This article is from ECHO Asia Note #28
[บก.: คุณคีท มิคเคิลสัน เคยทาการเกษตรยั่งยืนที่บ้านเด็กกาพร้า ชื่อว่าบ้านอโลฮาที่เมืองปวยร์โต ปรินเซซา ประเทศฟิลิปปินส์เป็นเวลา15 ปี โดยได้ทาการผลิตอาหารที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการและผลิตได้จากวัตถุดิบในฟาร์มให้กับเด็กกาพร้าและคนในพื้นที่ได้รับประทาน เอคโค เอเชียมีโอกาสพิเศษที่ได้ไปเยี่ยมคุณคีท และครอบครัวที่บ้านอโลฮา รวมถึงในช่วงที่ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการผลิตอาหารที่ยั่งยืนที่เอคโคเอเชียฟิลิปปินส์เป็นผู้มีส่วนร่วมจัดขึ้นทั้งสองครั้ง บ้านอโลฮามีผลผลิตเป็นที่น่าประทับใจมากภายใต้พื้นที่ขนาดเล็กและใช้ปัจจัยการผลิตที่มาจากภายนอกน้อยมาก คุณคีทเป็นผู้ที่ใจกว้างและแบ่งปันประสบการณ์รวมถึงความรู้ให้กับผู้มาเยือนและกับเครือข่ายเอคโคอยู่เสมอ ในสารเอคโคเอเชียฉบัยที่ 20 คุณคีทได้เขียนเกี่ยวกับอาหารหมูที่ผลิตจากวัตถุดิบในฟาร์ม และในบทความฉบับนี้ คุณคีทจะแบ่งปันพื้นฐานบางอย่างสาหรับการผลิตอาหารไก่ด้วยวัตถุดิบจากฟาร์ม ซึ่งแนวคิดในบทความเหล่านี้คือเพื่อลดปัจจัยการผลิตที่ต้องซื้อเข้ามาในฟาร์ม เพื่อประหยัดเงินทุนและเพื่อเลี้ยงไก่แบบยั่งยืนมากขึ้น]
คานา
ความอุดมสมบูรณ์ที่เกิดขึ้นในฟาร์มทาให้เกิดระบบการเกษตรที่ยั่งยืนมากขึ้น เศษวัสดุจากผลผลิตและมูลสัตว์เป็นส่วนของวงจรธาตูอาหารสาหรับพืชและช่วยลดต้นทุนด้วยการใช้ปุ๋ยหมัก, การเลี้ยงไส้เดือน, การทาปุ๋ยโบกาชิ และ/รวมถึงปุ๋ยพืชสด นอกจากนั้นอาหารที่ได้จากวัตถุดิบในฟาร์มยังสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ ถ้าเกษตรกรมีการจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะไก่นั้นเป็นสัตว์ที่มีค่าใช้จ่ายที่สูงมากในการเลี้ยงในพื้นที่ขนาดเล็กถ้าต้องเลี้ยงด้วยอาหารที่ซื้อมา ในสารเอคโคเอเชียนี้ เราจะพิจารณถึงทางเลือกอื่นที่จะนามาใช้เป็นอาหารสาหรับไก่และอาจรวมถึงสัตว์ปีกอื่นๆ
ส่วนผสมของอาหารไก่จะต่างกันไปตามพื้นที่ที่มีการเลี้ยงไก่ทั่วโลก การเลือกนั้นมักจะขึ้นอยู่กับว่ามีอะไรให้เลือก คุณภาพเป็นอย่างไรและราคาเท่าไร ในขณะที่การใช้วัตถุดิบอื่นๆต้องคานึงถึงหลักการทางวิทยาศาสตร์ เช่นโปรตีนหยาบหรือโปรตีนที่ย่อยได้ ประโยชน์ด้านโภชนาการของวัตถุดิบเหล่านี้ยังไม่ได้มีการวิจัยที่แน่นอนหรือแน่ชัด ไก่นั้นเป็นสัตว์ที่กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหารและเติบโตได้ดีด้วยการเลี้ยงแบบปล่อย เลี้ยงในกรง หรือแม้แต่ในสภาพพื้นที่ป่าที่ไม่จากัดบริเวณไว้ ในบทความนี้ ผมจะแบ่งปันวิธีการที่จะใช้วัตถุดิบจากฟาร์มให้มากที่สุดในการทาอาหารไก่ที่เลี้ยงแบบปล่อย โดยจะใช้อาหารที่เป็นธรรมชาติที่สุดเท่าที่จะหาได้ตามความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ จากนั้นจะอธิบายถึงการทาให้อัตราอาหารเข้มข้นขึ้นในกรณีที่คุณมีพื้นที่ที่ไม่มากที่ให้ไก่ได้ออกกาลังกายหรือต้องเลี้ยงไก่ไว้ในกรงหรือในพื้นที่จากัด
การเลี้ยงแบบปล่อยในทุ่งหญ้า
ทุ่งหญ้านี้อาจเป็นอะไรก็ได้ตั้งแต่พืชตระกูลถั่วที่ขึ้นแบบหนาแน่นและหญ้าชนิดต่างๆ ไปจนถึงพื้นที่ที่มีวัชพืชขึ้นเป็นหย่อมๆ การนาไก่ออกไปให้พบกับแสงแดดเป็นวิธีที่ดีที่จะเสริมวิตามินดีให้ไก่มีสุขภาพดีและเพื่อปริมาณสารอาหารในไข่และในเนื้อไก่ เราไม่ต้องการไก่ที่ถูกขังไว้โดยไม่โดนแสงแดดและมีชีวิตอยู่แต่ในที่มืด!
