This article is from ECHO Asia Note # 33.
โดย ดร.ทาปานี ฮาปาลา (Dr. Tapani Haapala) และคุณมาร์กุ ลิทิเนน (Markku Lyytinen) องค์กรมิชชั่นลูเธอร์แรน อิแวนจิลิคัล ฟินแลนด์ (Finnish Evangelical Lutheran Mission (FELM) กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา
[บรรณาธิการ: ดร.ทาปานี ฮาปาลา มีตาแหน่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์, นักวิชาการเกษตร, ชาวสวนและนักวิจัย ขณะทาการทดลองนี้ท่านทางานในฐานะที่ปรึกษาความมั่นคงด้านอาหารโลกให้กับองค์กรมิชชั่นลูเธอร์แรน อิแวนจิลิคัล ฟินแลนด์ หรือ FELM (Finnish Evangelical Lutheran Mission) และท่านยังเป็นผู้จัดการพัฒนาเขตสาหรับองค์กร FELM ประเทศกัมพูชา คุณมาร์กกุ ลิทิเนนเป็นวิศวกรชาวฟินแลนด์และอาศัยอยู่ที่ประเทศกัมพูชา ท่านสามารถคลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเพาะเห็ดได้จากการนาเสนอการเพาะเห็ดที่บ้านอโลฮาของคุณคีท มิคเคิลสัน (Keith Mikkelson’s presentation on the Aloha House mushroom cultivation)]
คาสาคัญ: เครื่องทาความร้อนพลังงานแสงอาทิตย์, การฆ่าเชื้อ, การเพาะเห็ด
แนวคิดสาคัญ:
- การเพาะเห็ดมักทาในถุงพลาสติกที่บรรจุวัสดุอินทรีย์ โดยต้องผ่านการทาให้ปลอดเชื้อหรือการฆ่าเชื้อก่อนเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของแบคทีเรียหรือเชื้อราอื่นๆ
- การทาให้ปลอดเชื้อ/การฆ่าเชื้อต้องใช้ความร้อนสูง
- การทาให้เกิดความร้อนต้องอาศัยพลังงานในปริมาณมาก และหามาทดแทนไม่ได้
- จาเป็นต้องมีการพัฒนาวิธีการฆ่าเชื้อวัสดุเพาะเห็ดที่ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- วิธีที่นาเสนอในบทความนี้ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ ที่ไม่ต้องซื้อหาและไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
บทย่อ
เห็ดต่างๆ เช่นเห็ดนางรม(Pleurotus ostreatus) มักทาการเพาะในถุงพลาสติกที่บรรจุเต็มด้วยวัสดุธรรมชาติ รวมถึงวัสดุเหลือใช้ในฟาร์ม โดยวัสดุเพาะเห็ดนี้ต้องผ่านการทาให้ปลอดเชื้อ (ด้วยความร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่า 100°C) หรือฆ่าเชื้อ (ด้วยความร้อนที่อุณหภูมิ 60°C หรือสูงกว่า) เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรค ไวรัส และสปอร์เชื้อรา แต่อย่างไรก็ตามการทาให้ปลอดเชื้อ (Sterilization) และ การฆ่าเชื้อ (Pasteurization) เป็นเรื่องที่ทาได้ไม่ง่ายนักสาหรับเกษตรกรรายย่อยเพราะต้องมีการใช้พลังงานเชื้อเพลิงเป็นจานวนมาก เกษตรกรรายย่อยส่วนใหญ่ใช้วิธีทาให้ปลอดเชื้อด้วยการนึ่งในถังในน้าเดือด เกษตรกรต้องซื้อหรือเก็บฟืนมาต้มน้า (ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงและ/หรือใช้แรงงานสูง) การใช้ถ่านยิ่งทาให้ต้นทุนสูงมากขึ้นหากต้องซื้อถ่านหรือเผาถ่านเอง นอกจากนี้ ผลที่ได้จากการนึ่งในถังอาจไม่สม่าเสมอ ขึ้นอยู่กับชนิดและคุณภาพของฟืน
ในบทความนี้ มีเครื่องมือฆ่าเชื้อแบบใหม่ที่ทาได้โดยง่าย ราคาไม่แพง มีอายุการใช้งานที่นาน ใช้งานได้ง่าย และไม่จาเป็นต้องใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล ขบวนการฆ่าเชื้อนี้ไม่ต้องคอยเฝ้าดูอยู่ตลอดจึงถือว่าเป็นการช่วยประหยัดแรงงานด้วย
