จาก: ECHO Asia News


Biopest 01

สารธรรมชาติที่ใช้ในการจัดการศัตรูพืช

เชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma)

เชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma harzianum) เป็นเชื้อราชั้นสูงที่เติบโตได้ดีในดิน ซากพืช ซากสัตว์ หรือวัสดุอินทรีย์ในธรรมชาติ เชื้อรานี้ประกอบไปด้วยเส้นใยสีขาวและขยายพันธุ์ผ่านทางสปอร์ เมื่อนำมาเลี้ยงในจานเพาะจะสามารถมองเห็นเส้นใยสีขาวและสปอร์สีเขียว ในสายพันธุ์อื่นสปอร์อาจเป็นสีขาวหรือสีเหลือง เชื้อราไตรโคเดอร์จัดเป็นเชื่อรา ปฏิปักษ์ที่สามารถควบคุมโรคพืชหลายชนิดที่อาศัยในดินด้วยวิธีการเบียดเบียนหรือเป็นปรสิต การแข่งขันหรือแย่งอาหารที่เชื้อโรคต้องการ นอกจากนี้ เชื้อราไตรโคเดอร์มายังสามารถช่วยละลายแร่ธาตุในดินให้อยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ได้ง่าย จึงเป็นการช่วยส่งเสริมให้พืชเจริญเติบโต อีกทั้งยังสร้างภูมิคุ้มกันให้พืชต้านทานโรคทุกอย่างที่เกิดจากเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย

Biopest 02

วิธีที่เชื้อราไตรโคเดอร์มาต่อสู้กับโรคพืชมีดังนี้:

  • แข่งขันกับเชื้อโรคพืช: ความสามารถของไตรโคเดอร์มาที่เติบโตสร้างเส้นใยสีขาวและสปอร์อย่างรวดเร็ว ทำให้ไตรโคเดอร์มาแข่งขันและเอาชนะเชื้อโรคหรือจุลินทรีย์อื่นๆที่อยู่บริเวณเดียวกัน นอกจากนี้ไตรโคเดอร์มายังสามารถรบกวนกิจกรรมต่างๆของเชื้อโรคและทำให้ความรุนแรงของเชื้อโรคลดลง
  • การเป็นปรสิตต่อเชื้อโรค: เส้นใยสีขาวของไตรโคเดอร์มาสามารถพันรัดและทิ่มแทงสิ่งมีชีวิตอื่นได้ รวมถึงเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคพืช และไตรโคเดอร์มายังสามารถทำลายโครงสร้างที่เป็นอันตรายของเชื้อราที่สร้างขึ้นเพื่อขยายพันธุ์หรือมีชีวิตอยู่ได้จนถึงฤดูปลูก
  • ยับยั้งหรือทำอันตรายเชื้อโรค: ไตรโคเดอร์มาสามารถสร้างสารปฏิชีวนะ สารพิษและน้ำย่อยหรือเอ็นไซม์เพื่อต่อสู้เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของโรคพืช
  • กระตุ้นให้เกิดการต้านทานโรค: ไตรโคเดอร์มาจะช่วยปกป้องรากพืช ทำให้รากพืชสมบูรณ์แข็งแรง และเพิ่มการต้านทานเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของโรคพืช ส่งเสริมการงอกของเมล็ดและการเติบโตของต้นอ่อน และยังชักนำให้พืชผลิตสารประเภทเอ็นไซม์และโปรตีนเช่น เพนทิลไพเรน (Pentyl Pyrone) และกรดอาร์เซนิค เพื่อกระตุ้นให้พืชเกิดการต้านทานโรค

ประโยชน์ของไตรโคเดอร์มา

ไตรโคเดอร์มาสามารถกำจัดเชื้อโรคต่อไปนี้:

  1. เชื้อรา Pythium spp., ที่เป็นสาเหตุโรคกล้าเน่า, รากและโคนเน่า, และใบเน่าในมะเขือเทศและผักอื่นๆ  
  2. เชื้อรา Phytopthora spp., ที่เป็นสาเหตุของผลและดอกร่วงในลำไย ลิ้นจี่และทุเรียน โรครากเน่าโคนเน่าในพริก ทุเรียน ส้ม มะนาว พริกไท แตงโม แตงกวา มะเขือเทศและกล้วย   
  3. เชื้อรา Sclerotium spp., ที่เป็นสาเหตุของโรครากเน่าโคนเน่า, โรคกล้าไหม้ ราเม็ดผักกาด โรคเหี่ยวใบในพืชผลชนิดต่างๆ รวมถึง มะเขือเทศ สตรอเบอร์รี่ และมันฝรั่ง
  4. เชื้อรา Rhizoctonia spp., ที่เป็นสาเหตุของโรครากเน่าโคนเน่า, กล้าเน่า และใบติดหรือใบไหม้ในทุเรียน
  5. เชื้อรา Colletotrichum spp., ที่เป็นสาเหตุของโรคแอนแทรคโนสในมะม่วง องุ่น ฝรั่ง พุทรา ชมพู่ มะละกอ พริก หอมหัวใหญ่ หอมแบ่ง หอมแดง กระเทียมและมันฝรั่ง
  6. เชื้อรา Alternaria spp., ที่เป็นสาเหตุของโรคใบจุดเน่าในกระหล่ำ เคล ผักกาดขาว กระหล่ำดอก บร็อคโคลี่ สตรอเบอร์รี่ และพริก
  7. เชื้อรา Fusarium spp., ที่เป็นสาเหตุของโรคใบไหม้ในไม้ผลและพืชผักต่างๆ

 

เชื้อราบิวเวอเรีย (Beuvaria)

