This article is from ECHO Asia Note # 35.
โดย ดร.ไมเคิล เชเฟอร์ (Dr. D. Michael Shafer) มูลนิธิอุ่นใจ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
ดร. ไมเคิล เชเฟอร์ เกษียณอายุจากการเป็นอาจารย์สอนวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัทเกอรส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิอุ่นใจเมื่อปี 2008 หลังจากการศึกษาเกี่ยวกับถ่านไบโอชาร์ที่การประชุมเอคโค เมื่อปี 2013 มูลนิธิอุ่นใจได้เริ่มต้นออกแบบและปรับปรุงทดสอบการใช้อุปกรณ์ผลิตถ่านไบโอชาร์ที่ต้นทุนต่าและใช้เทคโนโลยีแบบง่ายๆเพื่อเกษตรกรที่มีฐานะยากจน ในปี 2017 ทีมไบโอชาร์จากมูลนิธิอุ่นใจได้เป็นผู้ชนะรางวัลพลังงานโลก World Energy Globe Award (ประเทศไทย) ด้านการพัฒนาต้นแบบถ่านไบโอชาร์ในระดับหมู่บ้านที่เป็นกิจการเพื่อสังคม และทีมงานเพิ่งได้เริ่มดาเนินการทากิจการเพื่อสังคมอีกอย่างหนึ่งคือการขายผลิตภัณฑ์ไบโอชาร์ของเกษตรกรภายใต้ชื่อสินค้า “รักษ์ดิน”
ในบทความนี้ ดร.ไมเคิล เชเฟอร์แบ่งปันประสบการณ์ในการนาถ่านไบโอชาร์ไปใช้จริงในประเทศที่กาลังพัฒนา โดยมีเป้าหมายเพื่อมุ่งเน้นไปยังการศึกษาถ่านไบโอชาร์ที่ไม่ใช่การศึกษาภายในห้องทดลองวิชาการ แต่นาออกมาศึกษาในบริบทพื้นที่การเกษตรของประเทศกาลังพัฒนาที่ไม่ได้เป็นระบบระเบียบเหมือนในห้องทดลอง โดยหวังว่าจะเป็นการตอกย้าความมั่นใจให้กับนักพัฒนาที่ “ลงมือสัมผัสกับงานจริงๆ” ว่าสามารถผลิตถ่านไบโอชาร นาไปใช้ และแม้แต่ทดสอบถ่านไบโอชาร์ในพื้นที่ได้
คานา
มีเอกสารข้อมูลการทดลองจานวนมากที่มีเนื้อหาอธิบายเกี่ยวกับถ่านไบโอชาร์หรือถ่านชีวภาพและข้อดีของถ่านชนิดนี้ มีรายงานในด้านดีมากมายผลการทดลองได้มาจากการทดสอบภาคสนามในประเทศที่กาลังพัฒนา1
อย่างไรก็ตาม หากคุณทางานกับเกษตรกรรายย่อยที่ยากจน ข้อดีต่างๆที่มีในรายงานเกี่ยวกับถ่านไบโอชาร์เหล่านั้นอย่าเพิ่งเชื่อทั้งหมด ผมไม่ได้หมายความว่าข้อมูลเหล่านั้นไม่มีประโยชน์ แต่เป็นข้อมูลที่ดีมาก (แม้จะมีการเอนเอียงไปบ้าง เหมือนผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์ทั่วไปส่วนใหญ่ ที่เป็นข้อมูลที่มักจะไม่ถูกต้อง ไม่มีประโยชน์ และไม่มีการรับรอง) แต่คุณควรเก็บความตื่นเต้นเกี่ยวกับข้อมูลเหล่านั้นไว้ก่อนโดยอย่าลืมคานึงถึงพื้นที่ที่คุณทางานอยู่ และผู้ที่คุณทางานอยู่ด้วย
โลกแห่งการทดลองและตัวคุณเอง
คุณสมบัติ 3 ข้อของการทดลองถ่านไบโอชาร์ในห้องทดลองที่ทาให้เกิดผลต่างกันกับการทดลองที่คุณอาจจัดทาขึ้นเองในฐานะนักพัฒนาชุมชน ผู้ที่ทาการทดลองเพื่อจุดประสงค์ในการตีพิมพ์เผยแพร่ในเอกสารทางวิทยาศาสตร์ต้องรู้ได้แก่ (1) คุณสมบัติของถ่านไบโอชาร์ที่ชัดเจน (2) สภาพเคมีของดินที่ชัดเจน และ (3) ปริมาณส่วนผสมที่ชัดเจนของถ่านไบโอชาร์, ปุ๋ยหมัก, ปุ๋ยคอก และดินเหนียว ในบริบทของพื้นที่การเกษตรในประเทศกาลังพัฒนานั้น ซึ่งคุณและเกษตรกรที่คุณทางานอยู่ด้วยไม่รู้และไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้เลย
แล้วจะทาอย่างไร?
อย่าเพิ่งโยนวิทยาศาสตร์ทิ้งไป ถ่านไบโอชาร์มีคุณค่ามากมาย เพราะฉะนั้น อย่ารู้สึกว่าต้องเชื่อเมื่อผู้เชี่ยวชาญบอกคุณว่าอย่าใช้ถ่านไบโอชาร์ “จนกว่าคุณจะใช้วัตถุเชื้อเพลิงชนิดนี้ ผ่านขบวนการไพโรไลซิสที่อุณหภูมินี้ และใส่วัสดุนี้ลงในดิน, ฯลฯ...”
