โดย 1แพททริค เทรล, 1ยุวดี แดนมะลิดอย, 1,2เอบรัม บิคสเลอร์, และ 1,3ริค เบอร์เน็ต
สังกัดในปัจจุบัน:
1ศูนย์การเรียนรู้ เอคโค อิมแพค เซ็นเตอร์ เชียงใหม่
2องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ กรุงโรม ประเทศอิตาลี
3องค์การ Cultivate Abundance, ฟอร์ตไมเออร์ รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา
[หมายเหตุบรรณาธิการ: หัวข้อที่น่าสนใจนี้เกิดขึ้นเมื่อย้อนกลับไปหลายปีก่อนขณะที่คุณริค เบอร์เน็ต ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการของเอคโค เอเชีย จากการสังเกตว่าผักกูดหรือเฟิร์นกินได้นี้เก็บมาได้จากในป่าเท่านั้นและมีขายในตลาดเฉพาะบางช่วงเวลาของปี จึงมีความคิดที่ว่าผักที่ถูกละเลยและไม่ถูกใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่นี้สามารถนำมาเพาะปลูกในฟาร์ม โดยใช้ที่บังแดด เพื่อนำไปขายได้ในช่วง “นอกฤดู” อีกด้วย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จึงได้จัดทำการทดลองขึ้นและการทดลองก็ได้เสร็จสิ้นลง (ด้วยความร่วมมือจากหลายฝ่าย) โดยบทความนี้คือข้อสรุปของสิ่งที่เราได้เรียนรู้]
ที่มาของผักกูด
พึชตระกูลเฟิร์นที่กินได้มีอยู่หลายสายพันธุ์ทั่วโลก ทั้งในเขตภูมิอากาศร้อนไปจนถึงอากาศอบอุ่น และสายพันธุ์ที่พบได้มากที่สุดได้แก่ Pteridium spp. , Matteuccia struthiopteris), และ Stenochlaena spp. แต่การศึกษาของเรานี้จะมุ่งไปที่สายพันธุ์ Diplazium esculentum Reytz. หรือผักกูด ซึ่งเป็นพืชผักอายุยืนเขตร้อนที่พบได้ทั่วไปในพื้นที่เขตเอเชียและเขตโอเชียเนีย (Sakai et.al. 2016) จัดอยู่ในกลุ่มเฟิร์นกินได้และถือเป็นผลผลิตจากป่าไม้ที่ไม่ใช่เนื้อไม้ (Non-Timber Forest Product หรือ NTFP) เป็นผักที่สำคัญตามภูมิภาคในประเทศอินเดีย บังคลาเทศ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และรัฐฮาวาย (Lin et al., 2009) ใบอ่อนของเฟิร์น (หรือยอดที่มีลักษณะม้วนงอ) มักนำไปกินสด ต้ม หรือลวก หรือนำไปปรุงในแกง ขึ้นอยู่กับภูมิภาคที่นำไปบริโภค (Duncan, 2012)
การวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาของเฟิร์นกินได้นั้นแสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติทางโภชนาเชิงบวกหลายอย่าง ซึ่งอุดมไปด้วยเบต้า-แคโรทีน กรดโฟลิก รวมถึงแร่ธาตุแคลเซียม, เหล็ก และฟอสฟอรัส ในขณะที่คุณสมบัติของสารต้านโภชนาการเช่น กรดไฟติก แทนนิน และทริปซินที่พบอยู่ในปริมาณหนึ่งแต่ไม่เป็นพิษ (Archana et al., 2012; Junejo et al., 2015) ผลจากการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของเฟิร์นสายพันธุ์ Diplazium esculentum หรือผักกูดที่จัดทำขึ้นโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้แสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบทางโภชนาการที่มีอยู่ในปริมาณสูง (Table 1).
องค์ประกอบทางโภชนาการของผักกูด (Diplazium esculentum Reytz.)