หลักการของการทำเกษตรแบบยั่งยืนนั้นส่งเสริมการลดการใช้สารเคมีเพื่อควบคุมศัตรูพืช ซึ่งจะช่วยลดการใช้เงินต้นทุนในฟาร์ม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหาวิธีอื่นในการควบคุมศัตรูพืช ในธรรมชาติมีวิธีธรรมชาติมากมายในการรักษาสมดุลทางนิเวศวิทยา ตัวอย่างเช่น การแพร่กระจายของโรคเป็นวิธีหนึ่งในการควบคุมชีวิตบนโลกใบนี้ โรคที่แพร่กระจายโดยเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัสมักมีประสิทธิภาพในการลดหรือกำจัดประชากรแมลงบางชนิด อย่างไรก็ตาม แบคทีเรียและไวรัสต่างก็มีข้อจำกัด คือแมลงจะต้องกินทั้งแบคทีเรียและเชื้อราเข้าไปก่อนที่แบคทีเรียและเชื้อราจะทำหน้าที่ของมันได้ ในการทำการเกษตรนั้น ต้องมีการต่อสู้กับศัตรูพืชหลายชนิดและในทุกระยะของการเติบโตของพืชที่ปลูก เชื้อรามีข้อดีเหนือเชื้อโรคอื่นๆ กล่าวคือ พวกมันมีการเข้าทำลายผ่านผนังลำตัว จึงสามารถฆ่าแมลงได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นแมลงที่ดูดน้ำเลี้ยงจากต้นพืช เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ ไรขาว เพลี้ยแป้ง มวน หรือแมลงที่กัดกินพืช เช่น ด้วงและหนอนผีเสื้อ หรือแม้แต่แมลงมากมายที่อาศัยอยู่ในดิน

บทบาทของเชื้อราบิวเวอเรียในการควบคุมศัตรูพืช

เชื้อราบิวเวอเรีย (Beauveria bassiana) มีลักษณะเป็นเส้นใยสีขาว สามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจนเมื่อโตในวัสดุเพาะ หรืออาหารวุ้น กลไลการเข้าทำลายของเชื้อราบิวเวอเรียเกิดขึ้นเมื่อสปอร์ของมันสัมผัสกับตัวแมลง ภายใน 12 ชั่วโมงหลังจากการสัมผัส ถ้ามีความชื้นและอาหารที่เหมาะสมบนตัวของแมลง สปอร์ก็จะงอกเส้นใยแทงทะลุผ่านผนังลำตัวเข้าไปในตัวแมลง ในระยะนี้ แมลงจะเริ่มอ่อนแอ เหมือนคนป่วย ไม่อยากอาหาร และตายไปในที่สุด เมื่อแมลงตาย สปอร์ของเชื้อราจะเจาะทะลุตัวแมลงออกมาข้างนอกอีกครั้ง การเกิดผลเร็วหรือช้าขึ้นอยู่ความสามารถของบิวเวอเรียในการเจาะผนังลำตัวของแมลง

Biopest 03

เชื้อราบิวเวอเรียสามารถเข้าทำลายแมลงได้ใช้เวลาเห็นผลชัดเจนภายใน 3-7 วัน การพ่นเชื้อราบิวเวอเรียให้ทั่วบริเวณที่มีแมลงศัตรูพืชเป้าหมาย จะช่วยให้สปอร์ของเชื้อราสัมผัสกับแมลงจำนวนมากและเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการลดปริมาณของแมลงลงได้ โดยไม่เป็นอันตรายต่อแมลงตัวห้ำ ตัวเบียน เช่น Encarsia spp., ซึ่งเป็นแตนเบียนจากสกุล Aphelinidae หรือกลุ่มตัวห้ำพวกแมลงช้างปีกใส (Chrysopa) ที่กินแมลงศัตรูพืชขนาดเล็ก เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง ไข่ผีเสื้อ เป็นที่สังเกตว่าเชื้อราบิวเวอเรียเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับธุรกิจการค้าและผู้ผลิตทางการเกษตร เนื่องจากเชื้อรานี้สามารถผลิตได้ง่ายผ่านกระบวนการหมักหรือเลี้ยงในอาหารเพาะเชื้อ เพื่อให้ได้สปอร์ที่ทนกับแสงอัลตราไวโอเลต อุณภูมิ และความชื้นสูงได้

 

เชื้อแบคทีเรีย บาซิลัส ทูริงเยนซิส (Bacillus thunringiensis)

เชื้อแบคทีเรีย บาซิลัส ทูริงเยนซิส (Bacillus thunringiensis) เรียกย่อๆว่า บีที (Bt) เป็นจุลินทรีย์ที่มีฤทธิ์ทำลายหนอนหรือดักแด้หลายชนิด เชื้อนี้ประกอบด้วยอนุภาคที่มีชีวิต (สปอร์) และผลึกพิษของแบคทีเรีย เมื่อหนอนกินเชื้อบีทีนี้เข้าไป สารพิษที่บีทีผลิตออกมากจะทำให้ระบบย่อยของหนอนทำงานช้าลง ทำให้มีอาการชักกระตุก เป็นอัมพาต และตายภายใน 1-2 วัน อย่างไรก็ตาม บีทีไม่เป็นอันตรายสำหรับมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม

 

 

ตัวอย่างของหนอนที่เชื้อบีทีทำลายได้

Biopest 04aBiopest 04bBiopest 04cBiopest 04dBiopest 04e

1. หนอนใย 2. หนอนคืบ 3. หนอนผีเสื้อกะหล่ำ 4. หนอนผีเสื้อกะหล่ำ 5. หนอนกระทู้

 

 

 

เชื้อบีที ออกฤทธิ์อย่างไร?

