[หมายเหตุบรรณาธิการ: หากมีคำถาม, ความคิดเห็น หรือประสบการณ์ส่วนตัวที่เกี่ยวข้อง โปรดติดต่อที่ ECHOcommunity Conversations: African Swine Fever Virus]
โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรและผลกระทบที่มีต่อการผลิตเนื้อสุกรทั่วโลก
ขณะที่ความเจริญของโลกมีเพิ่มขึ้น ความต้องการโปรตีนจากสัตว์ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื้อสุกรกลายเป็นเนื้อสัตว์บกที่มีการบริโภคมากที่สุดที่ 37% ของการบริโภคเนื้อสัตว์ทั้งหมดทั่วโลก(Beltrán-Alcrudo et al., 2017) อุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสุกรเพิ่มขึ้นอย่างมากในภูมิภาคเอเชีย (ภาพที่ 1) โดยตัวเลขแสดงให้เห็นว่ามีปริมาณ 55% ของการผลิตเนื้อสุกรทั่วโลกในปี 2018 (FAOSTAT, 2018) มูลค่าการผลิตเนื้อสุกรโดยรวมทั่วโลกอยู่ใกล้เคียงที่ประมาณ 3 แสนล้านเหรียญสหรัฐตั้งแต่ปี 2011 (FAOSTAT, 2020) ) โดยในปี 2018 ตัวเลขทั้งหมดนี้เปลี่ยนไปเมื่อเริ่มมีไวรัสโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever Virus หรือ ASFV) ในภูมิภาคเอเชีย ไวรัสร้ายแรงนี้ได้ทาลายปริมาณสุกรที่มีอยู่และส่งผลให้การผลิตเนื้อสุกรทั่วโลกและการบริโภคโปรตีนจากเนื้อสุกรลดลงอย่างมาก มีการประมาณว่ามากกว่า 25% ของปริมาณสุกรในโลกต้องตายจากโรคนี้ในช่วงสองปีที่ผ่านมา (Niederwerder et al., 2020)
ต้นกำเนิด ข้อมูล และการแพร่กระจายของโรค
โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรเกิดมาจากไวรัสตระกูล Asfarviridae และตามชื่อของไวรัสนี้มีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปแอฟริกาที่การแพร่กระจายของโรค มีพาหะเป็นเห็บอ่อน (สกุล Ornithodoros) และสัตว์อื่นที่อยู่ในตระกูลสุกร (Suidae) ที่เป็นที่อาศัยหรือเพาะเชื้อของไวรัสและนำไปสู่การแพร่กระจายของเชื้อ สุกรเลี้ยงและสุกรป่า (Sus scrofa )มีความไวต่อโรคสูง โดยที่สุกรป่าพื้นเมืองจำนวนมากที่มักไม่มีอาการแต่ทำหน้าที่เป็นแหล่งเพาะเชื้อและแพร่กระจายเชื้อไวรัส (OIE, 2019)
กลุ่มไวรัส 32 กลุ่มนี้แพร่กระจายอยู่ในทั่วทวีปแอฟริกา จนเมื่อปี 1957 หนึ่งในกลุ่มไวรัสนี้พบเป็นครั้งแรกในประเทศโปรตุเกสโดยถูกนำมาจากแอฟริกาตะวันตก แล้วจากนั้นได้แพร่กระจายไปทั่วทวีปยุโรบ จนถึงบางส่วนในแถบแคริบเบียนและบราซิล การกำจัดไวรัสในประเทศเหล่านี้ประสบผลสำเร็จแต่ก็ใช้เวลาถึงหลายปีที่ไวรัสยังคงอยู่ในประเทศสเปนและโปรตุเกสจนถึงช่วงปีทศวรรษ 1990 (Beltrán-Alcrudo et al., 2017) ส่วนการระบาดที่พบในปัจจุบันในทวีปยุโรบและเอเชียเริ่มขึ้นเมื่อปี 2007 เมื่อไวรัสASFVกลุ่มหนึ่งถูกนำเข้ามายังประเทศจอร์เจียจากทางแอฟริกาตะวันออกเฉียงใต้แล้วค่อยๆแพร่กระจายไปทั่วยุโรบ (Beltrán-Alcrudo et al., 2017) ในปี 2017 ประเทศรัสเชียประสบกับการระบาดของไวรัส ASFV ที่จากนั้นแพร่ไปยังตอนเหนือของประเทศจีนในปี 2018 และได้แพร่กระจายไปทั่วประเทศจีนและพื้นที่ส่วนมากของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Schneider, 2020)