ปัญหาหนึ่งของการเลี้ยงสัตว์แบบธรรมชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือการป้องกันไก่พวกนี้จากศัตรู ในทุ่งหญ้าหรือในป่าที่อาจมีอาหารและแมลงมากมายที่ให้โปรตีนแต่ก็จะมีความเสี่ยงเรื่องของศัตรูในธรรมชาติหรือแม้แต่ขโมย กรงไก่แบบเคลื่อนย้ายได้เป็นวิธีหนึ่งที่จะปกป้องไก่ไม่ให้สูญเสียไปได้ กรงไก่นี้ออกแบบสาหรับฝูงไก่ขนาดเล็ก เช่นกรงที่เรามีขนาด 1.2 ม. x 3 ม. เหมาะสาหรับไก่เนื้อ 10 ถึง 15 ตัว แต่ถ้าเป็นไก่ไข่ก็ให้มีจานวนไก่เพียงครึ่งเดียวของไก่เนื้อ ในกรงไก่แบบเคลื่อนย้ายได้นี้จะมีภาชนะใส่น้าและอาหารอยู่ โดยเราจะย้ายกรงนี้วันละครั้งหรือสองครั้ง ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของไก่และขนาดของไก่ กรงมีน้าหนักเบาพอที่จะย้ายด้วยคนๆเดียว (ภาพที่ 2) เราพบว่าล้อมักจะกลายเป็นปัญหาในพื้นที่ของเมืองปาลาวันที่เป็นเนินเขา จึงได้ออกแบบ “กรงลากเลื่อนอโลฮา” เป็นอีกทางเลือกหนึ่งแทนการใช้ล้อ (ภาพที่ 3)
ขณะทาการย้ายกรงไก่ ควรดันจากด้านหลังเพื่อไม่ให้กรงทับไก่ ไก่มักจะวิ่งหนีเมื่อถูกรบกวน ดังนั้นถ้าเราดึงกรงจากด้านหน้า ไก่จะวิ่งไปอยู่ด้านหลังและอาจได้รับบาดเจ็บ
รั้วที่ใช้นี้เป็นสาหรับไก่หรือสัตว์ปีกโดยเฉพาะ เราไม่ขอแนะนาให้เอารั้วไฟฟ้าสาหรับวัวหรือควายมาใช้กับไก่ แต่เราอยากแนะนาให้ใช้ตาข่ายไฟฟ้า (Electronet) ที่ออกแบบมาเฉพาะสาหรับสัตว์ปีก
ถ้าคุณไม่สามารถจัดการให้มีไฟฟ้าในพื้นที่ของคุณได้ อย่างน้อยก็ควรให้ไก่มีพื้นที่สาหรับออกไปคุ้ยเขี่ย อาจเป็นพื้นที่ขนาดเล็กที่กั้นรั้วไว้เพื่อให้ไก่ปลอดภัยจากศัตรูและมีแสงแดดที่พอดีให้กับไก่ พื้นที่คุ้ยเขี่ยนี้สามารถตัดพืชและ/หรือพืชชนิดต่างๆมาใส่ไว้และนาวัตถุดิบเหลือใช้จากสวนมาใส่ไว้ให้ไก่ได้กินด้วย ผมมีเพื่อนที่ประเทศดูไบที่ใช้หญ้าจากสนามหญ้าที่ตัดแล้วมาเป็นอาหารเสริมและเป็นวัสดุรองพื้นกรงไก่ด้วย ถ้ามองหาดีๆคุณจะพบว่ามี “เศษสิ่งเหลือใช้”มากมายที่สามารถนามาเป็นอาหารไก่ได้!
ถ้าจะให้ดีกว่านั้นควรมีพื้นที่ขนาดใหญ่ให้ไก่ได้หาอาหาร ในประเทศฟิลิปปินส์ เราปลูกถั่วเขียว (เมล็ดหาได้จากธนาคารเมล็ดพันธุ์เอคโค เอเชีย) เป็นการปลูกพืชหมุนเวียนสาหรับคลุมหน้าดิน เราพยายามปลูกให้ได้ถึงระยะที่จะใช้เป็นอาหารสัตว์และปล่อยให้ถึงระยะออกดอกแล้วจึงปล่อยไก่เข้าไปกินก่อนที่จะเกิดฝักถั่ว ถ้าคุณต้องการปลูกเพื่อเก็บฝักถั่วก็สามารถทาได้ แต่สารอาหารในระยะนั้นจะมีน้อยกว่าในระยะออกดอก เมื่อพื้นที่หนึ่งหมดไปแล้ว ก็ปิดกั้นไว้เพื่อปลูกทดแทน และนาไก่ไปปล่อยให้หาอาหารในพื้นที่ใหม่ ผมแนะนาว่าควรมีพื้นที่แบบนี้ไว้ประมาณ 3 แปลงหรือมากกว่านั้นถ้ามีพื้นที่กว้างพอ
การคุ้ยเขี่ย
อาหารเสริมจากการคุ้ยเขี่ยอาหารกินของไก่อาจได้มาจากการโรยเมล็ดธัญพืชไว้ตามพื้น แปลงที่จัดไว้ให้ไก่ออกมาเดินหาอาหาร เกษตรกรส่วนใหญ่จะทาเสียงเรียกพิเศษเพื่อให้ไก่ได้ยินเพื่อจะมากินอาหารเสริมนี้ โดยโยนไปบนหญ้าหรือโปรยลงบนพื้นที่มีหญ้าหรือใบไม้อยู่ (เพื่อเพิ่มการถ่ายเทอากาศขณะที่ไก่คุ้ยเขี่ยหาเมล็ด) การให้อาหารเสริมแบบนี้จะกระตุ้นให้ไก่คุ้ยเขี่ยหาอาหารและทาให้ไก่เดินไปยังที่ที่อาจยังไม่เคยไปเดินหาอาหาร นอกจากนี้จะช่วยทาให้เกษตรกรนับจานวนไก่ที่มีอยู่ได้
เมล็ดข้าวโพดบดเป็นอาหารเสริมที่นิยมใช้กันในพื้นที่ส่วนใหญ่ แต่มักจะมีราคาแพง จริงๆแล้วในหลายพื้นที่นั้นมีถั่ว เมล็ดธัญพืชต่างๆที่ช่วยในการเติบโตและทาให้ไก่มีสุขภาพที่ดี ตัวเลือกอาหารเหล่านี้มีไม่จากัด เพราะไม่ว่าที่ใดที่มีการเลี้ยงไก่อยู่ทั่วโลก เกษตรกรสามารถทดลองใช้อาหารเสริมมากมาย ไม่ว่าจะเป็นข้าวโพดบด, ถั่วพิลี, ถั่วเขียว, ถั่วแดง, ถั่วลิสง, ฯลฯ เมื่อต้องเลือกอาหารที่จะให้ไก่คุ้ยเขี่ยกิน ให้เลือกอาหารที่สามารถใช้มือโปรยกระจายได้ทั่ว เป็นอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่นและราคาถูก
ประโยชน์ของการเลี้ยงไก่แบบให้กินหญ้า
วิธีที่ประหยัดและง่ายที่สุดในการเลี้ยงไก่คือการจัดพื้นที่ที่มีหญ้าหรือให้ไก่ได้กินอาหารจากพืชสีเขียวที่ตัดมาให้ แหล่งโปรตีนต่างๆที่ได้จากฟาร์มเช่นแหนแดงหรือหนอนแมลงวันลาย สามารถนามาใช้เพื่อเสริมอาหารที่เป็นหญ้าหรือพืชสีเขียวได้