เชื้อบีที ออกฤทธิ์แตกต่างจากสารเคมีกำจัดแมลงทั่วไป คือมันไม่ฆ่าแมลงแบบเฉียบพลัน แมลงจะไม่ตายทันทีภายหลังการฉีดพ่น เชื้อบีทีจะเป็นพิษต่อระบบทางเดินอาหาร เมื่อได้รับเชื้อบีทีเข้าไป บีทีก็จะเข้าไปในระบบทางเดินอาหาร

Biopest 05

เทคนิคการใช้เชื้อ บี ที

1. ควรใช้เชื้อ บี ที ในขณะที่หนอนยังตัวเล็ก

2. ควรพ่น บี ที ในตอนเย็นเพื่อเลี่ยงแสงแดด และมีความชื้นมากกว่า

3. ควรผสมสารจับใบทุกครั้ง เพื่อช่วยให้ บี ที ติดกับส่วนต่าง ๆ ของพืชได้นานยิ่งขึ้น

4. ควรปรับหัวฉีดให้เกิดละอองน้ำออกมาให้มากที่สุด เพื่อพ่นให้ทั่วบริเวณให้มากที่สุด

5. ควรพ่น บี ที ทุก 3-5 วัน ติดต่อกัน 2-3 ครั้ง ในช่วงที่หนอนฟักตัวและกำลังระบาด

6. ไม่ควรผสมเชื้อ บี ที กับสารป้องกันกำจัดโรคพืช โดยเฉพาะสารที่ออกฤทธิ์ทำลายเชื้อแบคทีเรีย เช่น สาร

ปฏิชีวนะ และคอปเปอร์ออกไซด์ เป็นต้น และไม่ควรผสมเชื้อ บี ที ในน้ำที่เป็นด่าง

* ควรเก็บภาชนะที่ผสมเชื้อ บี ที ไว้ให้พ้นจากแสงแดด และความร้อน

ข้อดีของการใช้บีที

1. บีที จะมุ่งเป้าไปที่แมลงที่คุณไม่ต้องการ โดยไม่มีผลกระทบต่อแมลงชนิดอื่นๆที่ไม่ต้องการกำจัด เช่นตัวห้ำตัวเบียนที่มีประโยชน์

2. บีทีปลอดภัยต่อพืช สัตว์ มนุษย์ ทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค

3. บีที ไม่มีสิ่งตกค้าง หลังจากฉีดพ่นต้นพืชด้วยบีทีแล้ว คุณสามารถนำพืชมาบริโภคได้โดยไม่ต้องเสียเวลารอก่อนที่จะเก็บเกี่ยว

4. บีที มีประสิทธิภาพสูงเมื่อเปรียบเทียบกับจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ

ข้อควรคำนึง

ไม่ควรใช้เชื้อ บี ที กับแปลงหม่อนสาหรับเลี้ยงไหมและไม่ควรฉีดพ่น บี ที ใกล้กับแหล่งที่เลี้ยงไหม เพราะ บี ที

จะเป็นอันตรายต่อหนอนไหม

 

เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ซับทีลิส (Bacillis Subtilis)

เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ซับทีลิส (Bacillis Subtilis) หรือชื่อย่อ บีเอส เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ที่สามารถปกป้องพืชจากโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด นอกจากนี้ เชื้อบีเอส ยังเป็นจุลินทรีย์ที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ และไม่มีสิ่งตกค้างที่เป็นพิษ เชื้อบีเอสเป็นเชื้อแบคทีเรียที่ปกติจะอาศัยอยู่ภายในพืชโดยไม่ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อพืชที่มันอาศัยอยู่ มีคุณสมบัติที่เป็นเชื้อจุลินทรีย์มีประโยชน์ที่มีศักยภาพในการลดอัตราการเกิดโรคพืช โดยเชื้อบีเอสสามารถ

1. เข้าทำลายเชื้อโรคพืชโดยตรง

2. สร้างสารปฏิชีวนะได้หลายชนิด

คุณสมบัติเด่นของเชื้อบีเอสคือ มีความสามารถที่เหนือกว่าในการแย่งธาตุอาหารได้ดีกว่าจุลินทรีย์ชนิดอื่น ๆ ในสภาพแวดล้อมที่ขาดแคลนธาตุอาหาร

 

 

อาการของโรคและเชื้อสาเหตุที่ใช้เชื้อบาซิลลัน ซับทีลิสควบคุม

อาการของโรค

เชื้อราและแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุ

โรครากเน่าและโคนเน่า

Fusarium spp.                 Sclerotium sp.

Phytophthora spp.         Rhizoctonia sp.

Pythium sp.

โรคเน่าเละ

Erwinia spp.

โรคเน่า

Pseudomonas solanacearum

โรคใบแห้ง

Xanthomonas spp.

โรคแคงเคอร์

Xanthomonas spp.

โรคใบจุด

Cercospora spp.              Septoria sp.

โรคแอนแทรคโนส

Colletotrichum sp.

 

การใช้เชื้อบีเอส

พืช

โรคที่ป้องกันและกำจัด

อัตราการใช้

พืชตระกูลกะหล่ำ ได้แก่ คะน้า กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ, ผักกาดขาว, เขียวปลี, ฯลฯ

โรคใบเหลืองกรอบ ที่เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรียม โรคใบทองที่เกิดจากแบคทีเรียแซนโทโมแนส และโรคใบจุดที่เกิดจากเชื้อราอัลเทอนาเรีย

ใช้อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร รดหลุมปลูก และฉีดพ่นอีกทุก 7-10 วัน

พืชหัว ได้แก่ หอม กระเทียม ขิง ข่า มันฝรั่ง เผือก ฯลฯ

โรคหัวเน่า-เละ ที่เกิดจากแบคทีเรีย เช่น เออร์วิเนีย โรคใบจุดสีม่วง ที่เกิดจากเชื้อราอับเทอนาเรีย

ใช้อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร  รดหลุมปลูก และฉีดพ่นอีกทุก 7-10 วัน

