โดย: Patrick Trail, ECHO Asia Research and Technical Associate


This article is from ECHO Asia Note #29

คานา

AN 29 Nutrient Fig 1
ภาพที่ 1 อาการขาดธาตุอาหารหลายๆแบบ: a. การขาดธาตุไนโตรเจน (IPNI, 2016); b. การขาดธาตุอาหารรอง (เหล็ก); c. การขาดฟอสฟอรัส (IPNI, 2016); d. การขาดธาตุอาหารรองในพืชตระกูลส้ม (FFTC, 2003)

คากล่าวโบราณที่ว่า „คุณจะแก้ปัญหาไม่ได้ถ้าคุณไม่รู้ว่าคุณมีปัญหา‟ เป็นคากล่าวที่สนับสนุนวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของการวินิจฉัยอาการขาดธาตุอาหารในพืชได้เป็นอย่างดี เป็นเวลานานมาแล้วที่เกษตรกรและนักวิทยาศาสตร์ทางานร่วมกันเพื่อหาอาการที่ปรากฏให้เห็นด้วยตาเพื่อใช้พิจารณาถึงการขาดธาตุอาหารในพืชไร่หลายชนิด ร่องรอยและอาการที่แสดงออกมานี้จะเป็นประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อไม่สามารถใช้วิธีการทดสอบดินและเนื้อเยื่อต้นพืชได้

การดูแลพืชให้ได้รับอาหารอย่างอุดมสมบูรณ์และเพียงพอเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากแต่ก็คุ้มค่ากับความพยายาม แต่อย่างไรก็ตามหากมีความผิดพลาดในการประเมินธาตุอาหารแต่ละชนิดที่ให้กับพืชก็จะเกิดความยุ่งยากหลายอย่างตามมา การพัฒนาทักษะในการสังเกตอาการขาดธาตุอาหารของพืชจะช่วยบอกถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกร และจะช่วยป้องกันการแก้ไขปัญหาที่ไม่ตรงจุดที่อาจต้องเสียทั้งเวลาและเงินทอง บ่อยครั้งที่ปัญหาการขาดธาตุอาหารกลับถูกเข้าใจผิดว่าเป็นปัญหาเกี่ยวกับความเสียหายจากแมลง โรคพืช จากไส้เดือนฝอย และ/หรือปัจจัยความเครียดอื่นๆที่ไม่ใช่จากสิ่งมีชีวิต (ภาพที่ 1)

การเรียนรู้ที่จะเข้าใจถึงปัญหาการขาดธอาหารในพืชและสามารถแยกแยะความแตกต่างออกจากปัจจัยอื่นๆที่มีผลกระทบต่อพืชจะทาให้เราเข้าใจสภาพพื้นทีเพาะปลูกของเราได้ดียิ่งขึ้น บางทีเราอาจใส่ปุ๋ยมากพอแล้วในบริเวณที่ต้องการ แต่ค่า pH ก็ยังไม่อยู่ในสภาพสมดุล ผลก็คือธาตุอาหารบางอย่างกลับถูกกักเก็บเอาไว้ทาให้พืชไม่สามารถนาเอาไปใช้ได้ บางทีดินของเราอาจมีธาตุอาหารทุกอย่างที่จะทาให้พืชเจริญเติบโตได้ดี แต่อาจมีปัญหาเรื่องไส้เดือนฝอยและไม่ว่าจะใส่ปุ๋ยหมักเข้าไปเท่าไหร่ก็ไม่ช่วยให้ผลผลิตดีขึ้น หรือพืชที่เราปลูกอยู่อาจกาลังต่อสู้กับปัญหาการขาดธาตุอาหารโดยที่เราไม่รู้เลยว่าพืชผลนั้นจะไม่สามารถให้ผลผลิตตามที่ควรจะเป็น ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นอยู่เสมอ ซึ่งบางครั้งเราเรียกอาการลักษณะนี้ว่า “อาการแฝงของการขาดธาตุอาหาร” หรือ „hidden hunger‟ เครื่องมือง่ายๆไม่กี่ชนิดและความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับความต้องการธาตุอาหารของพืชจะช่วยให้เราบอกได้ว่าพืชกาลังขาดธาตุอาหารประเภทใดอยู่ และสามารถแยกแยะอาการนี้ออกจากอาการอื่นๆที่ก่อให้เกิดความเสียหายได้

ธาตุอาหารใดบ้างที่พืชต้องการ?