ไก่ที่กินหญ้าจะให้สารอาหารมากมายที่เป็นประโยชน์ได้แก่:
- มีไขมันที่มีวิตามินชนิดละลายในไขมัน (A, D, E, K) มากกว่า
- ในไขมันจะมีกรดไขมัน Conjugated Linoleic Acid (CLA) มากกว่า ซึ่งเป็นสารช่วยต้านมะเร็งและช่วยในการลดน้าหนัก
- มีเกลือแร่มากขึ้น – พบในไขมันเป็นส่วนใหญ่
- หากให้พวกเมล็ดธัญพืชน้อยลงและพืชสีเขียวมากขึ้น รวมถึงให้พวกแมลง ปลาป่น มะพร้าวป่น ฯลฯ อัตราส่วนของกรดไขมันโอเมกา 3 และโอเมกา 6 ในไก่ที่เลี้ยงด้วยหญ้าจะมีความใกล้เคียงกับอาหารที่คนบริโภคในสมัยก่อนมากกว่าและมีประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้บริโภคมากกว่าการบริโภคไก่ที่เลี้ยงแบบสมัยใหม่ สัตว์ที่เลี้ยงด้วยเมล็ดธัญพืชจะมีระดับของกรดไขมันโอเมกา 6 ที่สูงเกินไป แต่แทนที่เราจะเพิ่มกรดไขมันโอเมกา 3 ไว้ในอาหารไก่ เราสามารถลดกรดไขมันโอเมกา 6 ด้วยการลดปริมาณธัญพืชและใช้แมลงกับปลาป่นแทนเพื่อเกิดความสมดุลทางโภชนาการ ดร. Weston Price พบว่าอัตราส่วนที่เกือบเท่ากันของกรดไขมันโอเมกา3/6ในอาหารของมนุษย์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดควรมีค่าโดยรวมแล้วไม่เกิน 5-6% ของไขมันที่บริโภคเข้าไปเป็นแคลอรี่ (ภาพที่ 5) (Fallon et al., 2000) เพื่อให้คุณภาพของเนื้อ, ไข่ และไขมันมีความสมดุลสาหรับการบริโภคของมนุษย์และสุขภาพที่ดีของไก่ เราจึงจาเป็นต้องรักษาสมดุลของกรดไขมันโอเมกา 3 และ 6 ในอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่
การผลิตอาหารไก่จากวัตถุดิบที่ได้จากฟาร์ม และสูตรอาหาร
เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่จะสามารถผลิตอาหารคุณภาพสูงได้เองจากการลองผิดลองถูกและการจดบันทึกอย่างละเอียด ในหลายๆประเทศเกษตรกรสามารถหาซื้อส่วนผสมสาหรับทาอาหารที่ราคาถูกได้ แต่อย่างไรก็ตาม ส่วนผสมที่ได้จากฟาร์มจะยิ่งทาให้อาหารไก่มีราคาถูกลงได้อีกมาก! ที่ฟาร์มของเรา คนสองคนสามารถผลิตอาหารเปียกปริมาณ 200 กิโลกรัมได้ภายในเวลาไม่ถึงชั่วโมง วัตถุดิบหลายอย่างสามารถนามาใช้เพื่อให้ได้อัตราส่วนที่สมดุล คาแนะนาที่ดีที่สุดที่ผมพอจะให้ได้คือการปรับไปตามสภาพแวดล้อมที่อยู่และดูว่ามีอะไรบ้างที่ราคาถูก (หรือฟรี!) อย่าจากัดตัวเลือก แต่ให้ลองศึกษาดูหลายๆอย่าง ต่อไปนี้ผมจะอธิบายถึงส่วนผสมต่างๆที่หาได้ในเขตพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เฟิร์นลอยน้าและแหน เป็นอาหารทางเลือกอย่างหนึ่ง
เฟิร์นลอยน้าและพืชน้าหลายชนิดมีโปรตีนสูง พืชน้าเจริญเติบโตได้ดีในบ่อหรือสระที่มีความอุดมสมบูรณ์พอที่จะเลี้ยงให้มันเจริญเติบโตได้ พืชน้านี้สามารถนาไปทาเป็นอาหารไก่และเป็นอาหารเสริมราคาถูกที่ดียอดเยี่ยมถ้าต้องซื้ออาหารหลักมาในราคาแพง เฟิร์นลอยน้าเช่น แหนแดง (Azolla spp.) และจอกหูหนู (Salvinia spp.) สามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้มากถ้ามีการเพาะและเก็บเกี่ยวที่มีประสิทธิภาพ (ภาพที่ 6) ส่วนแหนหรือแหนเป็ด (มีสายพันธุ์ต่างกันไป) สามารถนามาใช้ได้ด้วย สัตว์พวกหมูและสั้ตว์ปีก (ที่กินทั้งพืชและสัตว์) มักชอบกินพืชเหล่านี้เป็นจานวนมากเมื่อเราเอาให้เป็นอาหาร มีวิธีการอื่นๆในการเพาะเลี้ยงพืชเหล่านี้อีกได้แก่ การแยกเพาะเลี้ยงเฉพาะพืชเหล่านี้ในบ่อ, ในภาชนะหรือรางน้า หรือในแพที่มีตาข่ายกักไว้ในบ่อเดียวกับที่มีการเลี้ยงปลา อย่าลืมว่า อาหารไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตามที่เติบโตภายในบ่อเลี้ยงปลาจะต้องแยกกันออกไว้เป็นอย่างดีจากปลา ไม่เช่นนั้นปลาจะไปกินจนเกินปริมาณที่ต้องการจนหมดไม่มีเหลือ ในภาพที่ 6 ปลาจะอยู่ในบ่อแยกต่างหาก และแหนแดงเจริญเติบโตจากสารอาหารและน้าที่มีเครื่องปั๊มส่งมาจากปลาและวนกลับไปหาปลาเป็นน้าที่สะอาดและเต็มไปด้วยออกซิเจน [หมายเหตุจากบรรณาธิการ: ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้เฟิร์นลอยน้าและแหนเป็ดเป็นอาหารปลาและอาหารหมูสามารถดูได้ที่สารเอคโค่เอเชีย ฉบับที่ 20 และ 25]