ถ่านไบโอชาร์ถือว่ามีประโยชน์อย่างมากสาหรับเกษตรกร อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้และการแนะนาการใช้ถ่านไบโอชาร์จะได้ผลและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นหากคุณเรียนรู้ที่จะคิดถึงความชัดเจนว่าคุณกาลังจะใช้ถ่านไบโอชาร์เพื่ออะไร โดยเข้าใจปัจจัยที่จาเป็นต่างๆในการทดสอบที่ดี และอย่าลืมข้อจากัดที่แท้จริงภายใต้สถานที่ที่คุณทางานอยู่ ในบทความนี้ ผมได้นาเสนอข้อแนะนาสาหรับวิธีการจัดการการทางานกับถ่านไบโอชาร์ ตามประสบการณ์ของเราในพื้นที่อาเภอพร้าว ซึ่งเป็นเขตพื้นที่สูงในจังหวัดเชียงใหม่ ข้อเสนอแนะของผมมาจากประสบการณ์ 4 ปีที่ฟาร์มทดลองอุ่นใจ ที่มีพื้นที่การทดสอบ 35 แปลง เมื่อปี 2015 เราได้เริ่มทาการทดสอบปุ๋ยหลายชนิดที่มีส่วนผสมของถ่านไบโอชาร์โดยเปรียบเทียบกับปุ๋ยสังเคราะห์ โดยทาการทดสอบในฟาร์มของเราและในการทดลองภาคสนามที่จัดทาขึ้นกับเกษตรกร การทดสอบทั้งสองได้แสดงให้เห็นว่าในดินในพื้นที่ เมื่อเกษตรกรผลิตปุ๋ยที่มีถ่านไบโอชาร์เป็นส่วนผสมและนาไปใช้ ปรากฏว่าให้ผลที่ดีกว่าปุ๋ยสังเคราะห์ที่ใช้กันโดยทั่วไปในพื้นที่นั้น
คุณภาพถ่านไบโอชาร์, ชนิดของดิน, การใช้ถ่านไบโอชาร์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด, และการวัดถ่านไบโอชาร์ในพื้นที่
ในการทางานกับเกษตรกรรายย่อยเพื่อผลิตถ่านไบโอชาร์ คุณจาเป็นต้องคานึงถึงปัจจัย 3 ประการต่อไปนี้คือ (1) คุณภาพของถ่านไบโอชาร์ที่สามารถสอนเกษตรกรในการผลิตได้; (2) คุณสมบัติของดินในพื้นที่ที่ทาการเกษตรอยู่; และ (3) วิธีการวัดปริมาณถ่านไบโอชาร์ที่จะเตรียมนาไปใช้ (เป็นปัจจัยที่การทดลองวิทยาศาสตร์ในห้องทดลองต้องมีเช่นกัน!) คุณอาจได้ยินคาอธิบายเยอะแยะมากมายว่าเพราะอะไรปัจจัยแต่ละอย่างจึงมีความสาคัญเป็นอย่างยิ่ง และเพราะอะไรทั้งคุณและเกษตรกรจึงไม่ได้รับการไว้วางใจให้จัดการกับปัจจัยต่างๆเหล่านี้ ผมขอแนะนาว่าอย่าไปสนใจในจุดนี้เลย
ที่มูลนิธิอุ่นใจ เราได้ออกแบบและทดสอบอุปกรณ์ที่ใช้ง่ายและไม่ซับซ้อนเพื่อผลิตถ่านไบโอชาร์ (ตอนนี้เราเรียกว่าเตา “flame cap ovens” และ เตาถังปรับปรุง “modified JRo’s”); เรามีอุปกรณ์ศึกษาวิเคราะห์ดินในบริเวณกว้าง ที่มีการนามาใช้งานแล้ว และได้ทาการทดสอบแล้วกับระบบการวัดค่าในพื้นที่ เรามั่นใจว่าคุณจะสามารถสอนเกษตรกรเกี่ยวกับวิธีการทาถ่านไบโอชาร์ที่มีคุณภาพและสามารถนาไปใช้ได้อย่างประสบความสาเร็จ โดยให้ความสาคัญว่าคุณกาลังทาอะไร อยู่ที่ไหน ทาเพื่อใคร และทาเพราะอะไร
ปัญหา “คุณภาพของถ่านไบโอชาร์” ที่มักมีข้อสงสัย
ถ่านไบโอชาร์ที่ดีพอใช้หรือดียอดเยี่ยมคือะไร? ถ้าคุณไม่รู้ ก็ไม่ต้องแปลกใจเพราะมีหลายคนที่ไม่รู้เหมือนกัน ไม่มีใครในแวดวงของถ่านไบโอชาร์ที่สามารถให้คาตอบนี้ได้ คาตอบจะขึ้นอยู่กับว่าคุณตั้งใจจะนาถ่านไบโอชาร์ไป “ใช้ทาอะไร” และคุณตั้งใจจะทาถ่านไบโอชาร์ “เพื่อใคร” คุณสมบัติที่ “ดี” เมื่อใช้กับสิ่งหนึ่งอาจไม่ดีนักเมื่อนาไปใช้กับอีกสิ่งหนึ่ง2 ในบทความนี้ ผมจะพิจารณาว่า “ถ่านไบโอชาร์คุณภาพ” คือ “ถ่านไบโอชาร์ที่ช่วยทาให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น และช่วยปรับปรุงดินให้เกษตรกร3 นอกจากนี้ผมจะกล่าวถึงเพียงวิธีการทาถ่านไบโอชาร์โดยเกษตรกรรายย่อยที่บางรายถือว่ากลุ่มคนที่ยากจนที่สุดในโลก