มีธาตุอาหารอยู่ 17 ชนิดที่พืชต้องใช้ในการเจริญเติบโต (ตารางที่ 1) ธาตุแต่ละชนิดถือว่าจาเป็นต่อพืชเพื่อให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้ครบวงจรชีวิต และไม่มีธาตุอาหารชนิดใดสามารถแทนที่กันได้ (IPNI, 2006) ธาตุอาหารจาเป็นเหล่านี้ส่วนใหญ่มีอยู่ในดิน ส่วนคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจนที่พืชได้จากบรรยากาศและน้าในช่วงที่พืชสังเคราะห์แสง ถ้าธาตุใดธาตุหนึ่งใน 17 ชนิดนี้ขาดไปหรือมีไม่เพียงพอ การเจริญเติบโตของพืชจะถดถอยและอาจจะไม่สามารถให้ผลผลิตได้ตามศักยภาพการให้ผลผลิตตามพันธุกรรม แม้ว่าธาตุอื่นอีก 16 ชนิดจะมีในปริมาณที่เพียงพอแล้ว

AN 29 Nutrient Table 1 THAI
ตารางที่ 1 ธาตุอาหารที่จาเป็นต่อการเติบโตของพืช (IPNI, 2006)

ทาความเข้าใจสภาพแวดล้อมก่อนเป็นอันดับแรก

ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับสภาพดิน ได้แก่สภาพทางภูมิศาสตร์ ชนิดของดิน ประวัติพืชที่เคยเพาะปลูก และวิธีการจัดการการเพาะปลูกก่อนหน้านี้ สิ่งเหล่านี้จะช่วยบอกได้ถึงอาการขาดธาตุอาหารในพืชที่กาลังเพาะปลูก และสามารถแยกแยะอาการขาดธาตุอาหารจากอาการอื่นที่เป็นผลมาจากแมลงศัตรูพืชหรือโรคพืชได้

ค่า pH

ทาความเข้าใจค่า pH ในดินของเรา หรืออย่างน้อยหาระดับความเป็นกรดหรือด่างในระดับเบื้องต้น เพราะค่า pH จะช่วยได้มากในการสังเกตุอาการขาดธาตุอาหาร แม้จะไม่มีการทดสอบค่า pH อย่างเป็นทางการ แต่ความรู้เรื่องสภาพทางภูมิศาสตร์ ชนิดของดิน ประวัติพืชที่เคยปลูก และวิธีการจัดการการเพาะปลูกก่อนหน้านี้จะพอบอกเราได้ถึงความเป็นกรดหรือด่างในดิน พืชส่วนใหญ่เจริญเติบโตได้ในดินที่มีค่า pH ที่ประมาณกลางๆ (7) และจะเติบโตเป็นอย่างดีเมื่อค่า pH อยู่ที่ระหว่าง 5.5 - 6.6 ดินที่มีความเป็นกรดอยู่บ้างโดยทั่วไปแล้วมักจะมีธาตุอาหารจาเป็นทั้ง 17 ชนิดในปริมาณที่พอดีกับพืช (ภาพที่ 2) เมื่อดินเป็นกรดมากเกินไป ธาตุอาหารหลักของพืชจะอยู่ในสภาพที่เกาะกันแน่นหรือที่นาไปใช้ไม่ได้ และพืชก็ไม่สามารถดูดซึมได้ และตรงกันข้ามเช่นเดียวกับธาตุอาหารรอง ที่มักจะมีอยู่ในดินที่เป็นกรดเล็กน้อยและมีไม่มากในดินที่มีความเป็นด่าง เมื่อรู้เช่นนี้และรู้ค่า pH ของดิน ก็จะสามารถช่วยในหาสาเหตุได้ง่ายขึ้นเมื่อทาการวิเคราะห์อาการขาดธาตุอาหาร

Nutrient Deficiencies Article Image2

ภาพที่ 2: ธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินที่มีค่า pH ในระดับต่างกัน (Goldy, 2011) มีอลูมิเนียมที่พืชนาไปใช้ได้ในดินที่เป็นกรดสูง (ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเป็นพิษจากอลูเนียมได้)