ในประเทศอินเดีย ได้มีการทดลองเพื่อเปรียบเทียบ Lemna minor (แหน), Ipomoea reptans (ผักบุ้ง), Trapa natans (กระจับ) และ Salvinia cuculata (จอกหูหนูที่มักเข้าใจผิดว่าเป็นแหน) ผลที่ได้คือ ทั้งแหนและผักบุ้งมีอัตราการแปรสภาพเป็นอาหารที่ดีและมีโปรตีนสูงเป็น ร้อยละ28 และร้อยละ 32 ตามลาดับ (Kalita, 2007) พืชทั้งสองชนิดนี้เป็นพืชที่ใช้เป็นอาหารสัตว์ได้เป็นอย่างดี ผมเสียดายว่าน่าจะมีแหนแดงรวมอยู่ในการศึกษานี้ด้วย เพราะถือเป็นเฟิร์นลอยน้าที่โตเร็วและมีรายงานว่าประกอบไปด้วยโปรตีนอยู่ที่ระหว่างร้อยละ 19-30
อีกอย่างที่ต้องระมัดระวังคือการไม่เก็บพืชเหล่านี้มาใช้มากจนเกินไป ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาสภาพการเพาะเลี้ยงปลาแบบยั่งยืน มีหลักการทั่วๆไปอย่างหนึ่ง (ภายใต้สภาพที่สมบูรณ์แบบ) คือให้เก็บพืชลอยน้าเหล่านี้มาใช้โดยไม่ให้มากเกินครึ่งของน้าหนักโดยรวมของพืชต่ออาทิตย์ (หรือ 1/7 ของน้าหนักโดยรวมทั้งหมดต่อหนึ่งวัน) ซึ่งเคล็ดลับอยู่ที่การรักษาพืชให้อยู่ในระยะที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงควรต้องเฝ้าดูว่าวิธีใดจะใช้ได้ผลดีในระบบที่มีอยู่ แหนแดงนั้นจะทนต่อการเคลื่อนที่ของน้าได้ดีกว่าแหนเป็ด และจอกหูหนูนั้นโตเร็วที่สุดแต่อาจไปแย่งพื้นที่ของพืชอื่นได้ จากการศึกษาในระยะเวลา 1 ปี ที่มีการวัดผลผลิตของแหนแดงในสภาพที่ปลูกในน้าแสดงให้เห็นผลผลิตในระยะตั้งแต่ 310 กรัมถึง 490 กรัมต่อวัน โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง
การเลี้ยงหนอนแมลงวันลาย(Hermetia illucens) แบบให้อาหารเองอัตโนมัติ
เศษอาหารหรือมูลสัตว์สามารถนามาใช้ในการเพาะเลี้ยงหนอนแมลงวันลาย (Black Soldier Fly (BSF) (Hermetia illucens) เพื่อใช้เป็นอาหารเสริมกับไก่ของเรา ตัวอ่อนของแมลงวันลายนี้สามารถเติบโตจากเศษวัสดุที่ไม่ต้องใช้เงินทุนมาก หนอนที่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีจะหลั่งสารธรรมชาติของแมลงวันเรียกว่าไซโนโมน (synomone) ซึ่งเป็นสารที่ใช้สื่อสารทางเคมีระหว่างสัตว์ต่างชนิดกัน และสารนี้จะไปเตือนแมลงวันชนิดอื่นให้ออกห่างจากแหล่งอาหารเพราะหนอนแมลงวันลายอยู่ตรงนั้นก่อนแล้ว การออกแบบภาชนะที่ใช้เลี้ยงหนอนแมลงวันลายสามารถหาได้มากมายทางออนไลน์ ภาชนะนี้มีไว้เพื่อให้หนอนเติบโต เมื่อมีการจัดการที่เหมาะสม หนอนที่โตแล้วจะย้ายจากภาชนะนี้ไปยังทางที่ลาดเอียงขึ้นไป 35º และตกลงไปอยู่ในภาชนะที่รองรับไว้ด้านล่าง ลงไปโดยตรงยังบ่อปลา หรือในเล้าไก่ (ภาพที่ 7 & 8)
ประโยชน์ของการหมักต่อการผลิตอาหารสัตว์ที่ใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในฟาร์ม
ประสิทธิภาพในการย่อยและอายุของอาหารไก่จะเพิ่มขึ้นด้วยการทางานของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในระหว่างขั้นตอนการผลิต ผลที่ได้จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการใช้จุลินทรีย์ช่วยเพิ่มโปรตีนหยาบในเนื้อมะพร้าวแห้งจากร้อยละ 17.24 เป็นร้อยละ 31.22 และมีการพบด้วยว่ากรดอมิโนถูกพัฒนาให้ดีขึ้นเป็นอย่างมาก (Cruz, 1997)
อย่าลืมว่าไม่ใช่ไก่ทุกตัวที่ชอบอาหารเปียก เราสามารถผสมอาหารที่ไม่ผ่านขบวนการหมักไว้ในตอนเช้าแล้วนาไปให้ไก่ได้ทันทีถ้าไก่ไม่ชอบอาหารหมักที่มักจะมีสภาพเป็นอาหารเปียก นอกจากใช้เป็นอาหารไก่แล้ว เรายังสามารถหมักอาหารไว้ให้หมู เป็ด และปลาเพื่อเพิ่มความหลากหลายของกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในอาหารสัตว์ แต่ทั้งนี้ไม่แนะนาให้ใช้อาหารหมักในสัตว์เคี้ยวเอื้องพวกวัวและควาย (ซึ่งจะกล่าวถึงในสารเอคโคเอเชียในฉบับต่อไป)
เมื่อทาการหมักอาหารเลี้ยงสัตว์ ควรใช้กลุ่มสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ทั้งแบคทีเรีย ยีสต์ และจุลินทรีย์ที่ได้รับการรับรองแล้วว่าจะไม่มีการปนเปื้อนกับจุลินทรีย์ก่อโรคอื่นๆ ที่บ้านอโลฮา เราใช้ EM-1 ซึ่งมีขายอยู่ภายใต้การรับรองจากการทดสอบในห้องทดลองและได้รับการรับรองเพื่อใช้สาหรับปศุสัตว์และสัตว์น้าโดยสานักงานประมงและทรัพยากรทางน้าแห่งฟิลิปปินส์ โดยผลิตภัณฑ์ EM-1 นี้คิดค้นสูตรโดย ดร.เทรุโอะ ฮิหงะ จากมหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น และมีขายอยู่ในกว่า 100 ประเทศ ซึ่งประเทศไทยขณะนี้ใช้ผลิตภัณฑ์นี้มากกว่าในประเทศญี่ปุ่นแล้ว!