การแพร่กระจายเชื้อและการวินิจฉัยโรค
การทำความเข้าใจการแพร่กระจายเชื้อไวรัส ASFV
ในทวีปแอฟริกา เชื้อไวรัสนี้แพร่กระจายผ่านทางแหล่งเพาะเชื้อคือตัวเห็บและหมูป่า จากการสัมผัสโดยตรงกับสุกรเลี้ยงที่ติดเชื้อ และจากเศษชิ้นส่วนติดเชื้อที่มนุษย์นำเข้ามาโดยไม่ตั้งใจ ในทวีปยุโรปนั้นหมูป่าเป็นตัวการสำคัญในการแพร่กระจายโรค (ตารางที่ 1) ขณะที่ในเอเชีย ส่วนใหญ่เชื้อไวรัสจะติดต่อจากสุกรเลี้ยงไปสู่สุกรเลี้ยง และจากมนุษย์ที่นำวัสดุสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสออกไป (Beltrán-Alcrudo et al., 2017) แสดงว่าหากผู้คนได้รับความรู้ที่ถูกต้องและมีการบังคับใช้ข้อกำหนดความปลอดภัยทางชีวภาพในชุมชน ก็มีความเป็นไปได้ที่จะป้องกันและกำจัดโรคให้หมดไปได้ในทวีปเอเชีย เหมือนที่เกิดขึ้นแล้วในการระบาดช่วงปลายทศวรรษ 1950 ในทวีปเอเชีย
ภูมิภาค |
สุกรเลี้ยง |
หมูป่า |
ระบาดทั้งหมด |
สุกรป่วยทั้งหมด |
||||||
จำนวนครั้งการระบาด |
ไวต่อการเกิดโรค |
สุกรป่วย |
สุกรตาย |
จำนวนครั้งการระบาด |
ไวต่อการเกิดโรค |
สุกรป่วย |
สุกรตาย |
|||
แอฟริกา |
128 |
213 795 |
61 459 |
85 539 |
|
|
|
|
128 |
61 459 |
เอเชีย |
9 928 |
8 107 951 |
115 309 |
6733791 |
631 |
- |
1 121 |
|
10 559 |
116 430 |
ยุโรบ |
4271 |
1 859 480 |
625 269 |
1383372 |
17 307 |
- |
29513 |
|
21 578 |
654 809 |
รวม |
14 327 |
1018 226 |
802 064 |
8202702 |
17 938 |
- |
30634 |
0 |
32 265 |
832 698 |
การทนทานของเชื้อไวรัส ASFV ในสภาพแวดล้อมต่างๆ |
|
สภาพต่างๆ |
เวลาการรอดชีวิตของเชื้อไวรัส ASFV |
เนื้อทั้งที่ติดและไม่ติดกระดูก และเนื้อบด |
105 วัน |
เนื้อหมักเกลือ |
182 วัน |
เนื้อปรุงสุก (อย่างต่ำ 30 นาที ที่ 70°C |
0 |
เนื้อแห้ง |
300 วัน |
เนื้อรมควันและเนื้อเลาะกระดูกแล้ว |
30 วัน |
เนื้อแช่แข็ง |
1000 วัน |
เนื้อแช่เย็น |
110 วัน |
เครื่องใน |
105 วัน |
หนัง/ไขมัน (แม้ตากแห้งแล้ว) |
300 วัน |
เลือดสุกรแช่เย็นที่ 4°C |
18 เดือน |
มูลสุกรที่อุณภูมิห้อง |
11 วัน |
เลือดที่เน่าเสียแล้ว |
15 วัน |
คอกสุกรที่ปนเปื้อนเชื้อแล้ว |
1 เดือน |
ที่มา: ปรับจากบทความ “ความเห็นทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร” (EFSA Journal, 2010; 8(3):1556 เวลาในที่นี้มาจากความรู้และการประเมินช่วงเวลาที่สูงสุด และจะขึ้นอยู่เป็นสำคัญกับอุณหภูมิและความชื้นในสภาพแวดล้อม |
การวินิจฉัยโรค
การวินิจฉัยโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรนี้ โดยการประเมินอาการเพียงอย่างเดียวอาจเป็นไปได้ยาก มีสัญญาณที่บ่งบอกได้ชัดเจนที่สุดคือการเสียชีวิตในสุกรทั้งตัวผู้และตัวเมียเพิ่มขึ้นอย่างกะทันหัน โดยอาการจะแตกต่างกันอย่างมากและขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของไวรัส สายพันธุ์สุกร ปริมาณที่ได้รับสัมผัส เส้นทางการรับสัมผัส และลักษณะเฉพาะถิ่นของไวรัสในพื้นที่นั้น รูปแบบอาการของไวรัสที่อันตรายน้อยกว่าคือมีอัตราการเสียชีวิตต่ำกว่า 60% และบางชนิดก็ต่ำถึง 10% อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันทวีปเอเชียมีแหล่งสายพันธุ์ที่รุนแรงมาก โดยมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 100% (Beltrán-Alcrudo et al., 2017)