คุณสมบัติและคุณภาพที่เชื่อกันเกี่ยวกับถ่านไบโอชาร์ที่พบในห้องทดลองและในพื้นที่จริงจะได้รับการพิจารณาต่างกัน ในขบวนการของห้องทดลอง นักวิจัยจะระบุคุณสมบัติหนึ่งหรือสองอย่างของถ่านไบโอชาร์ที่มีความเชื่อกันหรือเป็นที่รู้จักกันแล้ว เช่น คุณสมบัติในการเพิ่มผลผลิต แล้วนักทดลองจะสร้างวิธีที่จะทดสอบตัวอย่างของถ่านไบโอชาร์ชนิดต่างๆ เพื่อระบุว่าชนิดใดมีคุณสมบัติที่ต้องการมากกว่าและสรุปว่าถ่านไบโอชาร์ชนิดนั้น “ดีกว่า” ในทางตรงกันข้าม วิธีการทดลองในพื้นที่จะเกี่ยวข้องกับการนาถ่านไบโอชาร์ชนิดต่างๆไปใส่ในแปลงทดลองในพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกร แล้วทาการวัดปริมาณผลผลิต/คุณภาพของดินที่ดีขึ้น เพื่อดูว่าถ่านไบโอชาร์ชนิดไหนให้ผลเชิงบวกมากกว่า วิธีการในห้องทดลองจะได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างมหาศาล และช่วยสร้างความเป็นไปได้ในการเข้าใจเกี่ยวกับกลไกที่มาที่ไปในการทางานที่วิเศษของถ่านไบโอชาร์ แต่การทดลองในพื้นทีจริงจะบอกเราทุกสิ่งที่เราจาเป็นต้องรู้ว่าถ่านไบโอชาร์ที่เราผลิตอยู่มีคุณสมบัติตรงตามที่เราต้องการให้เป็นหรือไม่ (แต่ “คุณสมบัติตรงตามที่เราต้องการ” อาจเป็นเป้าหมายที่ไม่ชัดเจนนัก เช่น ถ้าเราได้รับผลผลิตเพิ่มขึ้น 10% เราจะถือว่าประสบความสาเร็จหรือไม่? ถ้าเราทาให้ถ่านไบโอชาร์มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น เราจะได้ผลผลิตเพิ่มถึง 20% หรือไม่? คาถามจากข้อสังเกตและประสบการณ์นี้อาจทาให้เราบางคนนอนไม่หลับมาแล้ว)
ที่มูลนิธิอุ่นใจ เราไม่มีนักวิทยาศาสตร์และไม่มีห้องทดลอง เราจึงได้ทาการทดสอบที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนอะไร ซึ่งเป็นวิธีของ Hugh McLaughlin ที่ทาเพื่อทดสอบคุณภาพของถ่านไบโอชาร์ (McLaughlin 2010) การทดลองอย่างเดียวที่สาคัญที่สุดที่เราทาคือการทดสอบแบบ “แม่ครับ… มือผมสะอาดแล้ว” นั่นคือ การจับถ่านไบโอชาร์แล้วไปล้างมือด้วยน้า ถ้าถ่านถูกล้างออกด้วยน้าหมด แสดงว่าอุณหภูมิการผลิตถ่านสูงพอที่ทาให้เกิดชั้นต่างๆที่สาคัญของวงแหวนคาร์บอนที่เป็นลักษณะของถ่านไบโอชาร์ที่ดี ถ้ามือเรายังมีสีดาเหนียวๆติดอยู่ แสดงว่าอุณหภูมิที่ใช้ต่าเกินไปและถ่านยังมีส่วนประกอบของน้ามัน ทาร์ และกลิ่นอื่นๆเหลืออยู่ แสดงให้เห็นว่าขบวนการกลายเป็นถ่านไม่สมบูรณ์พอ กลุ่มเป้าหมายของเราผู้เป็นเกษตรกรในพื้นที่ ไม่ได้สนใจเกี่ยวกับผล “ที่แท้จริง” ที่ออกมาจากห้องทดลอง แต่พวกเขาสนใจผลที่เห็นและจับต้องได้ เกษตรกรเหล่านี้ต้องการรู้ข้อมูลเป็นพิเศษเกี่ยวกับ 3 สิ่งคือ ถ่านไบโอชาร์ของเราช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรหรือไม่? พืชผลของเราเติบโตแข็งแรงจากการสังเกตเห็นได้ด้วยตาหรือไม่? ดินของเรามีคุณภาพดีขึ้นหรือไม่เมื่อวัดด้วยการมองดู ความรู้สึกและปริมาณของไส้เดือน? การรวบรวมข้อมูลเพื่อนาไปสู่ผลสรุปใดๆก็ตามจากการทดสอบถ่านไบโอชาร์ ไม่ว่าจะในห้องทดลองหรือในแปลงเกษตร จะต้องมีการระบุอย่างชัดเจนถึงวัสดุตั้งต้นในขบวนการ หากไม่มีบรรทัดฐาน ผลของการทดลองงที่ได้ก็ไม่มีประโยชน์อะไร ในการทดลองภาคสนาม มีคาถามที่สาคัญข้อหนึ่งคือ “เมื่อเกษตรกรมีโอกาสได้ทาถ่านไบโอชาร์เอง เกษตรกรจะใช้อะไรเป็นวัตถุดิบเพื่อได้ถ่านไบโอชาร์ที่จะนาไปใส่ในดิน?” เกษตรกรจะใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหลายชนิดที่มีอยู่ในการทาถ่านไบโอชาร์ ตัวอย่างเช่น คุณสามารถจัดการอบรมในสถานที่ที่มีการปลูกข้าวโพดอยู่ แต่ถ้าคุณโชคดี เกษตรกรอาจนาเพื่อนๆหรือญาติที่ปลูกข้าวที่บ้านและจะทาถ่านจากฟางข้าว นอกจากนี้เกษตรกรจะใช้วิธีที่หลากหลายในการทาถ่านไบโอชาร์ คุณสามารถสอนวิธีใดวิธีหนึ่งในการทาถ่านไบโอชาร์ แต่แน่ใจได้เลยว่าไม่ว่าจะสอนวนไปมา 25 รอบ สุดท้ายแล้ว สิ่งที่สอนไปจะเหลืออยู่เพียงนิดเดียวเมื่อมีการนาไปแบ่งปันและปรับเปลี่ยน คาถามสาคัญถัดมาอีกคาถามหนึ่งคือ “การใช้ถ่านไบโอชาร์ที่ทาเองให้ผลคุ้มค่าต่อเกษตรกรหรือไม่?”
คาถามสาคัญที่สุด ในความคิดของผมคือ “ถ้าคุณยังมีสติดีอยู่ คุณจะบอกเกษตรกรหรือไม่ว่า พวกเขาจะได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นหากพวกเขาใช้เวลาและความพยายามในการทาถ่านไบโอชาร์เพื่อเอาไปใส่ในพื้นที่เพาะปลูก?4
คาตอบสั้นๆ: แน่นอน
ผมรู้ได้อย่างไร?