ค่า pH ในดินของเราขึ้นอยู่กับปัจจัยมากมายรวมกัน แต่ที่แน่นอนคือแนวโน้มทางภูมิศาสตร์ก็มีผลต่อความเป็นกรดและด่างในดินด้วย หรืออาจพูดได้ว่าดินในเขตภูมิอากาศชุ่มชื้นมักจะเป็นกรด ขณะที่ดินในเขตภูมิอากาศแห้งแล้งมักเป็นด่าง (ภาพที่ 3)

AN 29 Nutrient Fig 3 THAI
ภาพที่ 3: แผนที่โลกแสดงค่า pH ของดิน (Nelson, 1998)

คาศัพท์เบื้องต้นเกี่ยวกับการขาดธาตุอาหาร

การที่เราสามารถแยกความแตกต่างของอาการที่เกิดกับพืชได้ จะช่วยให้เราเข้าใจและรู้ว่าพืชขาดธาตุอาหารประเภทใดได้ดีมากขึ้นด้วย ต่อไปนี้เป็นคาที่มักจะใช้อธิบายอาการขาดธาตุอาหารในพืช คาต่างๆที่ใช้นี้อาจอธิบายถึงแค่ใบของพืชหรืออธิบายถึงอาการที่เกิดขึ้นต่อต้นพืชทั้งต้น

การเหลืองของเนื้อเยื่อ (Chlorosis): คือการที่เนื้อเยื่อของพืชเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขาว เนื่องจากการขาดสารสีเขียวหรือคลอโรฟิลล์ (ดูภาพที่ 1b)

การตายของเนื้อเยื่อ (Necrosis): คือการตายของเนื้อเยื่อของพืช มักจะเริ่มจากเนื้อเยื่อเป็นสีเหลืองก่อน และในที่สุดกลายเป็นสีน้าตาลและตายไป (ภาพที่ 4b และ 4d)

Nutrient Deficiencies Article Image4

ภาพที่ 4: ใบข้าวโพดที่มีสุขภาพดีเทียบกับใบที่ขาดธาตุอาหาร: a. สุขภาพดี; b. ขาดไนโตรเจน (การตายของเนื้อเยื่อปรากฏเป็นรูปตัว v จากปลายใบ); c. ขาดฟอสฟอรัส(สีม่วงตามด้านข้างใบ); d. ขาดโปตัสเซียม (การตายและการเหลืองของใบตามด้านข้าง); e. ขาดแมกนีเซียม (เหลืองระหว่างเส้นใบ) (Berger, 1954)

การเหลืองระหว่างเส้นใบ (Interveinal Chlorosis): เพียงส่วนเนื้อเยื่อระหว่างเส้นใบเท่านั้นที่แสดงอาการเหลือง (ภาพที่ 4e)

การไหม้ (Burning or Scorching): มีสีเหลืองหรือน้าตาลเฉพาะที่ที่เกิดรุนแรงจนดูเหมือนเป็นรอยไหม้ (ภาพที่ 4d)

การด่าง (Mottling): มีจุด ที่เป็นรอยเกิดขึ้นไม่สม่าเสมอ

การวินิจฉัยโรคขาดธาตุอาหารของพืช

ธาตุอาหารบางชนิดเคลื่อนย้ายในต้นพืชได้ ขณะที่บางชนิดเคลื่อนย้ายไม่ได้ โดยทั่วไปแล้ว ธาตุอาหารหลักสามารถเคลื่อนย้ายในต้นพืชได้ และธาตุอาหารรองเคลื่อนย้ายไม่ได้ ตาแหน่งของอาการที่เกิดในพืชก็มีส่วนสาคัญเป็นอย่างมากที่จะช่วยให้เราพิจารณาหาสาเหตุและบอกได้ว่าพืชกาลังแสดงอาการขาดธาตุอาหารชนิดใด