สัตว์ที่แสดงอาการรุนแรง (เฉียบพลันทันที) มักจะมีไข้สูงที่ 41-42°C (สูงกว่าปกติ 3-4°C; Birmingham & Quesenberry, 2000) และมีแนวโน้มที่จะตายก่อนแสดงอาการใดๆของโรคเป็นเวลาหลายวัน ส่วนอาการที่รุนแรงน้อยกว่าเล็กน้อย (เฉียบพลัน) การเสียชีวิตจะยืดเวลาออกไปนานพอที่จะแสดงอาการให้เห็น แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตในฝูงได้ 90-100% โดยสุกรจะมีไข้ 40-42°C อัตราการหายใจเพิ่มขึ้น เบื่ออาหาร มีพฤติกรรมไม่อยากเคลื่อนไหว และจะเสียชีวิตภายใน 6 ถึง 11 วันหลังจากสังเกตเห็นอาการ
สุกรที่ได้รับเชื้อไวรัส ASFV อาจมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้:
- มีรอยสีน้ำเงินอมม่วงและมีรอยเลือดคั่งหรือเลือดออก (อาจเป็นจุดๆหรือรอยใหญ่) ที่บริเวณหู ท้อง และขาหลัง
- มีขี้ตาและน้ำมูกไหล
- มีอาการแดงของผิวหนังบริเวณหน้าอก ท้อง ขาหนีบ หาง และขา
- ท้องผูกหรือท้องเสีย ซึ่งอาจมีอาการหนักขึ้นจากถ่ายเป็นมูกกลายเป็นเลือด
- อาเจียน
- มีอาการแท้งในแม่สุกรที่ตั้งครรภ์ทุกระยะ
- มีเลือดเป็นฟองออกจากจมูกหรือปากและมีหนองจากตา
- บริเวณรอบหางอาจมีรอยอุจจาระเปื้อนเลือด (Beltran-Alcrudo et al., 2017)
องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติได้นำเสนอ "คู่มือสำหรับการตรวจจับและวินิจฉัยโรคไวรัส ASFV" (FAO, 2010) ด้วยรายการต่อไปนี้ ซึ่งเป็นอาการของโรค ASFV ที่พบจากการตรวจชันสูตรซากของสุกรที่ติดเชื้อ โดยส่วนใหญ่จะพบการปรากฏของอาการหลายอย่างพร้อมกัน (รูปที่ 2) ได้แก่:
-
เลือดออกใต้ผิวหนัง (Hemorrhages)
-
ของเหลวสะสมในหัวใจ (hydropericardium หรือถุงหุ้มหัวใจมีน้ำสีเหลือง) และช่องต่างๆในร่างกาย (น้ำในช่องปอด, ท้องมาน)
-
จุดเลือดขนาดเล็ก(Petechiae) บนพื้นผิวของหัวใจ (epicardium) ที่กระเพาะปัสสาวะและไต (บนเยื่อหุ้มและกรวยไต)
-
ปอดอาจมีเลือดคั่งและจุดเลือดออก โดยพบฟองในหลอดลมและขั้วปอด และมีอาการบวมรุนแรงที่ถุงลมและเนื้อเยื่อปอด (บวมน้ำ)
-
จุดเลือดขนาดเล็ก (Petechiae), จ้ำเลือดขนาดใหญ่ (ecchymoses) (เลือดออกมาก) และเลือดอุดตันส่วนเกินในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่
-
เลือดคั่งในตับและเลือดออกในถุงน้ำดี
**ทั้งนี้ไม่แนะนำให้ทำการตรวจชันสูตรซากสุกรนอกเหนือการชันสูตรโดยสัตวแพทย์หรือเจ้าหน้าที่หน่วยงานด้านปศุสัตว์ที่ได้รับการฝึกอบรม เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะทำให้พื้นที่ฟาร์มสัมผัสกับของเหลวที่ไม่พึงประสงค์ที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส
การวินิจฉัยโรคนี้ทำได้ยาก เนื่องจากอาจสับสนได้ง่ายกับโรคอื่นๆ อีกหลายโรค ดังนั้นจึงไม่สามารถวินิจฉัยได้อย่างแน่ชัดจนกว่าจะยืนยันเชื้อ ASFV จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการ อาการที่เกิดจากโรคไข้หวัดหมูทั่วไป, โรคไฟลามทุ่งสุกร, ภาวะได้รับพิษ, โรคจากเชื้อซัลโมเนลลา และภาวะติดเชื้ออื่นๆ มักจะสับสนได้ง่ายกับเชื่อ ASFV จึงมีคำแนะนำว่าผู้เลี้ยงสุกรไม่ควรอาศัยการพยากรณ์โรคด้วยตนเองจนกว่าจะได้รับการยืนยันจากสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