พืชตระกูลแตง ได้แก่แตงโม แตงกวา บวบ มะระ ฯลฯ

โรคเถาแตก-โคนเน่า ที่เกิดจากเชื้อราหลายชนิด เช่น ไฟทอฟเทอร่า พิเทียม ฟิวซาเรียม ฯลฯ

ใช้อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร  รดหลุมปลูก และฉีดพ่นอีกทุก 7-10 วัน

พืชสวนอื่นๆ เช่น ยาสูบ มะเขือเทศ พริก หน่อไม้ฝรั่ง ฯลฯ  

โรคเหี่ยวเขียว ที่เกิดจากแบคทีเรียไรโซโทเนีย โรคแอนแทรคโนส และ โรคใบจุด 

ใช้อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร  รดหลุมก่อนปลูก และฉีดพ่นอีกทุก 7-10 วัน

ไม้ผล ได้แก่ ทุเรียน ส้ม ลำไย ฝรั่ง ฯลฯ

โรคดอกเน่า ดอกร่วง ที่เกิดจากเชื้อราโบไทรโอดิโพลเดีย

ใช้อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร  ฉีดพ่นอีกทุก 7-10 วัน

 

 

การใช้วิธีธรรมชาติเพื่อควบคุมแมลง

 

สะเดา                                 Azadirachta indica Juss. Var. Sinensis ValetonBiopest 06

วงศ์                                     Meliaceae

ลักษณะทั่วไป                       สะเดาเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 5-10 เมตร ลำต้นมีเปลือกหนาสีเทาหรือสีน้ำตาล ทุกส่วนของต้นจะมีรสขม เนื่องจากมีสาร นิมบิดิน (Nimbidin) ที่ไม่เป็นพิษ ดอกเป็นช่อออกที่ปลายกิ่ง จะออกเมื่อใบแก่ร่วงไปแล้ว กลีบดอกมีสีขาว มีกลิ่นหอม ต้นสะเดาจะออกดอกในเดือนธันวาคม ถึงมีนาคม Biopest 07

ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์                เมล็ด หรือกิ่งตอน

ส่วนที่ใช้เป็นประโยชน์           ใบ ผล เปลือก และเมล็ดสามารถนำมาใช้เพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช               

สารสำคัญ                            - เปลือก มีสารประกอบเคมีคือ Nimbin และ Desacetylnimbin

                                           - ใบ มี  Flavonol Quercetin

                                           - ผล มีสารรสขมที่สุด คือ Bakayanin

                                           - ดอก มี Glycoside Nimbosterin (0.005%), น้ำมันหอมระเหยรสเผ็ดจัด (0.5%), สารเคมี Nimbecetin และ Nimbosterol, กรดไขมัน และสารที่มีรสขม

                                           - เมล็ด ประกอบด้วยกรด Margosic acid หรือ น้ำมันสะเดา” 45% มี Nimbin, Numbidin, และสารประกอบเคมี Azadirachtin ที่ฆ่าแมลงได้ ในเมล็ดประกอบไปด้วย Azadirachtin ประมาณ 0.4-1% โดยสะเดาอินเดียมี 7.6 มก./กรัม โดยเฉลี่ย ส่วนสะเดาไทยมี 6.7 มก./กรัม โดยเฉลี่ย และสะเดาฟิลิปปินส์ (Azadirachta Excelsa) มี 4.0 มก./กรัม โดยเฉลี่ย

ประโยชน์                             ประสิทธิภาพการทำงานของสะเดาในการยับยั้งแมลงมีในหลายรูปแบบ คือเป็นได้ทั้งสารฆ่าแมลง สารไล่แมลง ทำให้แมลงไม่อยากอาหาร และหยุดการเจริญเติบโตของแมลง ตัวอย่างเช่น สะเดาสามารถทำให้ตัวหนอนไม่สามารถลอกคราบเจริญเติบโตต่อไป (ไม่สามารถพัฒนาไปสู่ระยะเจริญวัยต่อไป ทำให้หนอนตายและติดอยู่ข้างใน) เนื่องจากสารออกฤทธิ์มีผลต่อการสร้างฮอร์โมนขึ้นใหม่ ทำให้การผลิตไข่และปริมาณของไข่ลดน้อยลง สารประกอบเคมีชื่อว่าอาซาดิแรคทิน (Azadirachtin) จะทำงานได้ผลดีกับหนอน เช่น หนอนใยผัก หนอนใยกะหล่ำปลี หนอนเจาะยอดคะน้า หนอนชอนใบ หนอนกระทู้ หนอนหนามเจาะสอฝ้าย หนอนหลาดหอม หนอนกอ และหนอนบุ้งปอแก้ว แต่จะใช้ไม่ได้ผลกับมวนแดง หมัดกระโดดตัวเต็มวัย ด้วงปีกแข็ง มวนเขียว หนอนเจาะฝักถั่วเขียว เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย สะเดาสามารถใช้ป้องกันเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียได้

 

 

 

ยาสูบ                                Nicotiana tabacum L.  Biopest 08

วงศ์                                   Solanaceae

ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์              เมล็ด

ส่วนที่ใช้ประโยชน์               ใบ

สารสำคัญ                           ใบยาสูบประกอบไปด้วยกรดอินทรีย์ (เช่น Malic Acid, Citric Acid, และ Oxalic Acid), สารพวก Polyphenols เช่น Rutin Acid, Chlorogenic Acid, และ Quercitrin และน้ำมันหอมระเหย Alcohol และ Nicotine 

ประโยชน์                            เพิ่มการป้องกันและกำจัดหนอนกอ หนอนกระหล่ำ หนอนชอนใบ หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนผีเสื้อ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ ไรต่างๆ และด้วงหมัดกระโดด นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ควบคุมและปกป้องพืชจากโรคต่างๆได้