ภายในพืชต้นหนึ่ง เมื่อมีการเคลื่อนย้ายธาตุอาหาร ปกติแล้วมักจะย้ายจากใบแก่มายังบริเวณส่วนที่เพิ่งเจริญเติบโต พืชทาเช่นนี้เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีการเติบโตไปเรื่อยๆ ซึ่งการเคลื่อนย้ายธาตุอาหารนี้มักเกิดขึ้นเมื่อมีการขาดธาตุอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง ในกรณีนี้ อาการขาดธาตุอาหารจะเกิดขึ้นในส่วนที่แก่แล้ว หรือในส่วนล่างของพืช (ภาพที่ 1c)

ธาตุอาหารที่เคลื่อนย้ายไม่ได้จะอยู่กับที่และไม่มีการนาเอาไปใช้ในส่วนอื่นของพืช ธาตุอาหารเหล่านี้มักรวมตัวอยู่ในส่วนประกอบที่เป็นโครงสร้างของพืช ตัวอย่างเช่น แคลเซียมเป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์ และอยู่กับที่ (IPNI, 2006) อาการขาดธาตุอาหารที่เคลื่อนย้ายไม่ได้มักจะเกิดขึ้นในช่วงแรกๆในส่วนที่กาลังเติบโตใหม่ ใกล้กับส่วนยอดของพืช (ภาพที่1b และ 1d)

Nutrient Deficiencies Article Image5

ภาพที่ 5: บริเวณที่เกิดอาการขาดธาตุอาหารในต้นพืช ธาตุอาหารที่เคลื่อนย้ายได้ (ด้านล่างของภาพ) จะแสดงอาการที่ส่วนล่างของต้น ขณะที่ธาตุอาหารที่เคลื่อนย้ายไม่ได้(ด้านบนของภาพ)จะแสดงอาการที่ส่วนบนของต้น (IPNI, 2016)

ภาพที่ 5 แสดงถึงธาตุอาหารจาเป็นที่เคลื่อนย้ายได้ (นาไปใช้ส่วนอื่นของต้นได้) ที่อาการแสดงออกเบื้องต้นอยู่ที่ใบแก่ และธาตุอาหารที่เคลื่อนย้ายไม่ได้(นาไปไว้ส่วนอื่นของต้นไม่ได้) ที่อาการแสดงออกเบื้องต้นอยู่ที่ใบอ่อน

แม้อาการต่างๆที่แสดงออกจากการขาดธาตุอาหารมักเริ่มต้นจากตาแหน่งของต้นพืชดังที่กล่าวมาแล้ว แต่จากนั้นก็จะลุกลามไปจนทั่วทั้งต้นถ้ามีอาการที่รุนแรง นอกจากนี้อาการที่เห็นอาจเป็นเพียงอาการที่บดบังอาการอื่นไว้ เมื่ออาการขาดธาตุอาหารหนึ่งมองเห็นได้ชัดด้วยตามากกว่าอาการอื่นที่เกิดขึ้นพร้อมกันแต่มีความรุนแรงน้อยกว่า

การจาแนกอาการที่เกิดจากการขาดธาตุอาหารแต่ละชนิด

การแยกอาการขาดธาตุอาหารที่เกิดขึ้นกับส่วนแก่และส่วนอ่อนของต้นพืชเป็นสิ่งที่ทาได้ค่อนข้างง่าย ตามที่กล่าวไว้ก่อนหน้า คือที่ส่วนแก่ของต้นพืชจะแสดงถึงการขาดธาตุอาหารหลัก และที่ส่วนอ่อนจะแสดงถึงการขาดธาตุอาหารรอง การเริ่มต้นวิเคราะห์แบบนี้จะช่วยได้มาก แต่สิ่งที่เราต้องการจริงๆคือการรู้แบบเจาะจงมากขึ้นว่าต้นพืชกาลังขาดธาตุอาหารชนิดใด

การวินิจฉัยได้อย่างเจาะจงนั้นเราจะต้องมีข้อมูลที่เกี่ยวกับตาแหน่งของต้นพืชที่เกิดอาการ รวมถึงรูปแบบและตาแหน่งในใบพืชที่เกิดอาการ ภาพที่ 6 จะช่วยในการจาแนกการขาดธาตุอาหารชนิดต่างๆ