ผลิตภัณฑ์ EM-1 นี้ประกอบไปด้วยเชื้อของ แล็คโตบาซิลลัส, แบคทีเรียสังเคราะห์แสง ยีสต์ที่มีประโยชน์ และอื่นๆ เชื้อเหล่านี้ได้รับอาหารจากน้าตาลและคาร์โบไฮเดรต และขณะเดียวกันก็จะสร้างเมตาโบไลท์ ทุติยภูมิ (secondary metabolites) ที่จะช่วยเพิ่มประเภทของสารอาหารในอาหารสัตว์ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หรือโปรไบโอติกนี้มีคุณประโยชน์อย่างมาก ถ้าต้องการที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ EM-1 ท่านสามารถหาได้จากหนังสือของผมชื่อว่า A Natural Farming System for Sustainable Agriculture in the Tropics เป็นคู่มือและข้อแนะนาเกี่ยวกับเทคโนโลยีของ EM (ภาษาอังกฤษ) และท่านสามารถหาได้ออนไลน์ ซึ่งเป็นไฟล์ PDF ดาวน์โหลดได้ฟรี หรือท่านสามารถหาซื้อทางออนไลน์ได้จากร้านหนังสือของเอคโค่
ในกรณีที่ไม่สามารถหาผลิตภัณฑ์ EM-1 ได้ ให้ทดลองใช้เวย์จากชีสหรือจากโยเกิร์ต จากโรงงานที่มีอยู่ในพื้นที่ โดยให้เริ่มจากปริมาณน้อยๆก่อนด้วยการใช้เวย์ทดแทนในอัตราส่วนเดียวกับที่ใช้ EM1 และปรับให้มากขึ้นถ้ายังไม่มีผลอะไรเกิดขึ้น การหมักที่ดีควรทาให้อาหารมีกลิ่นหวานและเปรี้ยวเมื่อเวลาผ่านไป 2 สัปดาห์ ถ้ามีกลิ่นเหม็นเน่าเหมือน “ไข่เน่า” (จากซัลไฟด์) หรือมีราดาเกิดขึ้นอย่านาไปให้ไก่กิน เพียงทิ้งส่วนที่ทาการทดลองแล้วไม่ได้ผลนั้นไปในกองปุ๋ยหมักแล้วใช้เป็นปุ๋ยต่อไป
อีกทางเลือกหนึ่งถ้าไม่ใช้ EM-1 คือการใช้จุลินทรีย์ท้องถิ่น (Iindigenous Microorganisms หรือ IMOs) ในระบบเกษตรธรรมชาติเกาหลี (KNF หรือย่อมาจาก Korean Natural Farming) ที่บอกว่า “วัสดุทางการเกษตรนามาผสมกับน้าตาล เกลือ และสารละลาย IMO” [บก: สาหรับรายละเอียดเพิ่มเติมในการทาและใช้ IMOs สามารถดูได้ที่ “An Introduction to Asian Natural Farming” ที่เว็บไซท์ ECHOcommunity.org. นอกจากนั้นยังมีหนังสือเกษตรกรรมธรรมชาติและหนังสือการ์ตูนจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่พูดถึง IMOs ในรายละเอียดและหาได้ที่สานักงานเอคโค เอเชีย ที่เขียนทั้งภาษาไทย, อังกฤษ และเขมร และกาลังจะมีในภาษาพม่า, อินโดนีเซีย, กะเหรี่ยง, ตากาล๊อก และจีนกลาง]
ปลาป่นเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีอีกอย่างหนึ่ง มีการใช้ปลาทะเลป่นหรือปลานิลป่นหลายแห่งและได้ผลดี การใช้ปลาป่นโดยทั่วไปแล้วจากัดอยู่ที่ 5-10% ในอาหารไก่ แต่เราใส่มากกว่านั้นสาหรับอาหารที่เราเอาให้ไก่ของเรากิน การจัดการเรื่องอาหารสาหรับไก่เรานั้นจะให้มีพวกหญ้าที่ปลูกไว้ พืชสีเขียว การคุ้ยเขี่ย การให้อาหาร และให้เกลือแร่ที่ไก่จะเลือกเอง โดยคานึงถึงความหลากหลาย ให้ไก่ได้เลือกเองและสร้างสมดุลในอาหารของมันเอง ให้ไก่มีการปรับตัวตามธรรมชาติหรือมีสารอาหารทดแทนในปริมาณที่เหมาะสม อย่าลืมว่าปลาป่นนั้นมีคุณภาพแตกต่างกันไปและอาจเป็นไปได้ที่จะเป็นแหล่งปนเปื้อนของเชื้อซาลโมเนลล่าเมื่อนาไปใช้เป็นส่วนผสมในอาหารไก่ นอกจากนี้ ปลาป่นปริมาณมากในอาหารไก่อาจทาให้เนื้อไก่และไข่ไก่มีรสชาติเหมือนปลาได้ (Ponce et al., 2002)
ปัญหาที่พบกับถั่วเหลืองและพืชดัดแปลงพันธุกรรม
การดาเนินงานที่บ้านอโลฮาจะไม่มีการใช้ถั่วเหลืองเลยเนื่องจากผลกระทบของถั่วเหลืองที่ไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ในถั่วเหลืองมีสารยับยั้งไฟโตเอสโตรเจนและเอนไซม์ที่เป็นปัญหาต่อสัตว์เลี้ยงและมนุษย์ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับถั่วเหลืองมีบันทึกไว้ต่อไปนี้:
- กรดไฟติกในถั่วเหลืองที่มีในปริมาณสูงจะลดการดูดซึมธาตุแคลเซียม, แมกนีเซียม, ทองแดง, เหล็ก และสังกะสี [บก.: สามารถดูบทความ EDN 103 “Phosphorus (and other) Deficiencies in a Diet High in Phosphorus,” เกี่ยวกับปัญหาของกรดไฟติก]
- สารยับยั้งเอนไซม์ทริพซินในถั่วเหลืองจะแทรกแซงการย่อยโปรตีนและอาจทาให้เกิดการทางานที่ผิดปกติของตับอ่อน ในการทดลองกับสัตว์ที่กินถั่วเหลืองที่มีสารยับยั้งเอนไซม์ทริพซินส่งผลให้การเจริญเติบโตหยุดชะงัก
- กราไฟติกในถั่วเหลืองไม่สามารถทาให้เป็นกลางได้ไม่ว่าจะเป็นการแช่น้า, เพาะเมล็ด และเคี่ยวไฟอย่างช้าๆ
- อาหารที่มีกรดไฟลิกสูงมักจะก่อให้เกิดปัญหาด้านการเจริญเติบโตในเด็ก
- ไฟโตเอสโตรเจนในถั่วเหลือง (เช่น เอสโตรเจนในพืช) จะขัดขวางการทางานของต่อมไร้ท่อและอาจเป็นสาเหตุของการเป็นหมันและกระตุ้นให้เกิดมะเร็งเต้านมในหญิงที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่
- ไฟโตเอสโตรเจนในถั่วเหลืองเป็นตัวต้านไทรอยด์ที่เป็นสาเหตุของภาวะขาดไทรอยด์และอาจเป็นสาเหตุของมะเร็งต่อมไทรอยด์ ส่วนในทารก การกินนมถั่วเหลืองมีส่วนทาให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันทางไทรอยด์บกพร่อง
- กลุ่มวิตามิน B12 ในถั่วเหลืองไม่สามารถดูดซึมได้และยังทาให้ร่างกายต้องการวิตามิน B12 เพิ่มขึ้น(Nienhiser, 2003)
[บก: ดู “อ้างอิงข้อถกเถียงเกี่ยวกับถั่วเหลือง” ในตอนท้ายของบทความ]