ผมรู้เพราะมูลนิธิอุ่นใจที่ผมอยู่ได้สอนเกษตรกรถึงวิธีการใช้เตาเผาถ่านแบบ TLUD (ย่อมาจากTop Lit Up Draft) จากถังแกลลอน และเตาเผาแบบราง “flame cap” ที่ใช้ทาถ่านไบโอชาร์ จากนั้นเราได้ส่งพวกเขากลับไปที่บ้านและทาถ่านเอง จากนั้นเราได้กาหนดแปลงทดลองแบบคู่ โดยเป็นแปลงทดลองที่อยู่ติดกันที่มีบันทึกผลผลิตปริมาณใกล้เคียงกัน แล้วให้เกษตรกรใส่ปุ๋ยสังเคราะห์ในอัตราส่วนที่ใช้ตามปกติในแปลงหนึ่ง ส่วนอีกแปลงหนึ่งให้ใส่ถ่านไบโอชาร์ที่ทาเอง โดยจะใส่เฉพาะถ่านไบโอชาร์อย่างเดียวหรือจะเพิ่มปุ๋ยคอก, ปัสสาวะสุกร, EM และหรือดินเหนียวตามที่กาหนดไว้ให้ สิ่งที่เราเน้นคือเราขอให้แปลงทดสอบทุกแปลงอยู่ติดถนนที่มีคนผ่านไปมา เพื่อสมาชิกในชุมชนจะมองเห็นได้ เราแขวนป้ายขนาดใหญ่ไว้เหนือแปลงทดสอบแต่ละแปลงเพื่อบอกว่าแปลงนั้นใส่อะไรบ้าง เราทาการทดสอบซ้าแบบนี้กับถ่านไบโอชาร์ที่ทาจากวัตถุดิบที่หลากหลาย เพราะเกษตรกรจะได้ใช้อะไรก็ได้ที่มีอยู่เป็นวัตถุดิบเชื้อเพลิง และที่สาคัญคือเพื่อจะได้รู้ว่าผลผลิตถ่านที่ได้จะมีคุณสมบัติแตกต่างกันไปตามวัตถุดิบเชื้อเพลิงในแต่ละท้องที่หรือไม่
ผลผลิตที่ได้สอดคล้องกัน และออกมาในเชิงบวก ตารางด้านล่างนี้คือผลที่ได้จากการทดสอบเมื่อปี 2016 : เกษตรกร 10 คนปลูกข้าวมะลิ 105 และข้าวเหนียวสันป่าตอง5 หมายเหตุ: พันธุ์ข้าวมะลิ 105 และข้าวเหนียวสันป่าตองให้ผลผลิตแตกต่างกัน จากข้อมูลแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างพันธุ์และความแตกต่างระหว่างสูตรการบารุง มาตราวัดคือกิโลกรัมของผลผลิตต่อตารางเมตร ส่วนสูตรการบารุงเป็นดังนี้: สูตร 1: ถ่านไบโอชาร์แช่ให้อิ่มตัวในปัสสาวะสุกร 400 กก. สูตร 2: ปุ๋ยสังเคราะห์ 16:20:0 และ 46:0:0 ผสมกันในอัตรา 50:50 ปริมาณ 15 กก. กับถ่านไบโอชาร์ 6 กิโลกรัม สูตร 3: ปุ๋ยหมัก 400 กก และถ่านไบโอชาร์แช่ให้อิ่มตัวในปัสสาวะสุกร 400 กก. ทุกแปลงมีการใส่ถ่านไบโอชาร์ที่อัตรา ถ่านไบโอชาร์ 250 กรัม/ตรม.
พยายามทาให้วิธีการของงานวิจัยแบบที่หนึ่งนามาใช้ได้ในโลก “แห่งความเป็นจริง” เพื่อจะมั่นใจได้ว่า “ข้อแรก เราไม่ได้ทาอะไรที่ไม่ดี” และ “ข้อสอง เราพยายามทาสิ่งดีๆทั้งหมดที่เราสามารถทาได้” เราต้องการให้ความพยายามนี้ออกห่างจากสิ่งที่กาลังเกิดขึ้นปัจจุบันอย่างที่คุณ Hugh McLaughlin อธิบายไว้อย่างเหมาะสมให้กับผมเป็นการส่วนตัวว่า “นักวิจัยในโลกของถ่านไบโอชาร์กาลังทาตัวอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับสิ่งดีที่ควรจะทา คือสนับสนุนให้ “ต้องมีงานวิจัยเพิ่มขึ้นอีกก่อนที่จะนาความรู้ที่ได้ออกไปเผยแพร่ มนุษย์ที่กาลังรอคอยและทุกข์ทรมานจะต้องรอความช่วยเหลือไปก่อนจนกว่าฉันจะได้เลื่อนตาแหน่งขึ้นเป็นอาจารย์เต็มขั้น หรืออาจถึงต้องปลดเกษียณก่อน ...”