|
|
เบต้า-แคโรทีน (ug/100 g) |
516.58±2.66 |
ฟอสฟอรัส (mg/100 g) |
54.05±0.82 |
วิตาบิน B1 (mg/100 g) |
ND |
วิตามิน B2 (mg/100 g) |
0.04±0.00 |
วิตามิน C (mg/100 g) |
0.94±0.86 |
วิตามิน E (อัลฟา-โคโคฟิรอล) (mg/100 g) |
0.28±0.20 |
แคลเซียม (mg/kg) |
138.00±5.21 |
แมกนีเซียม (mg/kg) |
205.05±29.07 |
โพแทสเซียม (mg/kg) |
3691.75±278.17 |
โซเดียม (mg/kg) |
27.16±2.60 |
ตารางที่ 1 องค์ประกอบทางโภชนาการของ Diplazium esculentum Reytz การวิเคราะห์จัดทำเสร็จสิ้นในปี 2017 โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผักกูดสามารถพบได้ตามฤดูกาลในตลาดเอเชียหลายแห่งและมักเก็บมาจากป่าบริเวณที่มีความชื้น มีร่มเงาตามริมห้วยและภายในพื้นที่ป่า ในช่วงฤดูฝนจะมีผักกูดมากมายให้เห็นทั่วไปในตลาดท้องถิ่นของบริเวณที่มีพื้นที่เหล่านี้ แต่ดูเหมือนจะมีขายในปริมาณที่ไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ซื้อในช่วงหน้าแล้งเมื่อมีมาวางขายก็จะหมดไปอย่างรวดเร็ว
ในปัจจุบัน มีการดำเนินการวิจัยไม่มากนักเกี่ยวกับศักยภาพในการทำสวนผักกูด รวมถึงโอกาสและข้อจำกัดทางเกษตรกรรมที่เป็นไปได้ของผักกูด ขณะนี้ผักกูดจำนวนมากยังมีการจัดหาเข้าสู่ตลาดด้วยวิธีการเก็บจากป่า แต่ยังไม่มีการเพาะปลูกกันอย่างกว้างขวางในพืชผักที่มีการจัดการการเพาะปลูก จากข้อเขียนของ Mertz (1999) ได้เปรียบเทียบศักยภาพการเพาะปลูกเฟิร์นวงศ์ Stenochlaena palustris (Burm.) (ผักกูดแดง) และวงศ์ Diplazium esculentum (Retz.) (ผักกูดขาว) ในประเทศมาเลเซียและพบว่าการเพาะปลูกผักกูดขาวไม่สามารถทำได้ในสภาพการเติบโตที่ไม่มีร่มเงา จากงานล่าสุดที่ศูนย์การเรียนรู้เอคโค เอเชีย อิมแพค เซ็นเตอร์ที่อยู่ทางภาคเหนือของไทยแสดงให้เห็นว่าสามารถปลูกได้และน่าจะเติบโตได้ดีในระบบการผลิตที่มีการจัดการด้านร่มเงา
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
เพื่อยืนยันและทดสอบทฤษฏีนี้ โดยการทดลองภาคสนามเป็นเวลาหลายปีได้จัดทำขึ้นเพื่อ 1) ประเมินผลการเจริญเติบโตและผลผลิตที่ออกสู่ตลาดของผักกูดในระบบการผลิตที่มีการจัดการด้วยการใช้วิธีให้ร่มเงาในวิธีต่างๆ และ 2) เพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการขยายการผลิตนอกเหนือจากช่วงเวลาการปลูกในหน้าฝนที่มีการเติบโตโดยทั่วไป
การปลูกผักกูดนอกฤดูกาลที่ผักกูดหาได้โดยทั่วไปนั้นอาจเป็นวิธีการทำการตลาดเฉพาะกลุ่มสำหรับเกษตรกรรายย่อยที่กำลังมองหาช่องทางการตลาดใหม่ ทำให้การทดลองนี้น่าจะเป็นที่สนใจสำหรับเครือข่ายภายในของเอคโคและผู้อื่นที่สนใจ
การปลูกผักกูดโดยใช้ตาข่ายกรองแสงระดับต่างๆ
สถานที่ทำการทดลอง
การทดลองปลูกภาคสนามจัดขึ้นที่บริเวณที่ตั้งของธนาคารเมล็ดพันธุ์เอคโค เอเชีย ในช่วงฤดูเพาะปลูกของปี 2011 และ ปี 2017/2018 สภาพของสถานที่ทำการทดลองนี้ตั้งอยู่บนเขาทางภาคเหนือของประเทศไทย (20° 1’N, 99° 17’E) มีลักษณะอากาศคือมีช่วงฤดูฝน (พฤษภาคมถึงตุลาคม) และช่วงฤดูแล้ง (พฤศจิกายนถึงเมษายน) โดยอุณภูมิโดยทั่วไปอยู่ระหว่าง 25 องศาเซลเซียส ถึง 30 องศาเซลเซียสตลอดทั้งปี (ตารางที่ 2)
|
มิ.ย |