การใช้ประโยชน์จากภาพนี้จาเป็นต้องให้ความสนใจในรายละเอียดเกี่ยวกับอาการเครียดของต้นพืช นอกจากตาแหน่งของต้นพืชทั้งต้นแล้ว เรายังต้องแยกอาการด้วย เช่น ต้องแยกว่าเป็นการเหลืองหรือการตายของเนื้อเยื่อและจะต้องดูด้วยว่าเกิดที่ตาแหน่งส่วนไหนของใบแต่ละใบ ตัวอย่างเช่น เป็นการตายของเนื้อเยื่อที่ขอบรอบใบ (อยู่ในกรณีการขาดโปตัสเซียม ในภาพที่ 4d) หรือเป็นการเหลืองของเนื้อเยื่อระหว่างเส้นใบ (อยู่ในกรณีขาดแมกนีเซียม ในภาพที่ 4e) การจาแนกแบบนี้ ถ้าได้ฝึกบ่อยๆก็จะทาได้ไม่ยาก และถูกต้องมากขึ้นเรื่อยๆ

AN 29 Nutrient Fig 6 THAI
ภาพที่ 6: การวินิจฉัยอาการขาดธาตุอาหารเบื้องต้น (IFAS, 2012)

มีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการจาแนกการขาดธาตุอาหารของพืช ด้วยการใช้วิธีสังเกตุอาการ ข้อมูลเหล่านี้มีอยู่มากมายพร้อมกับรายละเอียด ต่อไปนี้เป็นแหล่งข้อมูลเหล่านั้นที่ถือว่ามีประโยชน์อย่างมาก:

Guide to Symptoms of Plant Nutrient Deficiencies- โดยมหาวิทยาลัย อริโซนา

Plant Nutrient Functions and Deficiency and Toxicity Symptoms- โดยมหาวิทยาลัยรัฐมอนทานา

Crop Nutrient Deficiency Image Collection – หาซื้อได้จากสถาบัน International Plant Nutrition Institute (IPNI)

แนะนาแอพในสมาร์ทโฟนของ IPNI เพื่อการวินิจฉัยโรคขาดสารอาหาร

ในส่วนของการใช้เทคโนโลยีที่มีเพิ่มขึ้นนั้น มีแอพพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟนที่จัดทาโดยสถาบัน International Plant Nutrient Institute (IPNI) ซึ่งแอพนี้จะประกอบไปด้วยภาพดิจิตอลขนาดเล็กที่แสดงถึงอาการขาดธาตุอาหารต่างๆ (ภาพที่ 7) Nutrient Deficiencies Article Image7

Nutrient Deficiencies Article Image7b

ภาพที่ 7: ภาพแอพพลิเคชั่นของ IPNI ในโทรศัพท์มือถือ

นอกจากนั้น แอพพลิเคชั่นนี้ยังมีคาอธิบายอาการขาดธาตุอาหารแต่ละชนิด และสาหรับพืชไร่สาคัญที่ปลูกทั่วโลก 14 ชนิด แม้จะมีอยู่เพียง 14 ชนิด แต่พืชไร่ที่เลือกมานี้จะเป็นตัวแทนของพันธุ์พืชอื่นที่มีอยู่หลายหลายสายพันธุ์ ตัวอย่างเช่น ไม่มีรายชื่อของข้าวฟ่างมุกในแอพพลิเคชั่น แต่อาการของโรคจะคล้ายกันกับพืชประเภทข้าวโพดหรือข้าวฟ่าง ที่มีลักษณะเบื้องต้นคล้ายกัน

ข้อสงวนสิทธิ์การใช้งาน: แอพพลิเคชั่นเพื่อสมาร์ทโฟนนี้ไม่ได้มีขึ้นเพื่อใช้วัดการขาดธาตุอาหารของพืช แต่จัดทาขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยเหลือผู้ที่กาลังวิเคราะห์อาการขาดธาตุอาหารในพืช

แอพที่มีภาพของต้นพืช (Plant Images) มีอยู่ในหลายภาษาซึ่งหาได้จากร้าน Apple App Store (พิมพ์ค้นหา “Crop Nutrient Deficiency Photo Library” หรือ “International Plant Nutrition Institute”) นอกจากนี้ยังมีข้อมูลที่สามารถหาได้จาก http://www.ipni.net/ndapp

ขั้นต่อไป หลังจากที่วินิจฉัยอาการได้แล้ว

เมื่อเราสามารถบอกได้แล้วว่าพืชขาดธาตุอาหารอะไร เราก็จะมาถึงขั้นต่อไปคือการแก้ปัญหา แต่มีคาถามคือ การเพิ่มธาตุอาหารที่ขาดอยู่เข้าไปจะเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้องหรือเปล่า? หรืออาการขาดธาตุอาหารที่เห็นอยู่เป็นเพียงเบื้องหน้าของปัญหาอื่นที่ใหญ่กว่านั้น?