ในวิดีโอ videotaped interviews ที่มีเกษตรกรเข้าร่วมด้วยระหว่างโครงการทดสอบนี้ (Warm Heart 2017)เกษตรกรมักบอกเสมอว่าพืชในแปลงที่มีถ่านไบโอชาร์ดูแข็งแรงกว่าและดินในแปลงที่มีถ่านไบโอชาร์ดีขึ้นจนสังเกตุได้เพียงในระยะฤดูปลูกเดียว (เกษตรกรดีใจมากกับผลของไบโอชาร์ที่มีต่อพืชและคุณภาพของดิน และบอกเราหลายครั้งว่าสิ่งนี้สาคัญกว่าการได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น เพราะถ่านไบโอชาร์สามารถทาสิ่งเหล่านี้ได้โดยเท่าที่เห็นปุ๋ย NPK ไม่สามารถทาได้ เกษตรกรชอบถ่านไบโอชาร์มากกว่า) ส่วนการทดสอบดินนั้นเราทาทันทีหลังจากเก็บเกี่ยวจากแปลงคู่ที่ใช้ถ่านไบโอชาร์/ปุ๋ย NPK ที่ปลูกข้าวมะลิ 105 (สูตร 1) และได้ผลเป็นที่มั่นใจว่าถ่านไบโอชาร์มีผลปรับปรุงคุณภาพของดิน6
ประเภทของดิน และถ่านไบโอชาร์
มีวิธีคิดอยู่ 2 แบบเกี่ยวกับดิน ในประเทศที่พัฒนาแล้วที่ทาการเกษตรส่วนใหญ่ การพูดถึงดินจะเน้นที่คุณสมบัติเฉพาะของดินในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง หรือบางครั้งอาจเป็นเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งของพื้นที่8 ส่วนในประเทศที่กาลังพัฒนาข้อมูลเหล่านี้ไม่สามารถหามาได้ แต่ถ่านไบโอชาร์เป็นทางหนึ่งที่จะให้ประโยชน์อย่างมากมาย (โดยเฉพาะด้านการปรับปรุงคุณภาพดิน) แม้จะไม่รู้ถึงคุณสมบัติเกี่ยวกับดินที่เกษตรกรกาลังใช้งานอยู่
อีกวิธีคิดหนึ่งคือ ในมุมที่กว้างกว่านั้น นักวิทยาศาสตร์แยกดินออกเป็นหมวดหมู่ แต่ละหมวดหมู่มีคุณสมบัติที่คล้ายกันที่กาหนดศักยภาพด้านการเกษตรของดินโดยรวม แผนที่ประเภทของดินในประเทศกาลังพัฒนาส่วนใหญ่มีการจัดทาไว้แล้ว และคุณสามารถช่วยเกษตรกรที่คุณทางานอยู่ด้วยในการระบุหมวดหมู่พื้นฐานของดินในพื้นที่ที่คุณอยู่ และให้คาแนะนาที่เป็นประโยชน์ได้ ถ้าคุณทางานกับเกษตรกรในประเทศกาลังพัฒนา หมวดหมู่พื้นฐานของดินที่เกษตรกรทาการเพาะปลูกอยู่มักจะมีแนวโน้มไปในทางที่ไม่มีคุณภาพที่ถ่านไบโอชาร์สามารถแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้นได้
เรารู้ได้อย่างไร?
ก่อนที่จะตัดสินใจทาการส่งเสริมถ่านไบโอชาร์ มูลนิธิอุ่นใจได้มอบหมายให้นักวิทยาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญด้านดินคือคุณปีเตอร์ เอลส์เนอร์ เป็นผู้จัดทาภาพรวมประเภทของดินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อได้คุณสมบัติเด่นของดินแต่ละประเภทแล้วเราขอให้เอาข้อดีของถ่านไบโอชาร์ระบุเอาไว้ จากการทาเช่นนี้เราจึงสรุปได้ถึงประสิทธิภาพที่สูงที่คาดหวังไว้ของถ่านไบโอชาร์ในการปรับปรุงดินโดยมีพื้นฐานตามการแบ่งหมวดหมู่ประเภทของดินในโลก (ส่วนใหญ่เป็นเขตร้อน)
ประเภทของดิน
ถ้าคุณทางานกับเกษตรกรรายย่อยในประเทศกาลังพัฒนา แสดงว่าส่วนใหญ่คุณอยู่ในพื้นที่เขตร้อนซึ่งมีประเภทดินพื้นฐานที่พบได้มากที่สุดได้แก่ อคริซอล (Acrisols), ลิโทซอล (Lithosols) หรือ ไนโตซอล (Nitosols) (ใน เขตพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่ ดินสามประเภทนี้เป็นส่วนประกอบมากกว่า 60% ของดินระดับผิวหน้า หากคุณดูแผนที่โลกทั้งสามภาพต่อไปนี้ คุณจะเห็นว่าดินในประเทศกาลังพัฒนามีดินประเภทอคริซอล, ลิโทซอล และไนโตซอลอยู่มาก)9 ดินกลุ่มอคริซอลถือว่าเป็นดินที่คุณภาพไม่ดี และพบอยู่เยอะมาก ส่วนลิโทซอล และไนโตซอล มีคุณภาพดีกว่าอคริซอล แต่ทั้งหมดถือว่าเป็นดินที่ไม่ดีพอสาหรับการเกษตรแบบยั่งยืน อย่างไรก็ตาม คุณสมบัติที่ทาให้อคริซอลเป็นดินไม่ดีกลับทาให้อคริซอลจับคู่ได้เป็นอย่างดีกับถ่านไบโอชาร์นอกจากนี้ถ่านไบโอชาร์ยังเป็นตัวชดเชยอย่างดีสาหรับข้อด้อยที่สาคัญที่สุดของลิโทซอลและไนโตซอล
ดินอคริซอลมีลักษณะคือ “ไม่มีธาตุอาหารที่พืชต้องการ, มีภาวะเป็นพิษจากแร่ธาตุอลูมิเนียม, มีการดูดซับฟอสฟอรัสสูง, คลายตัวหรือกระเทาะตัวและง่ายต่อการถูกกัดเซาะที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่เหมาะสมกับการเพาะปลูกที่มีอยู่อย่างจากัด... เนื่องจากดินอคริซอลไม่ค่อยมีปฏิกิริยาทางชีวภาพ ดังนั้นขบวนการเติบโตทดแทนทางธรรมชาติ, ฯลฯ ในบริเวณผิวหน้าที่ถูกทาลายไปด้วยการใช้เครื่องจักรจึงเป็นไปอย่างช้าๆ” (FAO 2001)