ก.ค |
ส.ค |
ก.ย |
ต.ค |
พ.ย |
ธ.ค |
ม.ค |
ก.พ |
มี.ค |
เม.ย |
พ.ค |
|
รอบที่ 1 (2011) |
|
รวม |
|||||||||||
ปริมาณฝน (มม.) |
287
|
334
|
335
|
305
|
29
|
5
|
3
|
3
|
1
|
92
|
64
|
242
|
1700
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เฉลี่ย |
อุณหภูมิ (oC) |
29 |
28 |
28 |
28 |
28 |
25 |
23 |
22 |
27 |
26 |
31 |
29 |
27 |
รอบที่ 2 (2017/2018) |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
รวม |
ปริมาณฝน (มม.) |
211 |
349 |
346 |
322 |
351 |
120 |
90 |
40 |
16 |
34 |
85 |
333 |
2297 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เฉลี่ย |
อุณหภูมิ (oC) |
31 |
29 |
29 |
29 |
27 |
26 |
23 |
25 |
28 |
32 |
32 |
31 |
28.5 |
ตารางที่ 2 ข้อมูลปริมาณน้ำฝนสะสมรายเดือน (มม.) และอูณหภูมิเฉลี่ยรายเดียน (oC) ที่อำเภอแม่อาย จ.เชียงใหม่ ในช่วงการทดลองรอบที่ 1 และรอบ 2
การจัดเตรียมการทดลอง
เราปลูกผักกูดไว้ในที่ที่ได้รับแสงแดดเต็มที่ โดยปลูกไว้ในแปลงภายใต้การให้แสงสามรูปแบบได้แก่:
1) แปลงควบคุมที่ไม่มีการใช้ตาข่ายกรองแสงเลย (0%) , 2) กรองแสงน้อย (50%), และ 3) กรองแสงมาก (80%) การทดลองจัดเป็นการออกแบบสุ่มอย่างสมบูรณ์ภายในบล็อก (Randomized Complete Block Design หรือRCBD) โดยมีการทำซ้ำ 4 ครั้ง แต่ละแถวมีตาข่ายกรองแสงติดตั้งแบบปลายเปิดไว้เหนือแปลงปลูก 1.5 เมตรตามแต่ละแบบ (ภาพที่ 2) และมีระบบพ่นน้ำฝอยขนาดเล็กด้วยไมโครสปริงเกลอร์ติดไว้เพื่อให้น้ำในช่วงเดือนที่เป็นฤดูแล้งโดยเป็นการจำลองสภาพความชื้นเหมือนในสถาพพื้นที่ที่ผักกูตเติบโตอยู่ทั่วไป ส่วนช่วงเวลาเก็บผักกูดในการทดลองสองรอบนี้มีระยะเวลา 1 ปี ทำให้สามารถเปรียบเทียบการเติบโตและผลผลิตตามที่ได้ตามแต่ละฤดูคือทั้งฤดูฝนและฤดูแล้ง
แปลงทดลองทุกแปลงมีขนาด 1ม. X 1 ม. และหน่อพันธุ์ผักกูดปลูกไว้ในระยะห่างประมาณ 30 ซม.x 30 ซม. เป็นจำนวนทั้งหมด 9 ต้นต่อแปลง หน่อพันธุ์นี้ขุดมาจากแปลงผักกูดที่ปลูกอยู่ก่อนแล้ว เป็นผักกูดในป่าที่คนเคยเก็บยอดมาแล้วและมีการนำหน่อเหล่านั้นมาปลูกไว้
หน่อผักกูดนำมาปลูกในแปลงที่เคยได้รับสารปรับปรุงดินอินทรีย์มาหลายปีก่อนหน้า โดยมีทั้งปุ๋ยหมัก, มูลวัว และฟางข้าวที่ใช้คลุมหน้าดิน ในการทดลองนี้ ไม่มีการใส่สารปรับปรุงดินเพิ่มเติมในช่วงระยะเวลาที่ทดลอง แต่ละแปลงปลูกจะมีการนำวัสดุคลุมดินก่อนฤดูกาลปลูกแต่ละครั้งด้วยการปูฟางข้าวจำนวนมากประมาณ 640 กก.ต่อไร่ เพื่อให้เป็นขั้นตอนที่สำคัญในการรักษาความชื้นในดินและเพื่อป้องกันวัชพืชขณะที่หน่อผักกูดเจริญเติบโต
การเก็บข้อมูล
เมื่อหน่อติดแล้ว (3 เดือนหลังการย้ายปลูก) จะมีการเก็บข้อมูลการเก็บเกี่ยวยอดผักกูดที่นำไปขายตลาดได้ในทุกๆ 3 สัปดาห์จากผักที่อยู่แถวกลางที่เป็นพืนที่เก็บตัวอย่าง ของแปลงทุกแปลง จะมีการเก็บข้อมูลการเติบโตของผักกูดอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลา3 สัปดาห์ในช่วงระยะเวลา 1 ปี รวมเป็นระยะเวลาการสุ่มตัวอย่าง ทั้งหมด 14 ครั้ง ยอดผักที่เก็บได้จะมีการนับจำนวนและชั่งน้ำหนัก ขณะที่ยอดผักตัวอย่างบางยอดจะนำไปอบแห้งและคำนวณเป็นน้ำหนักแห้ง ข้อมูลของความสูงของต้นและเปอร์เซ็นต์ของส่วนที่ตายจะมีการวัดทุกๆ 3 อาทิตย์ในพื้นที่สุ่มของทุกแปลง ความสูงของต้นจะคำนวณโดยใช้ส่วนที่ยื่นสูงขึ้นไปที่สุดของใบต้นผักกูด ขณะที่เปอร์เซ็นต์ของส่วนที่ตายจะประเมินจากการใช้คะแนนการจัดอันดับที่สายตามองเห็นจากคะแนน 0 (ไม่มีส่วนตายเลย) ไปถึง 100 (ตายทั้งต้น) ตามแบบของ Deadman et al. (2002)