จีเอ็มโอ (GMO) หรือ สิ่งมีชีวิตที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรม (genetically modified organisms) ถือเป็นปัญหาเช่นกัน ในการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้แสดงถึงความเชื่อมโยงกันระหว่างมะเร็งกับหมูที่กินถั่วเหลืองและข้าวโพดจีเอ็มโอ (Carman, n.d., 2013) เรามีผลผลิตอื่นๆอีกหลายอย่างที่สามารถเลือกได้ ดังนั้นที่บ้านอโลฮาจึงหลีกเลี่ยงจีเอ็มโอ ผลจากการให้อาหารที่เป็นถั่วแดงป่น (Phaseolus vulgaris) แทนถั่วเหลืองป่นมีส่วนเกี่ยวข้องกับคุณภาพไข่ที่ลดลงของไก่สายพันธุ์เลกฮอร์นขาว (Hussein et al., 2015) แม้โปรตีนถั่วเหลืองมีราคาถูกแต่อาจไม่มีกรดอมิโนที่ดีที่สุดสาหรับการเจริญเติบโตของไก่เมื่อเทียบกับปลาป่น ดังนั้นปลาป่นน่าจะดีที่สุดเพราะเมื่อประเมินอาหารเสริมโปรตีนปลาป่นกับอาหารที่มีขายอยู่ทั่วไปสาหรับไก่ไข่และคุณภาพของไข่ในพื้นที่เขตร้อน จากการศึกษาพบความเชื่อมโยงที่สาคัญต่อกรดอมิโนที่นาไปใช้ได้ในปลาป่น (Omeke et al., 2013)
อาหาร EM หมักบ้านอโลฮา
“อาหาร EM หมักบ้านอโลฮา” ของเราประกอบไปด้วยโปรตีนหยาบ 19.00% และที่เมือง
ปาลาวัน ประเทศฟิลิปปินส์โปรตีนหยาบมีราคา 0.36 เหรียญสหรัฐ/กก. หรือประมาณ 11 บาท/กก.(ตารางที่ 1) เราประสบความสาเร็จดีในการใช้อาหารนี้เลี้ยงไก่เนื้อและไก่ไข่ หินปูน (ขนาดเล็กกว่า0.5 มม.) ที่รวมอยู่ในอัตราส่วนนี้สาคัญต่อการเจริญเติบโตของกระดูก นอกจากนี้ไก่ไข่ยังต้องได้รับแคลเซียมเพิ่มเติม ซึ่งจะพูดถึงในส่วนต่อไปสูตรอาหารในตารางที่ 1 เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการเริ่มทาอาหารไก่ที่ใช้วัตถุดิบจากฟาร์มเพราะประหยัดเวลาและนาของเหลือใช้กลับมาใช้ใหม่ได้ ถ้าคุณสามารถจัดการตารางที่ซับซ้อนกว่านี้สาหรับความต้องการโปรตีนของไก่ขณะที่ไก่กาลังโต คุณก็สามารถทาได้ด้วยการปรับส่วนปริมาณของโปรตีนซึ่งก็คือปลาป่น
อาหารเสริมสาหรับลูกไก่อายุยังไม่ถึงเดือน
คุณอาจเพิ่มขีดความสามารถในการให้อาหารลูกไก่โดยไม่ใช้ฮอร์โมนแต่ใช้อาหารเสริมธรรมชาติที่มีคุณค่าที่สามารถทาได้จากวัตถุดิบในฟาร์ม (ตารางที่ 2) อาหารเสริมเหล่านี้จะช่วยให้ไก่เจริญเติบโตได้ดีขึ้นและเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค ต่อไปนี้เป็นรายละเอียดของอาหารเสริมแต่ละอย่าง
อาหารเสริมใบไผ่ และข้าวกล้อง
ในวันแรกที่ไก่ออกจากไข่ เราจะสับใบไผ่ให้ละเอียดและผสมกับข้าวกล้องป่นในปริมาณเท่ากัน ไม่ต้องห่วงว่าจะทาให้ไก่หิว เพราะตั้งแต่วันแรกลูกไก่จะมีอาหารจากไข่อยู่และอาหารที่มีไฟเบอร์สูงก็ไม่เป็นอันตรายต่อลูกไก่ วิธีนี้จะช่วยยืดระบบทางเดินอาหารและทาให้กินอาหารได้มากขึ้น [บก.: การให้ข้าวป่นและใบไผ่สับกับไก่อายุ 1 วันเป็นสิ่งทาโดยทั่วไปอยู่แล้วแต่ก็ไม่เคยมีการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์] ผู้ขายอาหารสัตว์ส่วนใหญ่ยอมรับว่า “ลูกไก่ไม่จาเป็นต้องกินอาหารหรือน้าเป็นเวลา 48 ชั่วโมงหลังจากฟักออกจากไข่” (Hamre, 2013)
อาหารเสริมกล้วยและแตงโมสับ
กล้วยและแตงโมสับในปริมาณเท่าๆกันนี้สามารถเอาให้ลูกไก่กินเสริมพร้อมกับอาหารอย่างอื่นเช่นราข้าวหรือข้าวโพดป่น ให้ไก่เลือกกินเองว่าจะกินอะไรจากที่มีอยู่และให้แยกอาหารเสริมนี้ออกจากอาหารปกติ
อาหารเสริมน้าสมุนไพร
สับว่านหางจรเข้และขิงให้ละเอียดอย่างละ 100 กรัม แล้วผสมกับกากน้าตาล 100 กรัมและน้า EM1 อีก 100 มล. หมักกับน้า 2 ลิตรเป็นเวลา 2 อาทิตย์ กรองเอากากทิ้ง เก็บไว้แต่ส่วนน้า นาไปผสมกับน้าในอัตราส่วน 1:1 โดยอาจเติมน้าส้มสายชูธรรมชาติเข้าไปด้วย 1-3% ของปริมาณที่จะเอาไปให้ลูกไก่กิน
น้า EM
“Effective Microorganisms Activated Solution” (EMAS หรือน้า EM) จะช่วยในการย่อยโดยเป็นตัวควบคุมขบวนการของเอ็นไซม์ น้า EM ทาได้โดยละลาย EM กับน้า 200 ส่วนเพื่อให้ได้อัตราส่วน 1:200 เราให้น้า EM เมื่อจาเป็น
แผนการเลี้ยงไก่ไข่
ที่บ้านอโลฮา เราจะคอยให้มีหญ้า ผักบุ้ง หรือพืชใบเขียวอื่นๆอยู่ตลอดเวลาเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่ เราใช้วิธีการเลี้ยงตามแบบของไทยกับไก่ที่โตแล้วที่เราได้เรียนรู้มาจากสระบุรี ที่เรียกว่า “สลัดผัก” เราเพิ่มผักสับ (รวมทั้งแหนแดง) ไว้ด้านบนในส่วนอาหารที่จะให้ไก่ตอนเช้า (ภาพที่ 9) ไก่ไข่มีลักษณะตัวที่ใหญ่และเหนื่อยง่ายจากการเดินหาอาหารกินและมักจะต้องการพืชสีเขียวเพิ่มเป็นพิเศษ การให้อาหารไก่ด้วย “สลัดผัก” จะทาให้ไก่ได้รับสารอาหารเป็นประจานอกเหนือจากอาหารหมัก
การจัดการการเลี้ยงไก่ด้วยวิธีธรรมชาติประกอบไปด้วยการจัดเตรียมพืชสีเขียว, มีพื้นที่ให้ไก่คุ้ยเขี่ย, การให้อาหารตามสัดส่วน (หมักหรืออาหารผสม) และ (เริ่มที่อายุได้ 18 อาทิตย์ตามที่บอกไว้ในตอนต่อไป) ให้ไก่เลือกเองว่าจะกินอาหารที่มีแคลเซียมในรูปแบบของหินปูนบดหยาบหรือบดละเอียด (1.5 มม. – 3.5 มม.) วิธีนี้เป็นการให้ตัวเลือกที่หลากหลายรวมถึงอาหารที่มีแคลเซียมที่หลากหลายด้วย อย่าลืมว่าไก่ไข่โดยทั่วไปแล้วจะออกไข่ตอนเช้า และเปลือกไข่ในตัวไก่จะประกอบรูปร่างจนเสร็จขณะที่มันนอนหลับ ไก่จะดึงแคลเซียมออกมาจากทางเดินอาหารโดยเฉพาะจากส่วนกึ๋น ไก่จึงต้องมีหินปูนเลี้ยงสัตว์แบบหยาบหรือแคลเซียมคาร์บอเนตในรูปแบบอื่นเช่นเปลือกหอย (1.5 มม. – 3.5 มม.) ขณะที่อัตราส่วนเริ่มต้นอยู่ที่หินปูนเลี้ยงสัตว์แบบหยาบ 70% ถึงแบบป่นละเอียด 30% (<0.5 มม.) เป็นอัตราส่วนที่ใช้ในอาหารสัตว์ทั่วไป ตามความเห็นของ Leiterman มีดังนี้ “หลักโดยทั่วไปคือให้มีอัตราส่วนระหว่างแคลเซียมหยาบและป่นละเอียดในอาหารอย่างน้อย 50:50 เนื่องจากไก่ไข่กินอาหารน้อยมากในช่วงเวลามืด จึงสาคัญมากต่อการสร้างเปลือกไข่จากปริมาณแคลเซียมที่เพียงพอที่ยังอยู่ในกึ๋นไก่ในช่วงเวลาที่มืดแล้วขณะที่เปลือกไข่กาลังก่อรูปร่างอยู่” (Leiterman, 2013) ไก่เลือกและสร้างสมดุลในอาหารได้เองจากการเลือกอาหารอร่อยๆที่บ้านอโลฮาเอาให้ การที่มีหินปูนหยาบเตรียมให้ไก่กินได้อยู่ตลอดเวลาทาให้ไก่ไข่ของเราออกไข่เกือบสองเท่าและเราเห็นคุณภาพและความแข็งแรงของเปลือกไข่ที่เพิ่มขึ้น