การเพาะปลูกในพื้นที่ดินลิโทซอล “ต้องมีการคอยใส่ปุ๋ยและ(หรือ)ปูนขาวอยู่เสมอ” และ “ลักษณะโครงสร้างผิวหน้าดินที่ไม่แข็งแรงทาให้ดินลิโทซอลง่ายต่อการกระเทาะตัวและถูกกัดกร่อนในพื้นที่ลาดชัน” ดินลิโทซอล “มีความอิ่มตัวด้วยด่างสูงกว่า ดังนั้นจึงมีโครงสร้างที่ค่อนข้างจะแข็งแรงกว่าโครงสร้างที่พบในดินอคริซอล... คุณสมบัติในการอุ้มน้าดีกว่าดินอคริซอลเล็กน้อย...โดยมีเนื้อดินเหนียวและสารอินทรีย์วัตถุที่เหมือนกัน... ลิโทซอลยังเป็นดินที่ถูกกัดกร่อนไปตามฤดูกาล และมีระดับสารอาหารและการสะสมสารอาหารที่ต่า แต่คุณสมบัติด้านเคมีของลิโทซอลโดยทั่วไปแล้วดีกว่าอคริซอลเพราะมีค่า pH ของดินสูงกว่าและไม่มีภาวะความเป็นพิษจากธาตุอลูมิเนียมที่เป็นอันตรายร้ายแรง ปริมาณสัมบูรณ์ของการแลกเปลี่ยนด่างมักจะไม่เกิน 2 cmol(+) kg-1 อนุภาคละเอียดเนื่องจากลิโทซอลมีความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกต่า... ระดับสารอาหารสัมบูรณ์ของดินต่าและความสามารถในการเก็บกักประจุบวกในลิโทซอลมีน้อยจึงทาให้ต้องมีการเติมปุ๋ยและ (หรือ)ปูนขาวก่อนในพื้นที่ที่ทาการเพาะปลูกอย่างต่อเนื่อง ดินลิโทซอลที่เสื่อมโทรมไปในด้านเคมี และ(หรือ)ด้านกายภาพจะเกิดการฟื้นฟูเองใหม่ได้ช้ามาก” (FAO 2001)
ไนโตซอลจัดกว่าเป็นดินดีที่อยู่ในเขตร้อนชื้น เพราะเป็นดินที่มีความเสถียรและทนต่อการถูกกัดกร่อน อีกทั้งยังเป็นดินที่รากพืชสามารถหยั่งได้ลึก ระบายน้าและเก็บกักน้าได้ดี ดินชนิดนี้ประกอบไปด้วยอินทรีย์วัตถุและสารอาหารมากกว่าดินอคริซอลและลิโทซอล แต่ยังไม่ใช่ดินที่อุดมสมบูรณ์นัก ดังนั้นจึงเหมาะที่สุดกับการใช้ปลูกพืชผลที่ไม่ต้องการการบารุงมากนักเช่น กาแฟ, โกโก้ และยาง (FAO 2001)
ถ่านไบโอชาร์และประเภทของดิน
จากข้อมูลฉบับแรกของเอกสารเรื่องดินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่ “Soils of Mainland Southeast Asia,” Elstner (2017- สามารถแสดงความจานงได้) ได้สรุปประโยชน์ที่สาคัญของถ่านไบโอชาร์ไว้และทาการเปรียบเทียบรูปแบบของประโยชน์กับคุณสมบัติที่เชื่อมโยงกับดินหลักแต่ละประเภท ประโยชน์ของถ่านไบโอชาร์ที่ผู้เขียนสรุปไว้มีดังนี้:
• ลดความเป็นกรดของดินโดยเพิ่มค่า pH ของดิน
• เพิ่มความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวก (CEC)
• ลดการรั่วซึมของสารอาหาร
• ปรับปรุงให้ดินร่วนซุยขึ้นและลดความหนาแน่นรวมของดิน
• เพิ่มความสามารถในการอุ้มน้าของดิน
• ลดภาวะเป็นพิษจากธาตุอลูมิเนียม
• ส่งเสริมการดารงชีวิตของจุลินทรีย์ในดิน
จากนั้นเมื่อผู้เขียนสรุปคุณสมบัติของดินแต่ละประเภทที่ได้ทดสอบจริงในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราเห็นได้ชัดเจนว่าถ่านไบโอชาร์ไม่ใช่ยาครอบจักรวาลสาหรับดินทุกประเภทในทุกๆที่ แต่เมื่อพิจารณาคุณสมบัติทางเคมีและประโยชน์ในการเพาะปลูกของดินประเภทต่างๆ (ตารางที่ 1) เราจะเห็นว่า ดินอคริซอล, ไนโตซอล และลิโทซอล (ลิซิซอล) สามารถรับประโยชน์จากการใช้ถ่านไบโอชาร์ (ตารางที่ 2)
สรุปได้ว่า ถ้าคุณทางานกับเกษตรกรในพื้นที่เขตร้อนหรือกึ่งเขตร้อน คุณอาจไม่สามารถปรับชนิดของถ่านไบโอชาร์ที่ใช้ให้เข้ากับดินในพื้นที่ของเกษตรกรแต่ละที่ได้ แต่คุณสามารถประเมินได้ค่อนข้างแน่นอนว่าถ่านไบโอชาร์จะมีผลต่อดิน ถ้าดินของคุณเป็นอคริซอล คุณคาดหวังได้ว่าการใช้ถ่านไบโอชาร์จะเกิดผลสูงมาก ถ้าดินของคุณเป็นลิโทซอล ก็จะมีผลดี และถ้าเป็นดินไนโตซอล ก็จะมีผลปานกลางถึงดี คุณอาจได้ผลที่อาจดีเกินคาด แต่ก็ไม่ควรคาดหวังมากเกินควรและที่สาคัญคือให้ทาการทดสอบก่อน ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบการผลิต, การใส่ และการใช้ถ่านไบโอชาร์ โดยทดสอบด้วยตัวเองก่อนที่จะเผยแพร่ไปให้เกษตรกร
(ข้อมูลระหว่างประเทศแนะนาว่าการประเมินประสิทธิภาพของถ่านไบโอชาร์ในบทความนี้เป็นตัวเลขที่ค่อนข้างต่ากว่าความเป็นจริง ข้อมูลจากการทดสอบแม้ในดินคุณภาพดีในประเทศอเมริกาและยุโรบแสดงให้เห็นผลที่ดีมาก แต่เนื่องจากคุณและเกษตรกรไม่อาจรู้ข้อมูลที่แท้จริงเกี่ยวกับดินนั้น ดังนั้น บทเรียนสาคัญที่ได้จากจุดนี้คือ ดินของคุณไม่ว่าจะเป็นดินแย่ขนาดไหน ถ่านไบโอชาร์สามารถแก้ไขให้ดีขึ้นได้)
การวัดปริมาณ
การนาการวัดปริมาณไปใช้และการสื่อสารเรื่องการวัดปริมาณอาจทาได้ค่อนข้างยากเมื่อต้องทางานกับเกษตรกร ในการผลิตปุ๋ยที่มีส่วนผสมของถ่านไบโอชาร์ ในสภาพการทางานในห้องทดลอง มีความเป็นไปได้ที่จะทาการทดลองจากวัตถุแห้ง (Dry Matter หรือ DM) ที่มีคุณภาพดีที่สุด เพื่อจะพิจารณาปริมาณที่แน่นอนของถ่านไบโอชาร์หรือปุ๋ยหมักที่ใช้ โดยการทาให้แห้งสนิทแล้วช่างน้าหนัก นอกจากนั้น ในห้องทดลองคุณยังสามารถวิเคราะห์ส่วนประกอบเคมีของส่วนผสมเปียกเช่นปัสสาวะสุกร (ที่เราใช้เพื่อแช่ถ่านไบโอชาร์) และรู้แน่นอนว่าต้องใช้กี่ลิตรต่อถ่านไบโอชาร์ อย่างไรก็ตาม วิธีการเหล่านี้ไม่สามารถทาได้ในพื้นที่จริง คุณอาจต้องพิจารณาคร่าวๆว่าถ่านไบโอชาร์จะไม่ขยายตัวเมื่อเปียก เพื่อจะให้ปริมาตรเป็นตัวกาหนดการวัด แต่คุณจะต้องไม่ลืมด้วยว่าวัสดุเชื้อเพลิงที่ต่างกัน (ในขบวนการไพโรไลซิสและอุณหภูมิที่ใช้) จะได้ถ่านไบโอชาร์ที่ไม่เหมือนกัน คือถ่านที่ได้แต่ละครั้งอาจมีความหนาแน่นต่างกัน และแตกสลายไปในเวลาที่ต่างกัน
แล้วจะทาอย่างไร?