ในระหว่างการทดลอง จะมีการไปดูที่ตลาดชุมชนเป็นระยะๆเพื่อไปหาซื้อผักกูด ทั้งนี้เพื่อเป็นการเฝ้าดูว่ามีผักกูดในตลาดมากน้อยเพียงใดและดูราคาตลาดที่เปลี่ยนไปตามฤดูกาล ผักกูดที่ซื้อมาเป็นมัดจะนำไปชั่งเพื่อจดบันทึก และจดจำนวนของยอดผักด้วย ผักกูดที่ซื้อมานั้นได้มาจากตลาดใกล้ๆในอำเภอฝาง และจากในอำเภอเมืองเชียงใหม่เพื่อประเมินความแตกต่างของราคา
ร่มเงาเป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงความชื้นด้วย
ผลจากการทดลองในภาคสนามของเราแสดงให้เห็นว่าการทำสวนผักกูดนั้นน่าจะให้ผลที่ดี ไม่ว่าจะในหน้าฝนหรือหน้าแล้ง ผลผลิตที่ได้สูงกว่าในฤดูฝนเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือนของฤดูแล้งที่แม้จะมีการให้น้ำอย่างเพียงพอตลอดทั้งปี ผลที่ได้นี้ชี้ให้เห็นว่าร่มเงามีส่วนสำคัญในระบบการจัดการผลิต โดยแปลงปลูกที่มีตาข่ายกรองแสงจะให้ผลดีกว่าแปลงที่ไม่มีตาข่ายกรองแสงเกือบทุกครั้ง (ภาพที่ 3) ผักกูดที่ปลูกไว้ใต้ตาข่ายกรองแสงบางส่วน (50%) ได้ผลกว่าที่ปลูกใต้ตาข่ายกรองแสงที่มากกว่า (80%) ในการทดลองทั้งสองรอบ แต่ความแตกต่างที่พบนั้นก็มีเพียงเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับแปลงที่มีร่มเงาและไม่มีร่มเงา
ผักกูดที่เติบโตโดยไม่มีร่มเงานั้นมีอัตราการตายหรือส่วนที่ตายมากกว่าผักกูดที่ปลูกในร่ม ในทุกรอบของการทดลอง ส่วนที่ตายในผักนี้ชี้ให้เห็นว่าผักกูดมีความไวต่อแสงแดด ดังนั้นจึงถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ควรพิจารณาในการนำผักกูดมาปลูก ความแตกต่างกันของอุณหภูมิประจำปีเฉลี่ยระหว่างการทดลองรอบที่ 1 และ 2 อยู่ที่ 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งอธิบายถึงการเติบโตที่มากกว่าและส่วนพืชที่ตายไปมากกว่าในส่วนที่ไม่ได้ปลูกในร่ม ในการปลูกรอบที่สองเมื่อเทียบกับรอบแรก
ในการวิเคราะห์ผลที่ได้ในการศึกษานี้ เราสังเกตเห็นความแตกต่างอย่างมากของผลผลิตที่ได้ระหว่างฤดูฝนกับฤดูแล้งในการทดลองรอบที่ 2 กับรอบที่ 1 ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับฤดูฝนที่นานกว่าและปริมาณฝนที่มีมากกว่าค่าเฉลี่ยในระหว่างการทดลองรอบที่สอง (2297 มม. เมื่อเทียบกับ 1700 มม.ในรอบที่ 1) จึงดูเหมือนว่าขณะที่ร่มเงาน่าจะมีส่วนต่อผลผลิตที่ได้และเป็นปัจจัยสำคัญในการปลูกผักกูด แต่ความชื้นที่เพียงพอก็อาจสำคัญเท่าๆกัน แม้จะมีการให้น้ำทุกๆ 3-4 วันตลอดฤดูกาล แต่การมีความชื้นในปริมาณที่มากกว่านั้นอาจจะจำเป็นด้วยเพื่อไม่ให้พืชมีโอกาสที่จะเครียดจากการขาดน้ำ
ความคาดหวังและการนำไปใช้ในผู้ผลิตรายย่อย