การรับมือกับโรค
การป้องกันและควบคุม
ขณะมีการเขียนบทความนี้ (2021) ยังไม่มีวัคซีนสำหรับโรคอหิวาต์แอฟริกา แม้จะกำลังมีการพยายามอย่างเต็มที่ในการผลิต หากมีวัคซีนเมื่อใด ก็จะเป็นแนวทางป้องกันที่ดีที่สุด ในขณะที่ยังไม่มีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ กุญแจสำคัญในการบรรเทาผลกระทบคือการป้องกันการแพร่กระจายของโรคนี้ด้วยการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพอยู่ตลอดเวลาและกำจัดโรคทันทีเมื่อตรวจพบ
ฟาร์มแต่ละแห่งมีความแตกต่างกันและจัดการกับภัยคุกคามของการติดเชื้อต่างกัน การคุกคามของไวรัสร้ายแรงเช่นนี้จำเป็นต้องมีการวางแผนความปลอดภัยทางชีวภาพที่ละเอียดถี่ถ้วนและพนักงานทุกคนสามารถรับรู้และรับผิดชอบได้ การวางแผนที่เกิดประโยชน์ควรมาจากการขอความร่วมมือให้เจ้าหน้าที่และบุคคลอื่นช่วยในการระบุช่องทางที่เป็นไปได้ของการติดเชื้อ การป้องกันและควบคุมควรเริ่มต้นด้วยการที่ผู้เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในฟาร์มตระหนักถึงความรุนแรงของโรคและกลไกการแพร่กระจาย มนุษย์ถือเป็นผู้แพร่กระจายหลักของโรคนี้ เพราะมนุษย์สามารถนำพาสิ่งปนเปื้อนที่ติดเชื้อที่อยู่บนรองเท้าบูท เสื้อผ้า หรือวัสดุอื่นๆ ได้โดยง่าย ดังนั้นจึงจำเป็นที่ต้องมีการรับรู้กลุ่ม
แผนความปลอดภัยทางชีวภาพอาจทำได้ไม่ยากเพียงแค่จัดทำรายการต่างๆเกี่ยวกับภัยคุกคามต่อโรค จุดต่างๆที่เชื้อโรคเข้ามา และการพัฒนาแนวทางในการกำจัดหรือลดภัยคุกคามเหล่านั้นให้เหลือน้อยที่สุด องค์การ FAO ได้เสนอแนะขั้นตอน 3 ประการเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ ได้แก่: (1) การแยก (2) สุขอนามัย และ (3) การฆ่าเชื้อ (FAO, 2010)
การแยก
การแยกคือการแยกสัตว์ออกจากสิ่งปนเปื้อนใดๆที่อาจเกิดขึ้นได้ การปนเปื้อนเข้ามายังฟาร์มได้จากหลายช่องทาง เช่น สุกรตัวอื่นและผลิตภัณฑ์จากสุกรตัวอื่น, วัสดุรองพื้นคอกและมูลสุกร, น้ำที่ไหลมาจากฟาร์มบริเวณใกล้เคียง, น้ำเชื้อสุกร, รองเท้าบูทหรือเสื้อผ้า, อาหารสุกร, ยานพาหนะ หรือสัตว์อื่นๆ การแยกสุกรออกจากฝูงสุกรภายนอกเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด เนื่องจากเป็นการจำกัดการเข้าถึงสุกรให้เฉพาะบุคลากรที่จำเป็นเท่านั้น การมีปฏิสัมพันธ์ของพนักงานกับสุกรนอกฟาร์มควรผ่านการปรึกษาและจำกัดให้มีน้อยที่สุด มาตรการที่รอบคอบอย่างหนึ่งคือการแยกรองเท้าและเสื้อผ้าสำหรับภายในและภายนอกเขตสุกร เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ โดยให้พนักงานทุกคนเริ่มต้นวันทำงานโดยตรงกับสุกรก่อน จากนั้นจึงย้ายออกห่างจากสุกรไปยังพื้นที่ที่อาจได้รับเชื้อหรือกับสุกรอื่นๆ ที่ถูกกักตัวเพื่อดูอาการอยู่ อย่าทำงานในลำดับที่ตรงกันข้ามนี้