วิธีการใช้                            ผสมยาสูบ 1 กก.กับน้ำ 2 ลิตร แช่ไว้ 1 คืน กรองเอาแต่น้ำแล้วเติมน้ำลงไปอีก 3 ปี๊บ นำไปฉีดพ่น โดยไม่ให้ละอองยาสัมผัสตัว หลังจากฉีดพ่น 3-4 วัน จึงสามารถเก็บพืชผักไปบริโภคได้ปกติ

 

 

 

ตะไคร้หอม                        Cymbopogon nardus Rendle.Biopest 09

วงศ์                                   Gramnineae

ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์              ราก

ส่วนที่ใช้ประโยชน์               ใบและลำต้น

สารสำคัญ                           ตะไคร้หอมประกอบไปด้วย Methyl Eugenol, Verbena Oil, Lemon Oil, และ Indian Molissa Oil

ประโยชน์                            ตะไคร้สามารถนำมาใช้ป้องกันหนอนกระทู้ หนอนใยผัก ยุง และแมลงสาบ สามารถใช้ล่อแมลงวันทองตัวผู้ และขับไล่มอดข้าวเปลือก

วิธีใช้                                  1. น้ำมันของต้นตะไคร้หอมใช้ผสมกับน้ำมันอื่นๆแล้วนำไปฉีดพ่นเพื่อไล่แมลงศัตรูพืช

                                         2. บดใบสดที่แก่จัด 4 กก. ผสมกับหัวข่า 4 กก. และใบสะเดาสด 4 กก. ให้ละเอียด จากนั้นแช่น้ำปริมาณ 36 ลิตร (2 ปี๊บ) ทิ้งไว้ค้างคืน กรองเอาเฉพาะน้ำเพื่อเป็นหัวเชื้อ เวลาใช้ ให้นำหัวเชื้อ 10 ช้อนแกงผสมกับน้ำ 20 ลิตร ใช้ฉีดพ่นแปลงผัก นาข้าวและสวนผลไม้

                                         3. นำเหง้าและใบตะไคร้หอมมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วบดให้ละเอียดจนได้ปริมาณประมาณ 500 กรัม ผสมกับน้ำ 10 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 1 วัน จากนั้นกรองเอาแต่น้ำ ผสมสารจับใบเช่น น้ำยาล้างจาน หรือแชมพู แล้วนำไปฉีดพ่น

 

 

สาบแร้งสาบกา                 Ageratum conyzoides L. Biopest 10

วงศ์                                  Compositae

ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์             เมล็ด

ส่วนที่ใช้ประโยชน์              ใบและลำต้น

สารสำคัญ                          -

ประโยชน์                          สาบแร้งสาบกาสามารถนำไปกำจัดแมลงศัตรูพืชได้

วิธีการใช้                           บดใบและลำต้นประมาณ 1 กก. ใส่ไว้ในน้ำ 18 ลิตร (1 ปิ๊บ) แช่ค้างคืนไว้  แล้วนำมาฉีดพ่น

 

 

 

หนอนตายหยาก               Stemona collinsae Craib.Biopest 11

วงศ์                                   Stemonaceae

ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์              เหง้า, เมล็ด

ส่วนที่ใช้ประโยชน์               ราก

สารสำคัญ                           Stemonine

ประโยชน์                            หนอนตายหยากสามารถใช้ควบคุมและป้องกันอันตรายจากเชื้อราและแบคทีเรียได้ และยังใช้ขับไล่แมลงศัตรูพืชอีกหลายชนิด

วิธีการใช้                            บดหรือตำรากของหนอนตายหยากปริมาณ1 กก. แล้วแช่ในน้ำหรือน้ำมันมะพร้าว 18 ลิตร(1 ปี๊บ) หรือแช่ในน้ำมันมะพร้าว นำน้ำหมักมาฉีดพ่นเพื่อฆ่าแมลงและหนอนต่างๆ 

 

 

 

กระเทียม                            Allium sativum L.Biopest 12

วงศ์                                    Liliaceae (Alliaceae)

ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์               หัว

ส่วนที่ใช้ประโยชน์                หัว

สารสำคัญ                           กระเทียมที่นำมาบด หรือในน้ำมันกระเทียม จะมีอัลซิลิน (Allicin) หรือ ไดลิลซัลไฟด์ (Diallyl Sulphide) ประมาณ 0.6-1% ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีกลิ่นฉุนจัด ที่มีกำมะถันอยู่ด้วย 

ประโยชน์                             เพิ่มการป้องกันและควบคุมหนอนกระทู้ผัก เพลี้ยอ่อน เพลี้ยงไฟ ด้วงปีกแข็งต่างๆ รวมถึงโรคราน้ำค้าง และโรคราสนิมในถั่วเหลือง

วิธีใช้                                  1. ใช้กระเทียม1 กก. หั่นเป็นชิ้นเล็ก แช่ในน้ำมันก๊าดหรือน้ำมันเบนซิน ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง จากนั้นเติมน้ำสบู่ปริมาณเล็กน้อยแล้วคนให้เข้ากัน กรองเอาแต่น้ำใส ก่อนนำไปใช้ให้เจือจางด้วยน้ำ 20 เท่า หรือใส่น้ำลงไปประมาณ 100 ลิตร

                                          2. บดกระเทียม 3 หัวใหญ่ให้ละเอียด แช่ในน้ำมันก๊าดประมาณ 2 วัน จากนั้นกรองเอาน้ำออกแล้วผสมกับน้ำสบู่ 1 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากัน ก่อนนำไปใช้ให้เจือจางด้วยน้ำ 10 ลิตร

                                          3. บดกระเทียม 1 กำมือจนละเอียดแล้วแช่ในน้ำร้อนครึ่งลิตรเป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นกรองเอาแต่น้ำออก แล้วผสมน้ำ 4 ลิตรกับน้ำสบู่ครึ่งช้อนโตะลงไป นำไปใช้ฉีดพ่นวันละสองครั้ง ติดต่อกัน 2 วัน ในตอนเช้า