แม้ผลที่ได้นี้ยังไม่ถือว่าละเอียดถี่ถ้วน แต่ก็บ่งชี้ถึงความเป็นไปได้สูงในการปลูกผักกูดในสภาพที่มีการจัดการ เราเชื่อว่าการทำสวนผักกูดในระดับเกษตรรายย่อยนั้นเป็นไปได้และควรทำผสมผสานร่วมกับการทำฟาร์มขนาดเล็ก โดยผักกูดเป็นได้ทั้งผลผลิตที่นำไปขายหรือเพื่อการบริโภคเองภายในครัวเรือน ผักกูดซึ่งเป็นพืชที่ถูกละเลยและมีการนำมาใช้ประโยชน์น้อย (Neglected & Underutilized Species หรือNUS) มีศักยภาพที่จะเป็นผลผลิตในตลาดเฉพาะกลุ่ม รวมถึงเป็นผักเสริมที่อุดมไปด้วยโภชนาการสำหรับความหลากหลายของอาหารในครัวเรือน นอกจากนี้ผักกูดยังมีศักยภาพที่จะเป็นผลผลิตเฉพาะกลุ่มทั้งในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้หรือที่อื่นๆ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อปรับแต่งแนวทางปฏิบัติในการเพาะปลูกสำหรับผักกูด แต่ทั้งนี้ ผักกูดถือเป็นพีชที่มีศักยภาพสูงในการปลูกในสภาพแวดล้อมที่มีการจัดการอย่างเหมาะสม
ขอขอบคุณ
ผู้เขียนขอขอบคุณหลายๆท่านที่มีส่วนในโครงการที่มีมาอย่างต่อเนื่องนี้ หลายๆท่านได้ช่วยเหลือตลอดมาในการเก็บข้อมูลและดูแลรักษาแปลงปลูก ขอขอบคุณเป็นพิเศษสำหรับอาสาสมัครเอคโค เอเชีย คือเจมส์ แมนสัน, แคริส ลอทส์ และคาเลบ&เคย์ลีห์ ฟิลิปส์ ขอบคุณสำหรับความช่วยเหลือในการจัดทำและดูแลแปลงปลูก รวมถึงการเก็บข้อมูลเล็กๆน้อยๆทุกอย่าง
อ้างอิง
Archana, G. N., Pradeesh, S., Chinmayee, M. D., Mini, I., Swapna, T. S. (2012). Diplazium esculentum: a wild nutrient-rich leafy vegetable from Western Ghats. In: Sabu, A., Agustine, A. (eds) Propsects in Bioscience: Addressing the Issues. 293-301.
Deadman, M. L., Khan, I. A., Thacker, J. R. M., Al-Habsi, K. (2002). Interaction between leafminer damage and leaf necrosis caused by alternaria alternata on potato in the Sulfanate of Oman. The Plant Pathology Journal. 18(40): 210-215.
Duncan, K., Chompoothong, N., Burnette, R. 2012. Vegetable Production Throughout the Rainy Season. ECHO Asia Notes. 13: 1-14.
Junejo, J. A., Ghoshal, A., Mondal, P., Nainwal, L., Zaman, K., Singh, K. D., Chakraborty, T. (2015). In-vivo toxicity evaluation and phytochemical, physiochemical analysis of Diplazium esculentum (Retz.) Sw. leaves a traditionally used North-Eastern Indian vegetable. Advances in Bioresearch. 6(5): 175-181.
Lin, L. J., Hsiao, Y. Y., & Kuo, C. G. (2009). Discovering Indigenous Treasures: Promising Indigenous Vegetables from Around the World. World Vegetable Center. 9(720): 118-121.
Mertz, O. (1999). Cultivation potential of two edible ferns, Diplazium esculentum and Stenochlaena palustris. Tropical Agriculture. 76(1): 10-16.
Sakai, S., Choy, Y. K., Kishimoto-Yamada, K., Takano, K. T., Ichikawa, M., Samejima, H., Kato, Y., Ushio, M., Saizen, I., Nakashizuka, T., Itioka, T. (2016). Social and ecological factors associated with the use of non-timber forest products by people in rural Borneo. Biological Conservation. 204: 340-349.