ก่อนอื่น ให้เตือนตัวเองก่อนว่าเพราะอะไรเราจึงต้องการวัดปริมาณตั้งแต่แรก เราไม่ได้วัดปริมาณเพื่อจุดประสงค์ในการทดลองวิทยาศาสตร์ที่แม่นยา คุณกาลังวัดปริมาณเพื่อได้จุดที่สามารถนาไปทาซ้าได้ คุณต้องการรู้ว่า ถ้าฉันทาอย่างนี้แล้ว ผลที่ได้คืออะไร? ถ้าฉันทาอย่างนั้นแล้ว ผลที่ได้คืออะไร? คุณอยากรู้ว่าอะไรที่มีผลต่อส่วนผสมของถ่านไบโอชาร์ที่ทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงปริมาณผลผลิต, สุขภาพของพืชผล และคุณภาพของดิน คุณต้องการวิธีใดวิธีหนึ่งที่จะวัดปริมาณเพื่อสามารถเปรียบเทียบสูตรต่างๆภายใต้ภาวะที่เหมาะสม โดยมอบเครื่องมือให้เกษตรกรของคุณได้นาไปใช้ได้จริง
และเครื่องมือวัดปริมาณเหล่านั้นก็คือ – ถัง
เกษตรกรที่คุณทางานอยู่ด้วยส่วนใหญ่จะมีวิธีชั่งน้าหนักข้าวและผลผลิตอยู่แล้ว ดังนั้นเกษตรกรจึงจะสามารถชั่งน้าหนักส่วนผสมสูตรถ่านไบโอชาร์ได้ แต่ถ้าไม่มีความเข้าใจเรื่องปริมาณความชื้นในส่วนผสม การชั่งน้าหนักก็อาจไม่มีความหมายมากนัก ตัวอย่างเช่น ถ่านไบโอชาร์ที่ทาจากเตาเผาแบบ JRo จะมีปริมาณความชื้นที่น่าจะต่ากว่าถ่านไบโอชาร์ที่ทาจากเตาเผาแบบรางเปิด (FC trough)
ที่มูลนิธิอุ่นใจ เราไม่สามารถวัดปริมาณความชื้นได้อย่างแม่นยา อย่างไรก็ตาม มาตรฐานระดับโลกสาหรับการนาถ่านไบโอชาร์ไปใช้อยู่ที่ปริมาณหลายตันต่อพื้นที่ (โดยไม่เจาะจงปริมาณความชื้น) ซึ่งต้องมีการประมาณตัวเลขจากปริมาณของกรัมหรือกิโลกรัมที่นาไปใช้ต่อตารางเมตร การประมาณอัตราการนาไปใช้เป็นเรื่องยากและคงไม่มีประโยชน์ หากเกษตรใส่ถ่านลงในพื้นที่ด้วยมือ อีกทั้งไม่ให้ความสาคัญต่อปริมาณความชื้น หรือไม่สามารถวัดความชื้นได้ การนาถ่านไบโอชาร์ไปใส่ในพื้นที่ตาม “มาตรฐานโลก” (จากการผลศึกษาทั่วโลก) คือ 10 ตันต่อพื้นที่หนึ่งเฮคตาร์ หรือ 1 กิโลกรัมต่อตารางเมตร งานเขียนวิทยาศาสตร์แนะนาว่าดินที่ดีกว่า จะต้องใช้ถ่านไบโอชาร์มากกว่า เพื่อให้ได้ผลออกมาเป็นดินที่ดีขึ้น ที่มูลนิธิอุ่นใจ เราพบว่างานเขียนนี้เป็นจริง คือ ดินที่แย่กว่า (เช่น อคริซอลที่ถูกกัดเซาะ) ต้องการถ่านไบโอชาร์น้อยกว่าเมื่อต้องการเพิ่มผลผลิต เราไม่เคยใช้ถ่านไบโอชาร์เกินกว่า 250 กรัมต่อตารางเมตรในการทดลอง เราได้เห็นผลผลิตที่เพิ่มขึ้นปริมาณมากขณะที่เรามองหาวิธีการเพิ่มผลผลิตโดยไม่เพิ่มงานให้กับเกษตรกรยากจนที่มักมีอายุมากและสุขภาพไม่ดี
เนื่องจากการวัดค่าความชื้นเป็นเรื่องยาก เราจึงต้องการวิธีในการเปรียบเทียบระหว่างถ่านไบโอชาร์ที่ทาแต่ละครั้ง ปุ๋ยหมัก, ดินเหนียว หรือวัสดุอื่นๆ เพื่อพิจารณาว่าตัวแปรเหล่านั้นมีผลต่อปริมาณผลผลิตที่แตกต่างจากเดิมหรือไม่
นอกจากวิธีการชั่งน้าหนักแล้ว การใช้ถังเป็นวิธีที่ง่ายกว่ามากในการวัดปริมาณของส่วนผสม โดยเริ่มจากถ่านไบโอชาร์ปริมาณมากและส่วนผสมอื่นๆที่คิดว่าจะใส่เพิ่มเข้าไป จากนั้น ผสมสูตรต่างๆให้เข้ากันในเวลาเดียวกัน โดยใช้วัสดุเหมือนกันและถังเหมือนกัน พยายามมากที่สุดเท่าที่จะทาได้ที่จะใส่ส่วนผสมในปริมาณที่สม่าเสมอ ถ้าเกษตรกรทาวิธีเดียวกันนี้ และคุณก็ทาเหมือนกันบ่อยๆ คุณก็จะได้ปริมาณที่ใกล้เคียงที่พอจะนาไปเปรียบเทียบกันได้