                                          4. บดกระเทียม 2 หัวใหญ่และพริกแห้งป่น 2 ช้อนชาให้ละเอียด แล้วนำไปใส่น้ำร้อน 4 ลิตร เติมน้ำสบู่ลงไปเล็กน้อย คนให้เข้ากันแล้วกรองเอาแต่น้ำไปใช้ สูตรนี้ใช้ได้ผลดีกับหนอนผีเสื้อที่กัดกินผลไม้

                                          5. ใช้กระเทียมแกะกลีบ 1 กำมือ ตากแดดให้แห้งเพื่อนำไปโขลกให้เป็นผง ใช้โรยบนพืชผักที่ถูกแมลงกัดกิน โดยโรยตอนที่พืชผักไม่เปียกน้ำ

 

 

 

ขมิ้นชัน                              Curcuma domestica (Curcuma longa) Biopest 13

วงศ์                                    Zingerberaceae

ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์               เหง้าหรือแง่ง

ส่วนที่ใช้ประโยชน์                เหง้าหรือแง่ง

สารสำคัญ                           Cucurmin และน้ำมันหอมระเหยบางชนิด

ประโยชน์                             ใช้ควบคุมและไล่ศัตรูพืชหลายชนิด เช่น หนอนหลอดหอม หนอนกระทู้ผัก หนอนใยผัก หนอนแมลงวันเจาะต้นถั่ว หนอนเจาะยอดกะหล้ำ หนอนผีเสื้อต่างๆ ด้วงถั่วเขียว ด้วงงวงข้าว ด้วงดำ มอดข้าวเปลือก แมลงวันทอง และไรน้ำ

วิธีการใช้                             1. ผสมเหง้าแก่สดบดละเอียด 500 กรัมกับน้ำ 20 ลิตร แช่ทิ้งไว้ข้ามคืน กรองเอาแต่น้ำออกมาใช้ฉีดพ่นแปลงผัก

                                          2. ผสมขมิ้นบดละเอียด 1 ส่วนกับน้ำปัสสาวะวัว 2 ส่วน กรองเอาแต่น้ำออกแล้วใช้ฉีดพ่นเป็นสารกำจัดแมลงจากธรรมชาติ ถ้าใช้กำจัดหนอน ให้เจือจางด้วยการเติมน้ำอีก 6 เท่า

                                          3. ผสมขมิ้นบดละเอียด 500 กรัมกับน้ำ 2 ลิตรแล้วแช่ไว้ข้ามคืน กรองเอาแต่น้ำออกมาได้สารเข้มข้น นำสารเข้มข้นนี้ผสมกับน้ำ 8 ลิตรนำไปฉีดพ่นแปลงผัก สารละลายนี้ใช้ได้ผลดีในการไล่หนอนใยผักและหนอนหลอดหอม

 

 

 

ดาวเรือง                           Tagetes erecta Linn.Biopest 14

วงศ์                                  Compositae

ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์             เมล็ด กิ่งปักชำ

ส่วนที่ใช้ประโยชน์              ดอก

สารสำคัญ                          ดาวเรืองมีสารประกอบพวก Flavonoid Glycosides คือ Tagetiin (0.1%) และสารเรืองแสงบางชนิด ในส่วนของใบมีสารประกอบเคมีชื่อ Kaempferitrin, ในส่วนของเมล็ดมีน้ำมัน

ประโยชน์                           เพิ่มการป้องกันและควบคุมหนอนใยผัก หนอนผีเสื้อกะหล่ำ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ ด้วงปีกแข็ง แมลงหวี่ขาวแมลงวัน ตั๊กแตน และไส้เดือนฝอย

วิธีการใช้                            นำดอกดาวเรืองมาบดและคั้นเอาน้ำเข้มข้น เมื่อกรองได้น้ำคั้นเข้มข้น 10 ลิตรแล้ว ให้ผสมน้ำสะอาดอีก 10 ลิตร ก่อนนำไปใช้ให้ผสมน้ำสบู่ 1 ช้อนโต๊ะเพื่อเป็นสารจับใบ

 

 

 

ดีปลี                                  Piper longum Linn. Biopest 15

วงศ์                                   Piperaceae

ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์              กิ่งปักชำ         

ส่วนที่ใช้ประโยชน์               ผลดีปลี

สารสำคัญ                           ผลแก่ดีปลีมีอัลคาลอยด์ Piperine (6%), Chavicine และน้ำมันหอมระเหย (1%)

ประโยชน์                            น้ำมันสกัดจากผลแก่ของดีปลีมีประสิทธิภาพในการป้องกันและควบคุมศัตรูพืช เช่น หนอนใยผัก หนอนกระทู้ผัก แมลงศัตรูพืชที่ทำลายข้าวในยุ้งข้าว ด้วง และมอดข้าว 

วิธีการใช้                             นำผลดีปลีแห้ง หนักประมาณ 500 กรัมไปอบที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส แล้วนำไปแช่ในแอลกอฮอล์ 1.5 ลิตร จากนั้นนำไปปั่นให้ละเอียดแล้วทิ้งไว้ข้ามคืนก่อนกรองเอากากออก นำส่วนของเหลวไปฉีดพ่น  

 

 

 

ตะไคร้                               Cymbopogon CitratusBiopest 16

วงศ์                                   Gramineae

ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์              เหง้า   

ส่วนที่ใช้ประโยชน์               ใบและลำต้น

สารสำคัญ                           ตะไคร้ประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหยที่เรียกว่าน้ำมันตะไคร็ หรืออีกชื่อหนึ่งคือน้ำมันเวอร์บีนา (Verbena Oil) หรือน้ำมันโมลิซซ่า อินเดียน (Indian Molissa Oil)