บ่อยครั้งทีเดียวที่สาเหตุที่ซับซ้อนเกิดขึ้นและส่งผลให้พืชแสดงอาการขาดธาตุอาหารออกมา ปัญหาบางอย่างอาจแก้ไขได้ง่ายๆ แต่ปัญหาบางอย่างอาจต้องใช้เวลาเป็นปีๆ ต่อไปนี้เป็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นที่มักจะส่งผลแสดงออกมาเป็นอาการขาดธาตุอาหาร

ค่า pH – ดังที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ ว่าค่า pH ของดินมีบทบาทที่สาคัญในการกาหนดว่าธาตุอาหารใดอยู่ในสภาพที่พืชจะสามารถนาไปใช้ได้ ถ้าดินอยู่ในภาวะที่เป็นกรดเกินไป ธาตุอาหาร N, P, K, S, Ca, และ Mg จะมีอยู่น้อย ส่วนในดินที่เป็นด่างธาตุอาหาร Fe, Mn, B, Cu, และ Zn จะมีน้อยกว่า (ภาพที่ 2) ถ้าเราวินิจฉัยว่าพืชขาดธาตุอาหารเหล่านี้ ปัญหาแท้จริงอาจเกี่ยวกับค่า pH (แต่จะต้องทาการตรวจค่า pH ให้แน่ใจด้วย) การปรับค่า pH นั้นอาจทาโดยการใส่หินปูนเพื่อการเกษตรในดินที่เป็นกรด และใส่ซัลเฟอร์ในดินที่เป็นด่าง ข้อมูลที่จะอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อนี้โดยตรงสามารถหาได้ที่ ECHOcommunity.org ตัวอย่างเช่น เอกสารเรื่อง “ดินเป็นกรดในเขตร้อน” Acid Soils of the Tropics และ “ถ่านชีวภาพ” Biochar ที่มีข้อแก้ไขที่เป็นประโยชน์และเป็นการแก้ปัญหาในกรณีเฉพาะ

น้าขังหรือระบายน้าไม่ดี – อาการขาดธาตุไนโตรเจนมักเกิดขึ้นในบริเวณที่มีพื้นที่ต่าหรือระบายน้าได้ไม่ได้ เมื่อดินเจิ่งนองไปด้วยน้า ไนเตรต (NO3) ที่มีอยู่สาหรับพืชจะถูกชะล้างออกไปและ/หรือถูกแยกตัวออกไป (Sawyer, 2007) กระบวนการดิไนตริฟิเคชั่น(Denitrification) หรือกระบวนการเปลี่ยนไนเตรดเป็นไนโตรเจน เกิดขึ้นเมื่อแบคทีเรียในดินนาสารประกอบไนโตรเจนไปใช้แทนที่ออกซิเจน (ที่มีจากัดในสภาพน้าขัง) สารประกอบจะค่อยๆถูกย่อยสลายและไนโตรเจนจะถูกปล่อยออกไปสู่บรรยากาศในรูปของก๊าซไนโตรเจน (N2) กระบวนการนี้อาจทาให้พื้นที่เป็นวงกว้างบริเวณนั้นขาดธาตุไนโตรเจนในช่วงระหว่างน้าขังและหลังจากน้าขัง (ภาพที่ 8a)

ความเครียดจากสภาพแห้งแล้ง – ความเครียดจากความแห้งแล้งเป็นอาการที่อาจทาให้สับสนได้กับอาการของการขาดธาตุอาหาร ในกรณีทั้งสอง ต้นพืชจะแสดงอาการที่คล้ายกันคือการเติบโตหยุดชะงัก แต่อาการความเครียดจากสภาพแห้งแล้งสามารถมองเห็นได้ตั้งแต่ช่วงเริ่มแรกจากอาการใบที่เหี่ยว จากนั้นใบจะม้วน และหลังจากนั้นปลายของใบจะไหม้ ธาตุอาหารในพืชหลายอย่างจะไม่สามารถถูกนาไปใช้เมื่อพืชมีปริมาณน้าจากัดในการช่วยละลายธาตุอาหารเหล่านั้นให้อยู่ในรูปแบบที่พืชสามารถดูดซึมได้