เป้าหมายของบทความนี้คือการสนับสนุนเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนและเกษตรกรในพื้นที่ให้ใช้การทดลองเบื้องต้นนี้ไปด้วยกันเพื่อปรับปรุงเครื่องมือนี้หรือเครื่องมืออื่นที่คล้ายกันเพื่อจะสามารถนาไปใช้ในสภาพแวดล้อมของแต่ละพื้นที่ที่ไม่เหมือนกัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยเกษตรกรรายย่อยในการประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่ายเมื่อต้องการเพาะเห็ด
บทนา
การเพาะเห็ดเป็นวิธีที่ดีวิธีหนึ่งในการเปลี่ยนวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรให้เป็นวัสดุในการผลิตอาหารที่มีประโยชน์ต่อการบริโภคสาหรับมนุษย์ เห็ดประกอบไปด้วยเกลือแร่, กรดอะมิโน และวิตามินที่สาคัญต่อการดาเนินชีวิตของมนุษย์ โดยเฉพาะสาหรับเด็กที่อยู่ในวัยเจริญเติบโต จากข้อมูลขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO): “การบริโภคเห็ดเป็นการเพิ่มสารอาหารที่มีคุณค่าในอาหารที่ไม่สมดุลโดยเฉพาะในประชากรประเทศที่กาลังพัฒนา เห็ดเป็นแหล่งอย่างดีสาหรับวิตามินบี, ซี และดี รวมถึงไนอะซิน, ไรโบเฟลวิน, ไธอะมิน, โฟเลต และเกลือแร่อีกหลายอย่างได้แก่ โปตัสเซียม, ฟอสฟอรัส, แคลเซียม, แมกนีเซียม, เหล็กและทองแดง ในเห็ดยังมีคาร์โบไฮเดรต มีปริมาณไขมันต่า มีเส้นใยและไม่มีแป้ง
ยิ่งกว่านั้น เห็ดที่กินได้ยังเป็นแหล่งที่ดีของโปรตีนคุณภาพสูง (จากรายงานพบว่ามีโปรตีนระหว่าง 19 - 35 เปอร์เซนต์) และเห็ดกระดุมสีขาวยังพบโปรตีนสูงกว่าในถั่วแดงหลวง นอกจากกรดอะมิโนจาเป็นทั้งหมดที่มีในเห็ดแล้ว ยังมีเห็ดบางชนิดที่มีสารโพลีแซคคาไรด์ที่มีประโยชน์ทางการรักษา และเป็นที่รู้จักว่ามีสรรพคุณในการส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน” (FAO 2009)
การเพาะเห็ดยังเป็นวิธีที่ดีมากในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นที่ห่างไกลและพื้นที่กึ่งเมือง โดยเฉพาะสาหรับผู้ที่ไม่มีที่ดินมากพอสาหรับทาการเกษตร (FAO & Earthscan 2011; FAO 2009)
เมื่อวัสดุชีวภาพที่เหลือทิ้งถูกนาไปใช้เพาะเห็ด วัสดุเพาะเห็ดเหล่านี้จะต้องผ่านการทาให้ปลอดเชื้อหรือฆ่าเชื้อ (Sánchez 2010) เพื่อกาจัดจุลินทรีย์ที่อันตรายเช่น สปอร์เชื้อรา, ยีสต์, แบคทีเรีย หรือไวรัส ขบวนการนี้ก่อให้เกิดการใช้พลังงานปริมาณมากและมีค่าใช้จ่ายสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจเป็นการยุ่งยากและเพิ่มภาระสาหรับเกษตรกรรายย่อย ดังนั้นจึงจาเป็นต้องมีทางออกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้กับเกษตรกร
วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ
อุปกรณ์ฆ่าเชื้อด้วยแสงอาทิตย์ของเราทาจากกล่องโฟมบุด้วยกระดาษอลูมิเนียมฟอยล์ (ภาพที่ 1) โดยวางกระเบื้องสีเข้มไว้ด้านล่างและด้างข้างกล่องเพื่อช่วยดูดความร้อนจากแสงแดด (ภาพที่ 2) และที่ด้านล่างกล่อง มีตะแกรงเหล็กวางไว้ด้วยเพื่อช่วยให้อากาศไหลเวียนในกล่องได้ดี ด้านบนเป็นกระจก (ยังไม่ได้ใช้วัสดุกระจก แบบอื่นทดสอบอย่างเป็นทางการ มีกระจกชนิดหนึ่งที่ไม่แข็งแรงพอและแตกเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงความร้อนอย่างรวดเร็วเมื่อถูกแสงแดด) กระจกนี้ทาให้แสงแดดส่องเข้าในกล่องได้และจับความร้อนไว้ภายในกล่องให้มากที่สุด ควรมีการติดตัวยึดเช่นไม้ ไว้ที่ด้านล่างของกระจกเพื่อป้องกันไม่ให้แผ่นกระจกไหลลื่นตกลงไป ขณะที่ต้องวางกล่องเอียงตามมุมของแสงแดดเพื่อรับความร้อน กล่องนี้มีต้นทุนในการทาประมาณ 10 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ (300 กว่าบาท) ในกรุงพนมเปญ