สุขอนามัย
ก่อนสัมผัสสุกร ควรทำความสะอาดตัวบุคคลหรือสิ่งของใดๆ ก่อนให้ดี ซึ่งแนวทางปฏิบัตินี้ไม่เหมือนกับการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ เพราะบ่อยครั้งสารฆ่าเชื้อจะไม่สามารถทะลุผ่านวัตถุบางอย่าง เช่น โคลนหรือมูลสัตว์ ซึ่งอาจกลายเป็นช่องทางเข้าของเชื้อไวรัส สถานที่เลี้ยงสุกรหลายแห่งทั่วโลกต้องมีการเปลี่ยนรองเท้า เสื้อผ้า และกำหนดให้พนักงานอาบน้ำก่อนเข้าและออกจากบริเวณที่เลี้ยงสุกร นอกจากนี้ดอกยางล้อรถยังอาจเป็นแหล่งพักวัสดุที่ติดเชื้อได้ ดังนั้นการล้างและขัดถูล้อรถจึงเป็นสิ่งสำคัญ
การฆ่าเชื้อ
หลังจากทำความสะอาดร่างกายแล้ว ควรใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่ผ่านการรับรองสำหรับกำจัดเชื้อของไวรัสอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ไวรัสนี้ถูกห่อหุ้มอย่างหนาแน่นและยากต่อการฆ่าด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ โดยน้ำยาฆ่าเชื้อทั้งหมดต้องมีเวลาสัมผัสอยู่กับเชื้อนานพอสมควรกว่าที่จะฆ่าเชื้อไวรัสได้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรเร่งรัดขั้นตอนการฆ่าเชื้อ ควรทำความสะอาดอย่างทั่วถึงเพื่อเพิ่มเวลาให้น้ำยาสัมผัสกับเชื้อ น้ำยาคลอรีนเป็นสารฆ่าเชื้อที่ใช้ได้ดี (0.5% เป็นเวลา 30 นาที) นอกจากนี้ยังมี ไอโอดีน, อีเธอร์, คลอโรฟอร์ม, ฟอร์มาลิน (30 นาที) และโซดาไฟ (NaOH; 8/1000 เป็นเวลา 30 นาที; OIE, 2019) การเหยียบไปบนน้ำยาฆ่าเชื้อจะช่วยในการทำความสะอาดรองเท้าบูทก่อนเข้าฟาร์ม มีคำแนะนำให้เหยียบบนปูนขาวหลังจากการเหยียบบนน้ำยาฆ่าเชื้อแล้วเพื่อเพิ่มค่า pH ให้สูงกว่าที่ไวรัสจะอยู่รอดได้ การล้างด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อและการใช้ปูนขาวอาจนำไปใช้กับรถยนต์ได้เช่นกัน แต่ต้องเป็นเวลานานพอที่จะครอบคลุมเส้นรอบวงทั้งหมดของยาง ควรปล่อยให้ยางที่ล้างแล้วแห้งก่อน ก่อนที่จะเข้าสู่อ่างฆ่าเชื้อ (Dr. P. Quesenberry, Personal Communication, Sept 3, 2020)
ตารางที่ 3 ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร
แหล่งที่อาจปนเปื้อนเชื้อโรค |
ขั้นตอนปฏิบัติ |
สุกรจากที่อื่น |
จำกัดพื้นที่สุกรและกักกันสุกรใหม่ในพื้นที่ที่แยกออกไปเป็นเวลา 30 วัน ; คัดแยกและฝังสุกรที่แสดงอาการโรคอหิวาต์แอฟริกา |
อาหารสุกรที่ทำมาจากเศษอาหาร
|
ไม่แนะนำให้ทำ ควรหลีกเลี่ยงนอกจากจะปรุงอาหารที่อุณหภูมิ 70°C นานอย่างน้อย 30 นาทีก่อนเอาให้สุกร |
สัตว์ประเภทอื่นเช่น หนู |
กำจัด, ลดแหล่งอาหารเปิด และปิดช่องทางเข้าให้มากที่สุด |
รองเท้าหรือเสื้อผ้าปนเปื้อน |
เปลี่ยนเสื้อผ้าก่อนเข้าและออกสถานที่, ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ, และลดการเข้าออกพื้นที่เลี้ยงสุกร ทำงานเริ่มจากจุดที่สะอาดไปยังจุดที่อาจมีเชื้อโรค |
ยานพาหนะปนเปื้อน
|
ลดความใกล้ชิดของรถและสุกร, ขัดยางล้อรถ, และขับผ่านจุดแช่น้ำยาฆ่าเชื้อ |
อาหารสุกร |