ประโยชน์                            น้ำมันในตะไคร้นี้เป็นพิษต่อยุง แมลงวัน และแมลงชนิดอื่นๆ โดยทำหน้าที่เป็นตัวไล่ที่มีประสิทธิภาพ และยังสามารถนำไปใช้กับเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด

วิธีการใช้                            บดใบและลำต้นประมาณ 1-2 กก.ให้ละเอียด แช่ในน้ำปริมาณ 18 ลิตรไว้ข้ามคืน กรองเอากากออก นำของเหลวไปฉีดพ่นเพื่อไล่ยุงและแมลง

 

 

 

บอระเพ็ด                          Tinospora crispa Miers. Ex Hook. F&Thoms. Biopest 17

วงศ์                                   Menispermaceae

ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์              เมล็ด เถาแก่

ส่วนที่ใช้ประโยชน์               เถา

สารสำคัญ                          บอระเพ็ดมีสารขมชื่อว่า Picroretine  และมีสารจำพวก Diterpenoid ชื่อว่า Tinosporan ที่คล้ายกับ Columbin ที่สกัดได้จากเถาและราก นอกจากนี้ในบอระเพ็ดยังมีสารประเภท Amines คือ N-trans-feruloyltyramine, N-cis-feruloyltyramine, และ มีสารประกอบ Phenolic Glucoside ชื่อว่า Tinotuberide.

ประโยชน์                           บอระเพ็ดสามารถใช้เพื่อป้องกันพืชจากหนอนกอและหนอนกระทู้ต่างๆ และยังใช้เพื่อควบคุมโรคต่อไปนี้ คือ โรคข้าวตายพราย, โรคยอดเหี่ยว), และโรคข้าวลีบ

วิธีการใช้                            1. นำเถาบอระเพ็ด 1 กก.มาบดและแช่น้ำประมาณ 18 ลิตร (1 ปี๊บ) ค้างคืนไว้ นำน้ำที่ได้นี้ไปฉีดพ่นเพื่อฆ่าแมลง

                                         2. สำหรับแปลงปลูกที่ใช้เพาะต้นกล้า ใช้เถาบอระเพ็ด 5 กก.มาตัดเป็นชิ้นเล็ก ตำให้ละเอียด แล้วแช่ในน้ำประมาณ 18 ลิตร (1 ปี๊บ) เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ของเหลวที่ได้จากการแช่นี้สามารถนำไปฉีดพ่นแปลงเพาะกล้า หรืออาจใช้วิธีสับเถาบอระเพ็ดเป็นชิ้นเล็กๆแล้วนำไปหว่านลงบนแปลงเพาะกล้า โดยบอระเพ็ด 1 กก.ใช้สำหรับแปลงเพาะกล้าขนาด 4 เมตร

                                         3. ใช้เถาบอระเพ็ดประมาณ 10 กก.หั่นเป็นท่อนยาวประมาณ 5 นิ้ว หว่านในนาข้าวพื้นที่ 1 ไร่หลังปักดำหรือหว่านข้าวแล้ว 7 วัน และทำอีกครั้งหลังข้าวอายุ 2 เดือน วิธีนี้ใช้ได้ผลดีในการควบคุมหนอนกอและหนอนกระทู้

 

 

 

 

พริกขี้หนู                          Capsicum frutescens Linn.Biopest 18

วงศ์                                  Solanaceae

ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์             เมล็ด   

ส่วนที่ใช้ประโยชน์              ผล, เมล็ด, ดอก, ใบ

สารสำคัญ                          Capsaicin

ประโยชน์                           พริกขี้หนูสามารถป้องกันต้นพืชจากหนอนผีเสื้อกระหล่ำ, เพลี้ย, ด้วงเต่า, มอด, แมลงที่อยู่ในโรงเก็บพืชผล และมด โดยผลสุกของพริกสดสามารถใช้ฆ่าแมลง เมล็ดมีสารฆ่าเชื้อรา ใบและดอกมีสารยับยั้งการเติบโตของไวรัส รวมถึงไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคใบด่างเขียวในพืชวงศ์แตง (Cucumber Green Mottle Mosaic Virus หรือ CGMMV) และไวรัสสาเหตุโรคใบหดในยาสูบ (Tobacco Lead Curl Virus หรือ TLCV)

วิธีการใช้                            นำพริกขี้หนูแห้ง 100 กรัมมาต้มในน้ำ 1 ลิตร จากนั้นตำให้ละเอียด นำไปละลายในน้ำแล้วกรองเอากากออก นำของเหลวที่ได้ไปใส่น้ำสะอาดเพิ่มอีก 18 ลิตร (1 ปี๊บ) ก่อนจะใช้ให้นำไปผสมสารจับใบเช่นน้ำสบู่หรือแชมพู สารละลายนี้สามารถนำไปฉีดพ่นทุกๆ 7 วัน และควรทำการทดลองใช้แต่น้อยๆก่อน เพราะสารละลายที่เข้มข้นเกินไปจะทำให้ใบไหม้ หากพืชใบไหม้ก็ให้ผสมน้ำเพิ่มขึ้นอีก ควรใช้อย่างระมัดระวังเพราะอาจเกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังของผู้ใช้

 

ยี่โถ                                  Nerium indicum Mill. Biopest 19

วงศ์                                  Apocynaceae

ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์             กิ่งตอน, เมล็ด  

ส่วนที่ใช้ประโยชน์              ดอก, ใบ, และลำต้น

สารสำคัญ                          เปลือกของลำต้นและเมล็ดยี่โถมีสาร Glycoside Neriodorin, Neriin, Oleandrin, และ Folinerin ที่มีฤทธิ์คล้ายกับ Digitalis ในเปลือกมีสาร  Glycoside Cortenerin ที่ออกฤทธิ์คล้ายกับ Folinerin