มีวัสดุอินทรีย์หลายชนิดที่สามารถนามาใช้เพื่อเพาะเห็ด เช่น ฟางข้าว, ขี้เลื่อย, เศษฝ้าย, หรือแม้แต่เนื้อกาแฟ (Aguilar-Rivera et al. 2012) ในการศึกษานี้ เราใช้ฟางข้าว (ภาพที่ 3) ที่หาได้ง่ายในกัมพูชา โดยมีราคาถูกหรือบางครั้งก็ได้มาโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
ผลที่ได้และข้อคิดเห็น
กล่องโฟมฆ่าเชื้อด้วยแสงอาทิตย์ที่ทาขึ้นในประเทศกัมพูชาและทาการทดสอบในเวลาที่มีแสงแดดหลายวันในเดือนพฤศจิกายน ปีค.ศ 2015 (ภาพที่ 3) ผลที่ได้แสดงให้เห็นถึงอุณหภูมิภายในถุงที่สูงขึ้นเกิน 60°C ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่สามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่อันตรายที่สุดได้ (ภาพที่ 4; Tajudeen et al. 2012) แม้จะใช้เวลาถึงหนึ่งชั่วโมงครึ่งก่อนที่อุณหภูมิในกล่องจะสูงกว่า 60°C แต่เมื่อในกล่องเกิดความร้อนนั้นแล้วจะสามารถรักษาอุณหภูมิที่ต้องการไว้ได้นานถึง 4 ชั่วโมง (ภาพที่ 5) ตัวอย่างค่าเฉลี่ยของผลที่ได้ในวันที่มีแสงแดด [ความเห็นจากบก.: เช่นเดียวกับการทดลองใหม่อื่นๆ เอคโคเอเชียขอแนะนาว่าให้ทาการทดลองเทคนิคใหม่ๆที่มีคนแนะนามาด้วยตนเองก่อน ก่อนที่จะไปเสนอเพื่อแพร่ขยายในชุมชน เนื่องจากการแพร่ขยายแนวคิดที่ไม่ได้ทาการทดลองมาก่อนในสภาพแวดล้อมจริงและในสภาพชุมชนจริงอาจก่อให้เกิดความเสียหายด้านความน่าเชื่อถือและชื่อเสียงของผู้แนะนาได้ และยังเป็นการก่อให้เกิดความเสียหายของชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คนในที่นั้นด้วย ในกรณีของกล่องฆ่าเชื้อนี้ จาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทาการทดสอบด้วยตนเองก่อน โดยทดสอบช่วงสภาพแสงและอุณหภูมิที่ต่างกันเพื่อให้แน่ใจว่าวัสดุเพาะเห็ดถูกฆ่าเชื้อได้แน่นอน]
สรุป
กล่องโฟมฆ่าเชื้อนี้สามารถทาขึ้นด้วยต้นทุนที่ไม่แพง (ประมาณ 300 กว่าบาทในกรุงพนมเปญ) แม้ราคาและวัสดุอาจแตกต่างไปบ้างตามพื้นที่ แต่เราเชื่อว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้น่าจะสามารถหาวัสดุที่จาเป็นได้ในราคาที่ไม่สูงเกินไป อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้สาหรับการทากล่องนี้มีราคาถูกสามารถเปลี่ยนได้เมื่อมีการชารุดเสียหาย ส่วนที่เป็นกระจกปิดด้านบน ต้องเป็นกระจกที่สามารถทนอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงได้โดยไม่แตกเสียหาย
กล่องโฟมขนาดเล็กมีข้อจากัดสาหรับจานวนวัสดุเพาะที่จะใช้ฆ่าเชื้อ ดังนั้น อาจต้องใช้กล่องโฟมมากกว่าหนึ่งกล่องไปพร้อมกัน หรืออาจใช้อีกวิธีหนึ่งคือ อาจใช้กล่องหนึ่งติดต่อกันหลายวัน โดยในแต่ละวันมีการฆ่าเชื้อของถุงวัสดุเพาะชุดหนึ่ง เพื่อในหนึ่งอาทิตย์จะมีถุงวัสดุเพาะ 7 ชุดที่พร้อมใช้งานได้ ในพื้นที่ที่มีถ่านและ/หรือฟืน (สาหรับการนึ่งเพื่อฆ่าเชื้อแบบที่ใช้ทั่วไป) ที่มีราคาแพง การใช้กล่องโฟมฆ่าเชื้อนี้อาจเป็นวิธีที่ประหยัดกว่า และขณะเดียวกันเป็นการช่วยรักษาป่าไม้และลดการเกิดควันจากการเผาไหม้ได้
การฆ่าเชื้อด้วยแสงแดดมีการทดสอบในวันที่มีแดดในช่วงเวลาเดียวของปี (ช่วงใกล้สิ้นเดือนพฤศจิกายน) ปริมาณแสงแดดจากพระอาทิตย์อาจแตกต่างไปขึ้นอยู่กับเมฆที่ปกคลุมและอาจแตกต่างไปตามช่วงฤดุกาลด้วย หากต้องการทากล่องโฟมฆ่าเชื้อไว้ใช้ เราขอแนะนาว่าให้ทาการทดสอบอุณหภูมิในกล่องก่อนหรือ (ถ้าเป็นได้)ให้ทดสอบในระหว่างการใช้งาน เพื่อให้แน่ใจว่าได้อุณหภูมิที่ต้องการคือ 60 หรือมากกว่านั้น