อาการอื่นที่มักจะทาให้สับสนกับอาการขาดธาตุอาหาร

AN 29 Nutrient Fig 8
ภาพที่ 8: ปัจจัยจากสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตที่มักทาให้สับสนในการวิเคราะห์อาการขาดธาตุอาหาร: a.กระบวนการเปลี่ยนไนเตรดเป็นไนโตรเจนเนื่องจากการเกิดน้าท่วม (Sawyer, 2007); b. ใบไหม้จากสารเคมีในยากาจัดวัชพืชที่ลอยมาในอากาศ (Purdue, 2016); c. โรคที่เกิดจากเชื้อราในมะเขือเทศ (Nitzsche and Wyenandt, 2005); d. ซีสต์จากไส้เดือนฝอยที่ทาความเสียหายกับข้าวโพด (Tylka, 1994)

อาการจากโรคพืช – อาการขาดธาตุอาหารมักจะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นอาการของโรคที่เกิดจากไวรัส แบคทีเรีย หรือเชื้อรา เพราะเชื้อโรคเหล่านี้จะทาให้ใบพืชเป็นสีเหลืองและตายไป อาการขาดธาตุอาหารโดยทั่วไปแล้วสามารถแยกออกได้จากการถูกแมลงศัตรูพืชหรือจากโรคพืชด้วยอาการที่มีลักษณะสมมาตร อาการจากโรคพืชจะเกิดขึ้นในตาแหน่งที่เป็นด่างๆ จุดๆ ที่ไม่สม่าเสมอตามต้นหรือใบ (ภาพที่ 8c) แต่อาการจากการขาดธาตุอาหารมักจะเกิดขึ้นแบบสมมาตรและกระจายตัวสม่าเสมอบนต้นหรือใบ

อาการจากไส้เดือนฝอย – พืชที่เสียหายจากไส้เดือนฝอยจะแสดงอาการเครียดที่ทาให้ง่ายต่อการสับสนกับอาการขาดธาตุอาหารหลายๆชนิด อาการความเสียหายที่เกิดจากไส้เดือนฝอยมักถูก เข้าใจว่าเกี่ยวข้องกับการขาดไนโตรเจนจากน้าขังหรือกระบวนการดิไนตริฟิเคชั่น ส่วนอาการจากการขาดธาตุอาหารมักจะบอกได้ด้วยอาการที่ปรากฏในพืชที่อยู่นอกบริเวณที่ต่าและเป็นแอ่ง (ไม่เกี่ยวกับปัญหาน้าขัง) และมีลักษณะเหี่ยวเฉพาะส่วนปลายของพืช (ภาพที่ 8d) ถ้าสงสัยว่าเป็นไส้เดือนฝอย ให้ลองดึงต้นออกมาซักสองสามต้นเพื่อสังเกตดูที่รากว่ามี “ปม” หรือไม่ ถ้าเป็นไปได้อาจเก็บตัวอย่างส่งไปตรวจที่ห้องทดลองเพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง การวินิจฉัยอย่างถูกต้องว่าในพื้นที่เพาะปลูกมีไส้เดือนฝอยอาจเป็นเรื่องที่ยาก และควรต้องมีการยืนยันด้วยกล้องจุลทัศน์

