี้น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยเกษตรกรที่ยากจน ด้วยการส่งเสริมพืชเลี้ยงสัตว์ที่คุณเดวิดกล่าวไว้

คุณเดวิดดูเหมือนจะกล่าวเป็นนัยไว้ว่าการอนุรักษ์พืชและระบบนิเวศน์ในท้องถิ่นเป็นสิ่งที่ควรทาไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม ในข้อนี้ผมไม่เห็นด้วย เราคงไม่แนะนาให้เกษตรกรในที่ลุ่มละทิ้งนาข้าวที่ทาการปลูกข้าวเป็นพืชเชิงเดี่ยวและปล่อยให้เกิดป่าตามธรรมชาติขึ้นแทนที่ หรือเราคงไม่แนะนาเกษตรกรปลูกข้าวโพดปล่อยให้วัชพืชตามธรรมชาติเติบโตขึ้นไปพร้อมกับข้าวโพดที่ปลูกไว้ เพราะการทาอย่างนี้ไม่ได้เกิดประโยชน์กับเกษตรกรที่ยากจน เช่นเดียวกับเหตุผลที่ผมไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับพืชเลี้ยงสัตว์ ถ้าการทดแทนพืชและระบบนิเวศน์ในท้องถิ่นด้วยพืชสายพันธุ์ใหม่แล้วประโยชน์ตกอยู่ที่เกษตรกรก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องและควรทา การคงความหลากหลายทางชีวภาพไม่ได้ช่วยให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกรที่ยากจนเสมอไป ถ้าพื้นที่ไม่ได้ถูกทาประโยชน์และทิ้งร้างไว้ถูกรุกรานด้วยพืชที่มีประโยชน์ต่อเกษตรกร ก็ควรยอมรับและส่งเสริมการปลูกพืชนั้น

นี่ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ควรเก็บพืชประจาถิ่นบางอย่างและระบบนิเวศน์ประจาถิ่นบางอย่างไว้ แต่หากการอนุรักษ์นั้นไม่ได้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรที่ยากจน การอนุรักษ์ก็ควรจัดทาในพื้นที่พิเศษที่กาหนดขึ้น (เช่น เขตอุทยานแห่งชาติ, พื้นที่ป่าอนุรักษ์, ฯลฯ) เพราะการอนุรักษ์พื้นที่ประจาถิ่นนี้มีข้อดีอยู่ (เช่น รักษาความหลากหลายทางชีวภาพที่อาจนาไปใช้เพื่อประโยชน์สาหรับมนุษย์ในอนาคต, เพื่อการพักผ่อน, เป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์, การบาเพ็ญภาวนาและการรักษาไว้เพื่อคุณค่าทางจิตใจ)

ผมหวังว่าเหตุผลของผมจะเป็นประโยชน์กับคุณเดวิด, องค์กรเอคโค และท่านอื่นๆที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมพืชเลี้ยงสัตว์ใหม่ๆให้กับเกษตรกรที่ยากจน จากการทดลองและทดสอบพืชเลี้ยงสัตว์ที่คุณเดวิดรวบรวมไว้ ผมคิดว่าไม่มีอะไรที่เราจะต้องกังวลในการส่งเสริมพืชเลี้ยงสัตว์เหล่านี้ เพื่อเกษตรกรยากจนที่เลี้ยงสัตว์จะได้รับประโยชน์จากการส่งเสริมพืชเหล่านี้

 


 


ป้ายระบุ

Forage

ภูมิภาค

Asia