แผ่นกระเบื้องสีเข้มด้านในกล่องเป็นตัวดูดและเก็บความร้อน และสามารถช่วยสร้างสมดุลให้กับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงได้ โดยจะทาให้อุณหภูมิเสถียร เช่นในเวลาที่มีเมฆลอยมาบังพระอาทิตย์
การฆ่าเชื้อด้วยแสงแดดนี้สามารถทาได้เองด้วยต้นทุนที่ไม่สูง ใช้งานง่าย ประหยัดเชื้อเพลิงถ่านหินหรือพลังงานชีวมวลเนื่องจากใช้แสงแดดโดยตรง ผู้ใช้งานสามารถใช้ได้อย่างสะดวก โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีนึ่งที่ต้องคอยเฝ้าดูอยู่ตลอดเวลา เราขอเชิญชวนให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนในประเทศต่างๆที่ทางานเกี่ยวข้องกับการเพาะเห็ดมาร่วมทดสอบเครื่องมือใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนนี้กับเรา โดยทาการทดสอบในสภาพแวดล้อมและอากาศที่ท่านอยู่ เพื่อจะเป็นการช่วยพัฒนาปรับปรุงเครื่องนี้ให้ดียิ่งขึ้น เรายินดีเป็นอย่างยิ่งหากท่านจะส่งความคิดเห็นมายังเราเพื่อทาการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆต่อไป
อ้างอิงจากเว็บไซท์
Aguilar-Rivera, N., A. C. Moran, D. A. Rodríguez Lagunes, and J. M. Gonzalez. 2012. Production of Pleurotus ostreatus (Oyster mushroom) grown on sugar cane biomass (trash, bagasse, and pith). In: Mushrooms: Types, Properties, and Nutrition (Sophie Andres and Niko Baumann, Eds.). London: Nova Science Publishers, Inc.
FAO & Earthscan. 2011. The State of the World´s Land and Water Resources for Food and Agriculture.
Guardia, M. L., G. Venturella, and F. Venturella. 2005. On the chemical composition and nutritional value of Pleurotus taxa growing on Umbelliferous plants (Apiaceae). Journal of Agricultural and Food Chemistry 53: 5997-6002.
Marshall, E., and N. G. (Tan) Nair. 2009. Diversification Booklet Number 7: Make Money by Growing Mushrooms. Rome: FAO. Rural Infrastructure and Agro-Industries.
Mattila, P., P. Salo-Vaananen, K. Konko, H. Aro, and T. Jalava. 2002. Basic composition and amino acid contents of mushrooms cultivated in Finland. Journal of Agricultural and Food Chemistry 50: 6419-6422.
Mattila, P., K. Konko, M. Eurola, J. Pihlava, J. Astola, L. Vahteristo, V. Hietaniemi, J. Kumpulainen, M. Valtonen, and V. Piironen. 2001. Contents of vitamins, mineral elements, and some phenolic compounds in cultivated mushrooms. Journal of Agricultural and Food Chemistry 49: 2343-2348.
Sánchez, C. 2010. Cultivation of Pleurotus ostreatus and other edible mushrooms. Applied Microbiology and Biotechnology 85(5): 1321–1337.
Tajudeen, O. O., O. D. Sikhumbuzo, D. M. Earnshaw, and M. T. Masarirambi. 2012. Effect of substrate pre-treatment methods on Oyster Mushroom (Pleurotus ostreatus) production. International Journal of Agriculture and Biology 14(2).
Yang, J. H., H. C. Lin, and J. L. Mau. 2001. Non-volatile taste components of several commercial mushrooms. Food Chemistry 72: 465-471.