เป็ดและสัตว์ปีกอื่นๆ
ที่บ้านอโลฮาเราเลี้ยงเป็ดเทศแบบปล่อยหากินในบริเวณที่ปลูกพืชเตรียมไว้ให้พร้อมกับไก่ของเรา เป็ดเทศกับไก่นี้ดูเหมือนจะกินอาหารแตกต่างกันแต่ก็อยู่ด้วยกันได้ดี เราให้อาหารเป็ดเป็นอัตราส่วนปกติแต่ก็มีอ่างน้าสะอาดไว้ให้เมื่อพวกมันต้องการทาความสะอาดตัวเอง เป็ดเทศไม่ค่อยว่ายน้ามากนักแต่พวกมันชอบหญ้ามาก นอกจากนั้นยังชอบจับแมลงที่บินอยู่ ส่วนไก่งวงพื้นเมืองก็สามารถเดินเที่ยวหาอาหารไปกับไก่เนื้อได้ดี แต่เป็ดเทศพันธุ์พื้นเมืองในปาลาวันที่เราทดลองเลี้ยงดูไม่ค่อยได้ผลดีนัก แต่เราจะทดลองอีกครั้งเมื่อได้พ่อแม่พันธุ์ที่ดีกว่า!
เป็ดเนื้อ (พันธุ์ปักกิ่ง) และเป็ดไข่ (พันธุ์มัลลาร์ดหรือเป็ดหัวเขียว) เติบโตได้ดีในสระน้าขนาดเล็กที่มีน้าสะอาดและคุณภาพดี เราสูบน้าจากสระนี้ออกไปยังแปลงที่มีต้นพืชเพื่อใช้รดน้าต้นไม้ด้วยปั๊มเล็กๆ และวางไว้เป็นระบบปิดที่น้าจะวนกลับเข้ามาที่สระ ถือเป็นระบบ “ดั๊คโพนิค” ต้นพืชจะได้สารอาหารที่อยู่ในน้า (จากขี้เป็ด) และต้นพืชช่วยทาให้น้าสะอาดอยู่เสมอ ขณะที่เป็ดว่ายอยู่ในน้านั้นเป็นการช่วยเพิ่มออกซิเจนและเพิ่มปุ๋ยให้กับต้นไม้จากมูลเป็ดที่ถ่ายลงในน้า ต้นพืชทั้งหมดที่ปลูกในระบบนี้นาไปใช้เลี้ยงหมูเนื่องจากไม่เหมาะที่จะให้คนบริโภค ต้นพืชเหล่านี้ได้แก่ผักบุ้ง, ผักสลัดน้า (วอเตอร์ เครส), แหนแดง และแหนเป็ดที่เติบโตอยู่ในระบบดั๊คโพนิคของเรา
สรุป
ทางเลือกหลายอย่างในการเลี้ยงไก่รวมถึงอาหารไก่มีอยู่มากมายในเขตตะวันออกฉียงใต้ และค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงไก่สามารถลดต่าลงได้ด้วยการใช้แหล่งอาหารทางเลือกที่มีอยู่แล้ว ซึ่งหลายอย่างสามารถนามาจากฟาร์มหรือในพื้นที่ ไก่ เป็ดและไก่งวงที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยอาหารที่เหมาะสมจะเป็นแหล่งสาคัญของวิตามินที่ละลายน้า, โปรตีน, ไขมัน และเกลือแร่ที่จะนามาเป็นอาหารของมนุษย์ ที่บ้านอโลฮา เราประสบความสาเร็จมาโดยตลอดในการจัดการสัตว์ปีกแบบธรรมชาติ ซึ่งได้แก่การจัดหาพืชเป็นอาหาร, การจัดให้มีที่คุ้ยเขี่ย, การจัดสรรสัดส่วนของอาหาร, และการที่ไก่มีอิสระในการเลือกกินแคลเซียม เรามีที่ที่ให้ไก่ได้ออกไปกินหญ้าและได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่อยู่เสมอ รูปแบบการเลี้ยงแบบนี้จะช่วยให้การเลี้ยงไก่สามารถสร้างกาไรและให้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูงไม่ว่าจะนาไปบริโภคเองภายในครอบครัวและกับผู้บริโภคทั่วไป
อ้างอิง
A Convenient Reference Book for All Persons Interested in the Production of Eggs and Poulty for Market and the Breeding of Standard-Bred Pounltry for Exhibition. 1912. I.C.S Poultryman’s Handbook. Available: http://www.lionsgrip.com/ babychix.html
Carman J.A., H.R. Vlieger, L.J. Ver Steeg, V.E. Sneller, G.W. Robinson, C.A. ClinchJones, J.I. Haynes, J.W. Edwards. 2013. A long-term toxicology study on pigs fed a combined genetically modified (GM) soy and GM maize diet. Journal of Organic Systems. Available: http://www.organic-systems.org/journal/81/8106.pdf
Cruz P.S.. 1997. Aquaculture feed and fertilizer resource atlas of the Philippines. FAO Fisheries Technical Paper (366). Available: http://www.fao.org/docrep/003/ W6928E/W6928E00.HTM
Fallon S., M.G. Enig. 2000. Splendor from the grass. Westin A. Price Foundation. Available: http://www.westonaprice.org/ health-topics/splendor-from-the-grass/
Fatty acid composition of certified organic, conventional and omega-3 eggs. 2009. Food Chemistry. Available: http://aquaplant.tamu.edu/plant-identification/alphabetical-index/filamentous-algae/
Hess J.B., J.P. Blake, D.H. Garner, J.A. Chappell. 2009. Effects of catfish meal blend inclusion in broiler feeds on live performance and carcass yield attributes. The Journal of Applied Poultry Research. Available: http://japr.oxfordjournals.org/ content/18/2/232.abstract
Hamre M.L.. 2013. Hatching and brooding small numbers of chicks. University of Minnesota Extension. Available: http:// www.extension.umn.edu/food/small-farms/ livestock/poultry/hatching-and-broodingsmall-numbers/