ซื้ออาหารสุกรจากแหล่งที่ไว้ใจได้ ตรวจดูจุดที่ถูกหนูแทะเจาะและทำลายอาหารที่ปนเปื้อน |
น้ำ |
หลีกเลี่ยงแหล่งน้ำเปิดเมื่อเป็นไปได้ ผันน้ำออกจากบริเวณฟาร์ม |
การใช้ความร้อนหากทำอย่างถูกต้องจะเป็นวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการทำให้เชื้อไวรัสตาย จากการศึกษาหนึ่งในปี 1967 พบว่าเชื้อไวรัส ASFV สามารถอยู่รอดได้ 11-22 วันที่อุณหภูมิ 37°C แต่ที่อุณหภูมิสูงกว่าจะทำให้เชื้อไวรัสตายเร็วขึ้น โดยเชื้อไวรัสอยู่รอดได้เพียง 1 ชั่วโมงที่ อุณหภูมิ 56°C และอยู่รอดได้ 15 นาทีที่อุณหภูมิ 60°C (Mazur-Panasiuk et al., 2019) องค์การFAO จึงแนะนำให้ปรุงอาหารสัตว์ที่อาจมีการปนเปื้อนเป็นเวลา 30 นาทีที่อุณหภูมิ 70°C (Beltrán-Alcrudo et al., 2017) ซึ่งนำไปใช้ได้กับอาหารสุกรที่เป็นเศษอาหาร ที่ปัจจุบันถือเป็นตัวการหลักในการแพร่กระจายของไวรัส
การป้องกันในชุมชน
คงเป็นไปไม่ได้ที่จะปิดกั้นทุกจุดในชุมชนที่อาจเป็นช่องทางเข้ามาของเชื้อไวรัส แต่ถ้าชุมชนสามารถตกลงยอมรับแนวทางพื้นฐานบางประการร่วมกัน ก็อาจช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสหรือลดการแพร่กระจายลงได้เพียงพอ
หัวข้อที่อาจใช้ในการอภิปรายในชุมชน:
- การเลี้ยงหมูแบบกักบริเวณ
- การแยกสัตว์ฟันแทะ สุนัข และสัตว์อื่น ๆ ออกจากบริเวณเลี้ยงหมู
- การป้องกันคนไม่มีส่วนในงานไม่ให้ไปที่คอกหมู
- การรักษารองเท้าให้สะอาดปราศจากมูลสัตว์
- การจัดการหมูป่าเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ
- การห้ามเคลื่อนย้ายสุกรเข้าหรือออกจากพื้นที่ (โดยเฉพาะสุกรที่ตายจากโรค)
- การจัดซื้อ การจัดเก็บ และการขายอาหารสัตว์ในลักษณะที่ปลอดภัยทางชีวภาพ
สิ่งสำคัญอันดับแรกคือการตกลงในการกักกันสุกร มีการศึกษาหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ได้พิจารณาขั้นตอนเริ่มแรกในการจัดการกับเชื้อไวรัสนี้ในประเทศติมอร์ - เลสเตที่มีการปฏิบัติความปลอดภัยทางชีวภาพน้อยมาก การศึกษานี้แสดงให้เห็นการสูญเสียที่เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในสุกรที่ไม่มีรั้วกั้นมากกว่าในหมู่สุกรที่เลี้ยงในรั้วกั้น (Barnes et al., 2020) การพูดคุยแลกเปลี่ยนระดับชุมชนดังกล่าวอาจเกี่ยวข้องกับคนกลุ่มเล็กหรือคนกลุ่มใหญ่ และอาจเป็นไปได้หลายรูปแบบ ชุมชนแต่ละแห่งแตกต่างกันและพบกับความท้าทายที่แตกต่างกัน แต่การสนทนาและความเห็นพ้องต้องกันเป็นกุญแจสำคัญในการป้องกันเชื้อไวรัส ASFV ไม่ให้เข้ามาในชุมชนและชะลอการแพร่กระจาย
ของโรคได้
ที่ผ่านมาเชื้อไวรัส ASFV แพร่กระจายได้ง่ายจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งในทวีปเอเชีย เป็นที่สงสัยว่าการลักลอบนำเข้าผลิตภัณฑ์จากสุกรข้ามพรมแดนถือเป็นพาหะสำคัญสำหรับการแพร่กระจายนี้ และรัฐบาลหลายประเทศได้ดำเนินการอย่างจริงจังในเรื่องนี้ เพื่อร่วมมือกับความพยายามนี้ เราจึงควรตระหนักและปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของรัฐบาลในประเทศในการรายงานและการจัดการสุกรที่ติดเชื้อ