ประโยชน์                           ยี่โถมีประสิทธิภาพในการป้องกันศัตรูพืชหลายชนิดที่กินลำต้นและใบของพืช เช่น ด้วงปีกแข็ง มดชนิดต่างๆ และแมลกินใบต่างๆ ส่วนดอกยี่โถใช้เป็นตัวล่อแมลงวันทองได้

วิธีการใช้                            1. นำดอกและใบ1 กก.มาบดและแช่ในน้ำ 9 ลิตร ปี๊บ) เป็นเวลา 2 วัน กรองเอากากออก แล้วนำน้ำที่ได้ไปฉีดพ่นฆ่าแมลง

                                         2. นำใบและเปลือกของลำต้นมาแช่น้ำอย่างน้อย 30 นาที จากนั้นนำน้ำนั้นไปฉีดพ่นมด แมลงตามลำต้นของไม้ผล

                                         3. นำใบ 40 กรัมมาหั่นฝอย คลุกกับเมล็ดถั่วเหลือง 1 กก. การทำเช่นนี้จะช่วยในการเก็บรักษาเมล็ดถั่วเหลืองได้นาน 6 เดือนโดยไม่มีแมลงมารบกวน

 

 

 

สาบเสือ                            Eupatorium odoratum Linn. Biopest 20

วงศ์:                                 Compositae

ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์             เมล็ด

ส่วนที่ใช้ประโยชน์              ใบและลำต้น

สารสำคัญ                          ลำต้นมีEupatol, Coumarin, 1-Eupatene, Beta-Amyrin, Flavone, และ Salvigenin ในใบมี Ceryl Alcohol, Beta-Sitosterol, Anisic Acid, Trihydric Alcohol, Aannin, Isosa Kuranetin, และ Odoratin.

ประโยชน์                           สาบเสือสามารถใช้เพื่อกำจัดหนอนและเพลี้ยหลายชนิด

วิธีการใช้                            นำต้นและใบมาตากแดดแล้วบดให้ละเอียดเป็นผง นำผงนี้ปริมาณ 400 กรัมไปแช่ในน้ำ 8 ลิตรและทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง สารละลายที่ได้นี้สามารถนำไปฉีดพ่นทุกๆ 7 วัน

 

 

 

 

ขิง                                    Zingiber offcinale Vern. AdrakBiopest 21

วงศ์                                  Zingiberaceae

ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์             เหง้า   

ส่วนที่ใช้ประโยชน์              เหง้า   

สารสำคัญ                          ขิงมีน้ำมันหอมระเหยที่มีสารสำคัญคือ Camphene, Cineol, Pellandrene, Linalool, Zingiberene, Borneol, และสารที่ทำให้ขิงมีรสเผ็ดร้อนคือ Zingerone และ Shogaol

ประโยชน์                          ขิงสามารถใช้เพื่อควบคุมแมลงวันทอง ด้วงถั่วเขียวและแมลงปีกแข็งทั่วไป

วิธีการใช้                           นำเหง้าขิงแก่มาบดให้ละเอียดแล้วแช่น้ำ 1 ลิตรไว้ข้ามคืน จากนั้นใส่น้ำสะอาดเพิ่งไปอีก 10 ลิตร นำน้ำที่ได้ไปฉีดพ่นแปลงผักและไม้ผล 

 

 

 

ข่า                                    Alpinia galanda Sw.Biopest 22

วงศ์                                  Zingiberaceae

ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์             เหง้า   

ส่วนที่ใช้ประโยชน์              เหง้า

สารสำคัญ                          ข่ามีน้ำมันหอมระเหยประกอบด้วย Garangol, Cineole, Pinene, Gingerol, Shogaol, Cineol, Camphor, Cinnamicaldehyde, 1-Acetoxychavicol Acetate

ประโยชน์                           ช่วยเพิ่มการป้องกันและควบคุมด้วงงวงข้าว, มอดแป้ง และแมลงวันทอง

วิธีการใช้                            นำข่า เมล็ดสะเดา และตะไคร้หอมอย่างละ 200 กรัม มาตำด้วยกัน แล้วแช่น้ำปริมาณ 20 ลิตรไว้ข้ามคืน จากนั้นกรองเอาแต่น้ำมาใช้ เจือจางน้ำนี้ด้วยการใส่น้ำ 18 ลิตร (1 ปี๊บ) ที่สามารถใช้ฉีดพ่นฆ่าแมลงในพื้นที่ 1 ไร่

 

 

มะกรูด                              Citrus hystrix DC. Biopest 23

วงศ์                                  Rutaceae

ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์             เมล็ด, กิ่งตอน  

ส่วนที่ใช้ประโยชน์              ใบและผล

สารสำคัญ                          มะกรูดมีน้ำมันหอมระเหยซึ่งประกอบด้วย Pinene, Limonene, Citronellal, และ Citronellyl Acetate

ประโยชน์                           ใบมะกรูดมีสารสำคัญที่ช่วยไล่แมลงวันทองและป้องกันไม่ให้แมลงวันทองมาวางไข่ และยังสามารถควบคุมปริมาณหอยเชอรรี่

วิธีการใช้                            ใบมะกรูดมีส่วนประกอบเป็นน้ำมันหอมระเหยที่มีประโยชน์ ให้นำใบมะกรูดมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก แช่น้ำไว้ 7 วันแล้วนำไปหว่านในนาข้าว

 

อ้างอิง:

ECHOcommunity. https://www.echocommunity.org/en/resources/ce2006be-0f4c-4405-8dd9-2fdb6e4ea250. Accessed 26 July 2022

FAO. https://www.fao.org/pest-and-pesticide-management/ipm/integrated-pest-management/en/. Accessed 26 July 2022.


ภูมิภาค

Asia