Hussein T., M. Urge, G. Animu, S. Fikru. 2015. Effects of feeding processed kidney bean meal (Phaseolus vulgaris) instead of soybean meal on qualities of eggs of white leghorn hens. Veterinary Science & Technology. Available: http://www.omicsonline. org/open-access/effects-of-feeding-processed-kidney-bean-mealphaseolus-vulgaris-by-replacing-soybean-meal-on-eggfertility-and-qualities-of-chicks-of-whiteleghorn-hens-2157-7579-1000S12-001.pdf
Kalita, P., P. Mukhopadhyay, and A. Mukherjee. 2007. Evaluation of the nutritional quality of four unexplored aquatic weeds from Northeast India for the formulation of cost-effective fish feeds. Food Chemistry (103) 204-209). Available: http:// www.sciencedirect.com/science/article/pii/ S0308814606006303
Leiterman D.. 2013. Managing dietary calcium in poultry layer diets. Crystal Creek Natural Farm. Available: http:// crystalcreeknatural.com/pdfs/December_2013/04ManagingDietaryCalciumInPoultryLayerDiets.pdf
Omeke B.C.O., P.A. Nnadi, W.S. Ezema. 2003. Evaluation of fishmeal protein supplementation to commercial feeds for egg lay and quality in warm tropical region. Nigerian Veterinary Journal. Available: http://www.ajol.info/index.php/nvj/article/ view/3451
Ponce L.E., A.G. Gernat. 2002. The effect of using different levels of tilapia by-product meal in broiler diets. Poultry Science. Available: http://ps.fass.org/ content/81/7/1045.short
Simopoulus A.P.. 2004. Omega-3 fatty acids and antioxidants in edible wild plants. Biological Research. The Center for Genetics, Nutrition and Health. Available: http://www.scielo.cl/pdf/bres/v37n2/art13. pdf
Simopoulos A.P., N. Jr. Salem. 1989. n-3 fatty acids in eggs from range-fed Greek chickens. The New England Journal of Medicine. Available: http://www.nejm.org/ doi/full/10.1056/NEJM198911163212013
Swistock B.. 2016. Filamentous algae. Penn State Extension. Available: http:// extension.psu.edu/natural-resources/ water/ponds/pond-management/aquatic-plants/filamentous-algae
Ussery H.. 2005. Managing poultry on pasture with electronet. Backyard Poultry Magazine. Available: http://www.themodernhomestead.us/article/electronet-1.html
อ้างอิงข้อถกเถียงเกี่ยวกับถั่วเหลือง
Campbell T.C., T.M. Campbell. 2005. The China Study: The Most Comprehensive Study of Nutrition Ever Conducted and the Startling Implications for Diet, Weight Loss and Long-Term Health. BenBella Books.
Chang K.C., Ed. 1977. Food in Chinese Culture: Anthropological and Historical Perspectives. Yale University Press.
Enig M., S. Fallon. 1999. The oiling of America. Nexus Magazine. Available: http://www.westonaprice.org/know-yourfats/the-oiling-of-america/
Harras A., Ed. 1996. Cancer Rates and Risks, 4th Edition. Diane publishing.
IEH assessment on Phytoestrogens in the Human Diet. 1997. Final Report to the Ministry of Agriculture, Fisheries and Food. Leicester, and the Institute for Environment and Health (IEH).
Messina M., V. Persky, K.D. Setchell, S. Barnes. 1994. Soy intake and cancer risk: A review of the in vitro and in vivo data. Nutrition and Cancer. Available: http:// www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/8058523
Nagata C., N. Takatsuka, Y. Kurisu, H. Shimizu. 1998. Decreased serum total cholesterol concentration is associated with high intake of soy products in Japanese men and women. Journal of Nutrition (128) 209-13. Available: http://www.ncbi. nlm.nih.gov/pubmed/9446845
Nienhiser J.. 2003. Studies showing adverse effects of dietary soy, 1939-2014. Weston A. Price Foundation. Available: http://www.westonaprice.org/health-topics/ studies-showing-adverse-effects-of-dietary-soy-1939-2008/
Nienhiser J.. 2003. Studies showing adverse effects of isoflavenoids, 1939- 2013. Weston A. Price Foundation. Available: http://www.westonaprice.org/ health-topics/studies-showing-adverse-effects-of-isoflavones-1950-2010/
Rackis J.J.. 1974. Biological and physiological factors in soybeans. Journal of the American Oil Chemists’ Society 51 (1) 161-174.
Rackis J.J., M.R. Gumbmann, I.E. Liener. 1985. The USDA trypsin inhibitor study. I. Background, Objectives and Procedural Details. Qualification of Plant Foods in Human Nutrition 35 (1) 213-242.
Searle C.. 1976. Chemical Carcinogens, American Chemical Society. ACS Monograph 173.
Torum B., H. Wilke. 1979. Nutritional Quality of Soybean Protein Isolates: Studies in Children of Preschool Age. Soy Protein and Human Nutrition. Academic Press.