โอกาสการดำเนินการของเกษตรกรรายย่อย
เกษตรกรรายย่อยยังคงเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการผลิตเนื้อสุกรในเอเชีย “เกษตรกรรายย่อย” หรือ “ผู้ดำเนินกิจการขนาดเล็ก” โดยทั่วไปหมายถึงผู้ดำเนินกิจการที่เลี้ยงสุกรตั้งแต่ 1 ถึง 100 ตัว (Nga et al., 2015; FAO, 2010) การศึกษาในปี 2015 ในประเทศเวียดนามพบว่าเกษตรกรรายย่อยผลิตเนื้อหมูคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 80% ของเนื้อหมูที่บริโภคภายในประเทศ (Nga et al., 2015) ในประเทศจีน ราคาเนื้อหมูพุ่งสูงขึ้นเนื่องจากการสูญเสียจำนวนสุกรไปกว่าครึ่งหนึ่งของสุกรที่มีในประเทศ (Shneider, 2020) การเพิ่มขึ้นของราคานี้ เช่นเดียวกับในประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาจเป็นโอกาสที่ดีสำหรับการดำเนินกิจการเลี้ยงสุกรในที่ที่ยังคงปราศจากโรคนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ผลิตที่จำหน่ายเนื้อสุกรในท้องถิ่น ในบางประเทศขณะนี้มีการกำหนดข้อจำกัดระหว่างประเทศแล้ว (Shen & Look, 2020) จึงทำให้ตลาดในท้องถิ่นเป็นแหล่งเนื้อหมูที่มีเสถียรภาพมากขึ้น
การเพิ่มขึ้นของราคาเนื้อหมูอาจยังเป็นการเปิดโอกาสให้เนื้อไก่ เนื้อปลา เนื้อวัว และเนื้อสัตว์อื่นๆ ได้เติมเต็มความต้องการของโปรตีน ผู้ผลิตรายย่อยจำนวนมากอาจพิจารณาเพิ่มความหลากหลายในการเลี้ยงสัตว์เพื่อลดความเสี่ยงและใช้โอกาสจากความต้องการโปรตีนสูงในตลาด
สรุป
โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรก่อให้เกิดความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งที่เกษตรกรรายย่อยในทวีปเอเชียได้เคยเผชิญมา ที่นำมาซึ่งความเป็นไปได้ในการสูญเสียและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป มีการศึกษามากมายระบุว่าเกษตรกรรายย่อยและเกษตรกรที่มีสวนหลังบ้านคือตัวการหลักในการแพร่ระบาดของโรคนี้ และเป็นผู้มีความเสี่ยงอย่างยิ่งต่อผลกระทบที่เกิดจากโรค (Nga et al., 2015; FAO, 2020; OIE, 2020; Barnes et al, 2020) การระบาดหลายครั้งในภูมิภาคนี้ได้รับการจัดประเภทเป็นกลุ่ม "สวนหลังบ้าน" โดยรัฐบาลของตน (ภาพที่ 3) ซึ่งเป็นช่องว่างให้มีข้อตำหนิและความเป็นไปได้ที่จะรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล มีการออกกฎหมายที่เอื้อต่อการดำเนินงานการเลี้ยงสุกรขนาดใหญ่ทั่วไปที่มีความสามารถมากกว่าในการดำเนินมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพตามที่ต้องการ กฎข้อบังคับเหล่านี้อาจเป็นข้อจำกัดสำหรับอุตสาหกรรมเนื้อหมูที่มาจากเกษตรกรรายย่อยหากไม่มีการดำเนินการใดๆ จึงจำเป็นอย่างยิ่งในเวลานี้สำหรับชุมชนที่จะเห็นคุณค่าและพึ่งพาการเลี้ยงสุกรแบบบูรณาการในระบบขนาดเล็กในระดับชุมชนเพื่อหยุดการแพร่กระจายของโรคนี้
อ้างอิง
Barnes, T. S., Morais, O., Cargill, C., Parke, C. R., Urlings, A. (2020). First Steps in Managing the Challenge of African Swine Fever in Timore-Leste. One Health. Vol (10). https://doi.org/10.1016/j.onehlt.2020.100151.