การทดสอบด้วยถัง อาจได้ข้อมูลที่ไม่แน่นอนหรือน่าเชื่อถือพอที่จะเผยแพร่ไปยังนอกกลุ่มของคุณ (อาจรวมถึง ชนิดของดิน, วิธีไพโรไลซิส, วัสดุเชื้อเพลิง, การเพิ่มประสิทธิภาพ, ระยะเวลาที่ปล่อยถ่านไบโอชาร์ไว้, ฯลฯ) แต่อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ทาให้การทดสอบของคุณเป็นไปอย่างเหมาะสม เช่น คุณจัดการสูตรต่างๆอย่างเป็นรูปแบบและนาไปใช้ในแปลงอย่างเหมาะสม มีการสุ่มตัวอย่างและทาซ้าที่เป็นแบบแผนสม่าเสมอ คุณสามารถยืนยันในผลของแต่ละสูตรที่สัมพันธ์กันในสภาพท้องถิ่นที่เป็นเฉพาะของคุณ อย่าลืมว่าวิธีนี้ไม่ใช่เป็นวิธีที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ แต่เป็นวิธีการคานึงถึงข้อจากัดในสภาพความเป็นจริงที่คุณต้องทางานอยู่และเป็นวิธีที่ยังมีพื้นฐานที่ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์อยู่ การทดลองของคุณอาจไม่นาไปสู่การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน แต่จะทาให้เห็นการเปรียบเทียบที่สัมพันธ์และมีความหมายระหว่างสูตรต่างๆที่ใช้ในบริบทของคุณเอง ซึ่งจะเป็นแนวทางให้ผู้อื่นนาไปปฏิบัติได้ในบริบทคล้ายกัน ถ้าคุณปฏิบัติการในวิธีนี้ คุณจะสามารถพูดได้อย่างมั่นใจกับเกษตรกรว่าถ้าพวกเขาทาถ่านไบโอชารแบบนี้และผสมกับวัสดุอย่างอื่นแบบนี้ พวกเขาจะได้ผลออกมาตามที่คาดหวังไว้
สรุป
อย่าหลงประเด็นไปกับสิ่งที่คนอื่นพูดเกี่ยวกับส่วนประกอบของ “ถ่านไบโอชาร์ที่มีคุณภาพ” และเช่นเดียวกัน อย่ายึดติดว่า “ถ่านไบโอชาร์นี้ต้องใช้ทาแบบนี้เท่านั้น” หรือ “วิธีการวัดปริมาณที่ถูกต้องต้องเป็นแบบไหน” แต่ให้มองหาวิธีการและวัตถุดิบที่ “ดีพอ” ที่มีอยู่ในบริบทเฉพาะของคุณ ให้ดูว่าเป้าหมายของคุณคืออะไร และที่ที่คุณอยู่มีอะไรที่พอจะหาได้ อย่างที่ในสมัยก่อน อริสโตเติลได้กล่าวไว้ทานองเดียวกันนี้ว่า “ความแม่นยาในการศึกษาสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ในธรรมชาติของสิ่งที่จะศึกษานั้น” (Aristotle, trans. 1962)
อ้างอิง
Aristotle. Translated 1962. Niomachean Ethics. The Library of Liberal Arts. Translated by Martin Ostwald.
Elstner, P. 2017. Soils of Mainland Southeast Asia. ECHO Asia Notes #30. Available: https://www.echocommunity.org/en/
resources/3e433eed-7f37-488f-841f-32fef3d1652f.
FAO 2001. Lecture Notes on the Major Soils of the World. P. Driessen, J. Deckers, O. Spaargaren, and F. Nachtergaele (Eds.). Rome:
FAO. Available: http://www.fao.org/docrep/003/y1899e/y1899e00.HTM.
Hilber, I., and T. D. Bucheli. 2010. Activated carbon amendment to remediate contaminated sediments and soils: A review. Global NEST
Journal 12(3): 305-317.
International Biochar Initiative (IBI). 2018. Available: http://www.biochar-international.org/.
Jeffrey, S., D. Abalos, K. A. Spokas, and F. G. A. Verheijen. 2015. Biochar effects on crop yield. In: Biochar for Environmental Management:
Science, Technology and Implementation, 2nd ed., Eds. Johannes Lehmann and Stephen Joseph. New York: Routledge. Pp.
301-325.
McLaughlin, H. 2010. Characterizing biochars: Attributes, indicators and at-home tests. In: The Biochar Revolution: Transforming Agriculture and Environment. Eds. Paul Taylor and Hugh McLaughlin. Lilydale, Australia: Global Publishing Group. Available: http://warmheartworldwide.org/characterizing-biochar/.
Rongjun, B., S. Joseph, L. Cui, G. Pan, L. Li, X. Liua, A. Zhanga, H. Rutlidge, S. Wonge, C. Chia, C. Marjo, B. Gong, P. Munroec, and
S. Donned. 2014. A three-year experiment confirms continuous immobilization of cadmium and lead in contaminated paddy field with
biochar amendment. Journal of Hazardous Materials 272: 121-128.
Warm Heart Foundation. 2017. Biochar Interviews with Farmers in Phrao (English Version). Chiang Mai, Thailand: Warm Heart Foundation. Available: https://youtu.be/eUSEE1-ueE0.