การปนเปื้อนของยากาจัดวัชพืชที่ลอยมาในอากาศ – การปนเปื้อนของยากาจัดวัชพืชที่ลอยมาในอากาศสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อมีการใส่ยาในสภาพที่มีลมแรง หรือมีการใช้ยาในบริเวณใกล้เคียงกัน ถ้ายากาจัดวัชพืชไม่ได้ทาให้พืชอื่นที่ไม่ได้ตั้งใจฉีดตาย ยานี้ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทาให้เกิดอาการที่ง่ายต่อการสับสนระหว่างอาการขาดธาตุอาหาร และเช่นกันคือ อาการนี้สามารถแยกได้ด้วยอาการใบเหลืองหรือใบไหม้ที่เกิดแบบไม่สม่าเสมอ แทนที่จะเกิดแบบสมมาตร (แบบสม่าเสมอ) นอกจากนี้ ยังขึ้นอยู่กับยาที่ใช้ ยาบางชนิดอาจทาให้เกิดอาการเหลืองที่ใบอย่างรุนแรง (ภาพที่ 8b) หรืออาการ “ไหม้” ที่ปลายใบ อาการจะเกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด ส่วนมากภายใน 24 ถึง 48 ชั่วโมงหลังจากที่มีการฉีดพ่นยากาจัดวัชพืช โดยพืชมีความสามารถในการทนต่อความเสียหายจากยาที่เกิดขึ้นในระดับเล็กน้อย

สรุป

การวินิจฉัยอาการขาดธาตุอาหารของพืชไม่ใช่เป็นวิทยาศาสตร์ที่ตายตัว แต่วิธีการวินิจฉัยแบบง่ายๆนี้จะสามารถช่วยให้เราปรับปรุงผลผลิตและสุขภาพของดินให้ดีขึ้นได้ เป็นการช่วยป้องกันปัญหาการขาดธาตุอาหารที่ซ่อนอยู่ในต้นพืชของเรา และอาจช่วยให้เราตื่นตัวต่อปัญหาที่ใหญ่กว่าที่พบในพื้นที่เพาะปลูกของเรา วิธีการวินิจฉัยที่ทาได้เองนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากโดยเฉพาะกับผู้ที่ทางานในพื้นที่ที่เครื่องอานวยความสะดวกในการทดสอบดินและพืชหาได้ยากหรือมีราคาแพง

อ้างอิง

Berger, K.C. 1954. Be Your Own Maize Doctor. Revised by J. Harold and F. Reetz. Editors. International Plant Nutrition Institute (IPNI), from The Country Gentleman, Curtis Publishing Company. http://ssa.ipni. net/article/AFR-3006.

FFTC. 2003. Fertilizer Management of Citrus Orchards. Food and Fertilizer Technology (FFTC) for the Asia and Pacific Region. Taipei, Taiwan.

Goldy, R. 2011. Soil Nutrient Availability at Various pH levels. Michigan State Univeristy Extention. http://msue.anr.msu.edu/ news/understanding_soil_ph_part_i.

Hosier, S. and L. Bradley. 1999. Guide to Symptoms of Plant Nutrient Deficiencies. Publication AZ1106. http://extension. arizona.edu/sites/extension.arizona.edu/ fi les/pubs/az1106.pdf.

Bolques, A. 2012. A Guide to Visual Diagnosis for Common Essential Nutrients Deficiencies Symptoms. Gardening in the Panhandle. University of Florida - Institute of Food and Agricultural Sciences. http://franklin.ifas.ufl.edu/newsletters/2012/07/16/a-guide-to-visual-diagnosis-for-common-essential-nutrients-deficiencies-symptoms/.

IPNI. 2006. Soil Fertility Manual. International Plant Nutrient Institute (IPNI). Norcross, GA.

IPNI. 2016. Crop Nutrient deficiency Photo Library App. International Plant Nutrient Institute (IPNI). Norcross, GA.

McCauley, A., C. Jones, and J. Jacobsen. 2011. Plant Nutrient Functions and Defi - ciency and Toxicity Symptoms. Nutrient Management Module No. 9. Montana State University Extension. http://landresources. montana.edu/nm/documents/NM9.pdf.

Nelson. 1998. Atlas of the Biosphere. Center for Susainability and the Global Environment - University of Wisconsin-Madison, Nelson Institute.

Nitzsche, P., and A. Wyenandt. 2005. Diagnosing and Controlling Fungal Diseases of Tomato in the Home Garden. New Jersey Cooperative Extension. New Brunswick, NJ. Purdue. 2016. Herbicide Injury Symptoms on Corn and Soybeans.

Purdue University - Department of Plant Botany and Pathology. West Lafayette, IN.

Sawyer, J. 2007. Nitrogen Loss: How Does it Happen? Iowa State University. Ames, IA.

Tylka, G. 1994. Soybean Cyst Nematode. Iowa State University Extension, Ames.