[หมายเหตุบรรณาธิการ: นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของแผนความปลอดภัยทางชีวภาพสาหรับการเลี้ยงสุกรของเกษตรกรรายย่อยในพื้นหนึ่งและอาจนาไปใช้เป็นต้นแบบได้ แต่เป็นไปไม่ได้ที่มาตรการเหล่านี้จะนาไปใช้ได้จริงหรือเหมาะสมกับบริบทของคุณทุกอย่าง ดังนั้นจึงควรปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความต้องการและลาดับความสาคัญของฟาร์มของคุณ เราขอแนะนาว่าแผนที่จะนาไปใช้สาหรับฟาร์มควรมาจากจากการสนทนาในวงกว้างกับทีมของคุณเพื่อให้เกิดการยอมรับ ความเข้าใจ และการปฏิบัติจริงได้อย่างเต็มที่]
ติดตามผล:
ควรมีการทบทวนแผนเป็นระยะ (แนะนำว่าทุกๆสามเดือน) และควรทำการทบทวนแผนร่วมกับเจ้าหน้าที่ทุกคน
หมายเหตุ:
-
อย่าลืมว่าแสงแดดและสภาวะที่แห้งสามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ ในขณะที่สภาวะที่มีร่มเงาและชื้นจะช่วยให้
ไวรัสเจริญเติบโตได้ดี
-
น้ำยาหรือสารฆ่าเชื้อทุกชนิดต้องใช้เวลาสัมผัสนานพอสมควรที่จะฆ่าเชื้อไวรัส ASFV เนื่องจากไวรัสมีเกราะป้องกันที่หนาแน่น (เหมือนหัวหอม) ไวรัสจะหยุดทำงานหากมีค่า pH สูงและ pH ต่ำ (<4 และ >11) น้ำยาฆ่าเชื้อหลายชนิดใช้ได้ดีแต่ต้องใช้เวลาสัมผัสกับเชื้อ
- สารฆ่าเชื้อหลายชนิดมีประสิทธิภาพเช่น: คลอรีน ไอโอดีน ฟอร์มาลิน และโซดาไฟ (น้ำด่าง; NaOH) ล้วนมีประสิทธิภาพ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่เว็บไซท์ Disinfectants for Use Against ASFV
-
การเหยียบเท้าผ่านน้ำยาฆ่าเชื้อโรคนั้นค่อนข้างยุ่งยากและจำเป็นต้องเปลี่ยนน้ำยาทุกวันเพื่อให้การรักษาความสะอาดมีประสิทธิภาพ
- มีคำแนะนำ (เกี่ยวกับเรื่องค่าใช้จ่าย) คือให้เติมน้ำยาฟอกขาวเข้มข้น (240 มล.ต่อน้ำ 4.5 ลิตร) ในอ่างที่ใช้สำหรับเหยียบเท้า จากนั้นเตรียมปูนขาวแห้งในถาดที่จะเหยียบต่อขณะรองเท้าเปียก ทั้งสองอย่างราคาค่อนข้างถูกและมีประสิทธิภาพหากรักษาความสะอาดอยู่เสมอและคอยเปลี่ยนใหม่
-
ยางล้อรถที่ใช้เป็นพาหนะไม่สัมผัสน้ำยานานพอที่จะฆ่าเชื้อโรค และยางรถนี้ปนเปื้อนได้ง่าย หากเป็นไปได้ ให้ล้างยางรถแล้วขับผ่านปูนขาวแห้ง ส่วนที่เป็นพื้นที่ปูนขาวต้องมีความยาวพอที่เส้นรอบวงทั้งหมดของยางจะได้สัมผัสกับปูนขาว