Beltrán-Alcrudo, D., Arias, M., Gallardo, C., Kramer, S. & Penrith, M.L. (2017). African Swine Fever: Detection and Diagnosis – A Manual for Veterinarians. FAO Animal Production and Health Manual No. 19. Food and Agriculture Organization of the United Nations (FAO).
Birmingham, M., Quesenberry P. (2000). Where there is no Animal Doctor. Seattle, WA. USA: Christian Veterinary Mission.
Cunningham, M., Latour, M. A., & Acker, D. (2005). Animal Science and Industry. Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.
Food and Agriculture Organization of the United Nations. (2020). FAOSTAT Statistical Database. Retrieved October 10, 2020, from http://www.fao.org/faostat/en/#data/QV/visualize
Food and Agriculture Organization of the United Nations. (2010). Good Practices for Biosecurity in the Pig Sector- Issues and Options in Developing and Transition Countries. FAO Animal Production and Health Manual. Retrieved on Sept 12, 2020, from: http://www.fao.org/3/a-i1435e.pdf
Iowa State University. (2020). African Swine Fever Technical Fact Sheet. The Center for Food Security and Public Health. Retrieved August 29, 2020, from http://www.cfsph.iastate.edu/DiseaseInfo/disease.php?name=african-swine-fever&lang=en
Mazur-Panasiuk, N., Żmudzki, J., Woźniakowski, G. (2019). African Swine Fever Virus – Persistence in Different Environmental Conditions and the Possibility of its Indirect Transmission. Journal of Veterinary Research. http://doi.org/10.2478/jvetres-2019-0058
Nga, N.T.D, Lapar, L., Unger, F., Hung, P. V., Ha, D. N., Huyen, N. T. T., Long, T. V., Be, D. T. (2015). Household Pork Consumption and Behavior in Vietnam: Implications for Pro-Smallholder Pig Value Chain Upgrading. Conference on International Research on Food Security, Natural Resource Management and Rural Development. Retrieved August 21, 2020 from https://www.researchgate.net/publication/302904120 Household pork consumption behavior in Vietnam Implications for pro-smallholder pig value chain upgrading
Niederwerder, M. C., Dee, S., Diel, D. G., Stoian, A. M., Constance, L. A., Olcha, M., Petrovan, V., Patterson, G., Cino-Ozuna, A.G., & Rowland, R. R. (2020). Mitigating the risk of African Swine Fever Virus in Feed with Anti-Viral Chemical Additives. Transboundary and Emerging Diseases. https://doi.org/10.1111/tbed.13699
OIE. (2020). Global Situation of African Swine Fever. Retrieved August 16, 2020, from https://www.oie.int/en/disease/african-swine-fever/
OIE. (2019). African Swine Fever. Retrieved August 1, 2020, from https://www.oie.int/en/disease/african-swine-fever/
Schneider, M. (2020, February 17). The Pork Fix: African Swine Fever and the Opportunity of Crisis in China’s Pork Industry. [Video file]. Retrieved August 01, 2020, from https://ecommons.cornell.edu/handle/1813/69876
Shen, F., Look, C. (2020). African Swine Fever: China Bans German Pork Over Fears of Deadly Hog Disease. Bloomberg Business. Retrieved September 12, 2020, from https://www.bloomberg.com/news/articles/2020-09-12/china-bans-german-pork-imports-over-swine-fever-cases